Print

ที่ชายแดนปากีสถาน สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งผลิตลูกปัดสำคัญ ส่งตลาดโลกเมื่อกว่า ๕,๐๐๐ ปีก่อน ตามแผนเดิมที่เขาเชิญไปร่วมนำเสนอนั้น งง ๆ เพราะนึกไม่ออกว่ารู้เรื่องของผมได้อย่างไร เขาบอกว่ามีหลายคนในหลายประเทศแนะนำว่าเรื่องลูกปัดไทยและเอเซียอาคเนย์นั้นต้องเป็นผม เมื่อจะไปก็กะว่าขอร่วมรับการอบรมจะได้เรียนรู้ด้วย แล้วขออยู่ต่อสักสองวัน เพื่อไล่ดูพิพิธภัณฑ์น้อย ๆ ในเมือง Ahmedabad ศูนย์กลางของแคว้นคุชราช ซึ่งเป็นบ้านเกิดของมหาตมะคานธี มีอาศรมสำคัญที่มหาตมะคานธีใช้เป็นหมุดหมายการเคลื่อนไหวเอกราชถึงกับประกาศเมื่อกลับมาบ้านเกิดเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนใน พ.ศ.๒๔๕๘ ว่า หากกู้เอกราชไม่สำเร็จ จะไม่กลับมาอีก แถมยังเป็นดงศาสนาเชนที่ยังรุ่งเรืองถึงทุกวันนี้ แล้วยังเป็นแดนผ้าที่ว่ากันว่าสุดสวยและหลากหลายที่สุดในโลก แต่พอประชุมสัมนาไป ๆ ทุกงานต่างบอกว่า Dholovira เป็นแหล่งฮารัปปาสำคัญที่สุด โลธาลเป็นเพียงบริวารเล็ก ๆ ในหลายร้อยแหล่งอารยธรรมฮารัปปา ซึ่งมี ๕ แหล่งใหญ่ โดย ๔ แหล่งถูกแยกไปเป็นปากีสถาน เหลือแต่ Dholovira ที่ยังอยู่ในแดนอินเดีย และอินเดียก็ไม่ยอมน้อยหน้า เร่งขุดค้นและแต่งอยู่กว่า ๓๐ ปี เพื่อให้ได้มีแหล่งอารยธรรมสำคัญอยู่เป็นประจักษ์พยานในชาติ มิหนำซ้ำ งานการนำเสนอทั้งหลายก็ยกเรื่องลูกปัดของ Dholovira มาเสนอ ไม่ว่าจะเป็นชนิด ประเภท รูเจาะ ฯลฯ ศ.เคโนเยอร์ บอกว่าที่ Dholovira นี้เป็นศูนย์ผลิตลูกปัดสำคัญ เพราะนำหินคาร์เนเลียนจากรัตนปุระผ่านโลธาลขึ้นมาทำต่อจนเสร็จก่อนที่จะส่งไปตามลุ่มแม่น้ำสินธุ แล้วแพร่ไปเมโสโปเตเมียที่ไทกริส ยูเฟรติส กับในลุ่มแม่น้ำไนล์ เท่านั้นยังไม่พอ ศ.Bisht อดีต ผอ.กรมศิลป์อินเดีย (ASI) ที่นักโบราณคดีถือว่าคือ Living God of Indian Archaeology ที่อยู่ร่วมประชุมตลอดและญาติดีกับผมมาก ๆ และเป็นหัวหน้าคณะขุดค้นเมื่อเกือบกึ่งศตวรรษก่อนก็สนับสนุนให้ไปด้วยจดหมายน้อยถึงผู้คนที่นั่นว่า "please give him tea and meals" พร้อมกับที่ ศ.เคโนเยอร์บอกว่าอย่าไปเลย Vadnagar หรือ "วัดนคร" ที่กำลังบูมว่าเป็นมหาวิหารวัลลภี แดนพุทธสำคัญทางตะวันตก โดยเฉพาะนายกโมดี้เพิ่งไปพูดกับนายกฯ จีน และเร่งบูมด้วยเป็นบ้านเกิดนายก สุดท้ายแผนผมจึงยกเลิกทุกอย่างในเมือง Ahmedabad และ Vadnagar พอเลิกประชุม ๑๔๐๐ น.