logo_new.jpg

#ย่านบ้า #ไม้ปาเข แค่ริมคลอง
#WonderTrees On A NaKornCreek
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20200402_2)

ในดง #เมืองนครนั้น ยืนยันได้ว่าการปลูกป่าแสนง่ายดาย
เพียงไม่ไปตัดเขาเท่านั้นแหละ ไม่นานเท่าไหร่ก็จะได้ป่ากลับมา

ที่ตรงริมคลอง ริมถนนสายหลัก
มีรถผ่านไปมาวันละน่าจะเป็นหมื่น ๆ
นอกจากเถาอะไรไม่รู้ สยายมายังกะสายฝน
เจอต้น #สะบ้าพาดบนต้นยาง จนทำท่าว่าจะใหญ่เท่า
แถมยอดยางก็สะบั้นแล้ว
อีกไม่นาน ยางนี้น่าจะไม่รอด เพราะต้นบ้านี้แน่แล้ว

ส่วน #ต้นปาเข ที่พวกเรานิยมตัดเอามาทำไม้พลองเวลาออกค่ายลูกเสือ
เพราะแข็งใช้ได้ กับเบามือมากนั้น
กำลังออกดอกสวยดี
ค้นหาไม่ได้เลยว่าบ้านเมืองอื่นเขาเรียกว่าอะไร
กูเกิ้ลตอบมา ว่า "ต้นไม้ปาเข" เป็นรถปาเจโรครับ ๕๕๕

ชอบ ๆ และขอบคุณนี้
จาก เจตส์ ตรังเค ครับผม

๐ แผ้วถางออกบ้าง สร้างสวนป่า
เนรมิตพฤกษาเป็นพฤกษ์ศรี .
สั่งฟ้ารดน้ำให้พอดี.
ร้องเรียกสกุณี มานิมา.
อยู่เป็นเทวารุกขเทพ.
สร้องเสพเถาวัลย์พันธุ์สะบ้า.
เปิดเวทีพรงไพรเสวนา.
ลูกขี้กราทั้งสิ้นก็ยินดี ฯ

๒ เมย.๖๓ ๐๗๐๙ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร

สะบ้าลิง จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้ที่ปัจจุบันนี้มีจำนวนที่พบได้ในธรรมชาติลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเดิมทีนั้นต้นสะบ้าลิงเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นตามพื้นที่ป่า กระจายตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย แต่ปัจจุบันเนื่องจากปัญหา การตัดไม้ทำลายป่าและการเสื่อมของดินที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ ทำให้ต้นสะบ้าลิงได้รับผลกระทบไปด้วยโดยตรง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mucuna macrocarpa Wall.
ชื่อวงศ์ PAPILIONACEAE
ชื่อพ้อง : Mucuna collettii Lace
ชื่ออื่น : เถาฮ่อม (เลย) ; เบ้งเก้ (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี) ; มะบ้าแมง (เชียงใหม่) ; ยางดำ (นครราชสีมา) ; สะบ้าลิงดำ (ภาคกลาง) ; หมักบ้าลืมดำ (สุโขทัย) ; แฮนเฮาห้อม (เลย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น : ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ยาว 30-40 เมตร
ใบ : เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตรยาว 11-22 เซนติเมตร
ดอก : สีม่วงดำ มีกลิ่นเหม็นเอียน ออกเป็นช่อตามลำต้น ยาว 30-40 เซนติเมตร ช่อดอกจะย้อยลง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ขนาดกว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร กลีบรองดอกเป็นถ้วยสีขาวแกมเหลือง กลีบดอกคล้ายดอกถั่ว เกสรผู้ 10 อัน
ผล : เป็นฝักรูปขอบขนาน แบนคล้ายดาบ สันคอดไปตามกลักเมล็ด ยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดแบน แข็ง สีน้ำตาล ผิวมัน
ถิ่นกำเนิดและพื้นที่ที่พบต้นสะบ้าลิง : ช่วงตอนเหนือของอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยพบตามป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 500-1,400 เมตร

ที่มา http://thaiherb.most.go.th รูปภาพจาก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ทีลอซู
Last Updated on Friday, 09 March 2012 04:13

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//