ก็เหมารถคันหนึ่งมุ่งสู่ Dholovira ด้วยเวลาประมาณ ๖ - ๘ ชม. ถึงเอาเกือบ ๓ ทุ่ม รีบกินแล้วนอนในห้องแอร์ที่ร้อนอ้าว ไฟติด ๆ ดับ ๆ หลังพายุใหญ่ จนต้องเปิดทุกหน้าต่าง ตื่นเช้าตรงกับวันชาติ ๑๕ สิงหาคม ก็เข้าดูเมืองกันเอง ๑ รอบ ยิ่งใหญ่อะไรปานนั้น จากนั้นจึงดูอีกรอบกับคุณ Rama Jiva ที่ ศ.Bisht มอบหมาย ได้ดูตั้งแต่เมืองบนที่มีระบบน้ำใช้ น้ำเสีย น้ำหลวง อย่างเหลือเชื่อ จนถึง เขตเสนาคาม โรงทำลูกปัด นานาสระน้ำ กระทั่งสระว่ายน้ำและสปริงบอร์ด ป้อมประตูเมือง ลานสนาม ป้ายประกาศเก่าแก่ที่สุดในโลก จนออกไปที่เมืองกลาง เห็นเป็นถนนใหญ่ สี่แยก และ ส้วม ๆ ๆ ๆ ห้าพันปี ที่ถูกสุขลักษณะอย่างไม่อยากเชื่อเมื่อเทียบกับอินเดียทุกวันนี้ ก่อนที่จะจบที่เมืองล่าง และพิพิธภัณฑ์โบราณคดีซึ่งมีข้าวของน้อยไม่สมราคาคุย ดูภาพเอาเองนะครับ ชุดแรกนี้เป็นภาพระหว่างทางไป เป็นถนนชั้นดีที่นายกโมดี้พัฒนาไว้สมัยเป็นมุขมนตรีแห่งรัฐนี้อยู่ ๑๐ ปี แบบว่าพัฒนานำร่องจนคุชราชก้าวหน้า มีสาธารณูปโภคพื้นฐาน ดึงดูดนานาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ ทาทา เข้ามาอยู่จนกลายเป็นดงอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ผู้คนมีงานทำ พากันกลับบ้านเกิด และ กลายเป็นผลงานสำคัญส่งให้ได้ไปเป็นนายกรัฐมนตรีในตอนนี้ คุชราชเป็นแคว้นหรือรัฐบริเวณปากแม่น้ำก้นอ่าวของทะเลอาระเบีย พื้นที่เป็นที่ราบปากแม่น้ำเรียบเสมอไปหมด ลุ่มแม่น้ำสินธุตอนบนก็แยกเป็นปากีสถาน ล่างลงไปมุมไบก็ขอแยกออกไปเป็นมหานครอิสระ ที่เหลือมีแต่น้ำที่นำมาทำเกลือ ถนนกับเสาไฟที่ได้จากพลังงานลมและแสงแดด นั่งรถไปอย่างนี้เป็นหลายชั่วโมง เหมือนอยู่ในทะเล ถึงป้ายบอกเมือง Dholovira ก่อนถึงที่หมายหลายชั่วโมง จากนั้นเขาว่าเป็นเขตป่า ที่แท้จริงเป็นเพียงทุ่งหญ้าน้ำท่วมถึง ขับรถกันไปท่ามกลางความมืดมิด ถนนพัง สะพานทรุด สองข้างมีแต่น้ำสลับกับทุ่งหญ้า สามารถโทรจองที่พักได้แบบไม่น่าจะจองได้ แต่บอกว่าพายุลง ไฟดับอาจซ่อมไม่เสร็จ สั่งให้เขาทำอาหารอ เลือกนอนห้องแอร์ แต่ต้องเปิดประตูหน้าต่างเพราะอ้าวมาก แถมระหว่างคืนไฟดับ ๓ รอบ ตื่นขึ้นมา พบว่าแขกเขายกเตียงออกมานอนตากลมกันหน้าห้องพักทั้งนั้น


เท่านี้ก่อนนะครับ กรุณาติดตามตอนต่อไปนะครับ

 

 

 
รูปที่1
 
รูปที่2
 
รูปที่3
 
รูปที่4
 
รูปที่5
 
รูปที่6
 
รูปที่7
 
รูปที่8
 
รูปที่9
 
รูปที่10
 
รูปที่11
 
รูปที่12
 
รูปที่13
 
รูปที่14