Print

เมื่อวันทำบุญเดือนสิบที่สวนโมกข์กรุงเทพ กับบันทึกสุดท้ายของท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ที่คณะพระภิกษุ ๕ ณุป จากสวนโมกขพลาราม อาทิท่าน อ.สิงห์ทอง ท่าน อ.จ้อย นำคณะชาวไชยาเกือบครึ่งร้อยขึ้นมาสาธิตกิจกรรมทำบุญตายายสารทเดือนสิบที่สวนโมกข์กรุงเทพ ผมถือเป็นโอกาสการรายงานแก่บรรพชนคนไชยา ผู้ร่วมสร้างสวนโมกข์กับท่านอาจารย์และคณะธรรมทาน ถึงงานของสวนโมกข์กรุงเทพที่นอกจากจะเกิดผลดีเกินประมาณแล้ว ขณะนี้ยังขยายสู่วัดอื่น ๆ ผ่านโครงการวัดบันดาลใจที่เริ่มกับ ๙ วัดทั่วประเทศเพื่อขยายต่อ และเครือข่ายการสื่อสารงานธรรมของพระพุทธองค์ที่มีผู้เข้ารับรู้และส่งต่อกันเดือนละหลายสิบล้านครั้ง โดยก่อนจบ ผมยกเรื่องที่ท่านอาจารย์พุทธทาสปรารภถึงชีวิตบั้นปลายว่าเป็นโรคไม่มีทางสู้ แต่ "อย่าเพ่อตาย ... ข้อตกลงใจ" ถนอมชีวิตไว้ในฐษนะของมีค่าสูงสุด ... และกลอนบทสุดท้ายที่ท่านเรียกชาวสวนโมกข์มาสอนในช่วงสุดท้ายของชีวิตว่าด้วย "สากลพรหมจรรย์" ที่พวกเราควรรู้และลงมืออย่าให้เสียทีที่เป็นศิษย์สวนโมกข์ ที่เริ่มด้วย "อันฉันทะ ควรเห็นเป็นเหตุมูล ..." จึงขอนำมาฝากอ่านในที่นี้ แถมบันทึกของท่านทั้ง ๒ ช่วง คือ ต้นปี ๒๕๓๖ ที่ท่านตกลงใจ และ ช่วงสุดท้ายของชีวิตในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๖ ก่อนที่เส้นเลือดสมองจะแตกและละสังขารในวันที่ ๒๕ พฤษภาคมนั้น ทั้งนี้ขอชวนอ่านบันทึก ๒ แผ่นสุดท้ายของท่านอาจารย์ ว่าด้วย "สีลธรรมของยุวชน & สันติภาพของโลก" และ "คอมปิวเตอร์กับโพธิปัญญากำลังแสวงหาสหายภาพ" บันทึกนี้ท่านอาจารย์เขียนด้านหลังกระดาษปฏิทินแขวนที่ถูกฉีกออกมาวางไว้บนดต๊ะเมื่อพ้นวัน แล้วท่านอาจารย์หยิบเขียน แผ่นสุดท้ายเป็นของวันที่ ๒๓ ฉีกวันที่ ๒๔ เช้าตรู่วันที่ ๒๕ ท่านอาจารย์ก็ละ อ่านเอาจริงนะครับ หากอยากอ่านครบทั้งเล่มปฏิทินเท่าที่เก็บไว้ได้ ก็พิมพ์เป็นหนังสือชื่อ "ช่วยเขาหน่อย อย่าเพ่อคิดตาย! หัวใจนิพพาน" ที่ห้องหนังสือและสื่อธรรมนะครับ ส่วนผ้าผืนนี้ พี่ณรงค์ เสมียนเพชร ประธานสภาวัฒนธรรมไชยานำขึ้นมาให้ผม เป็นผ้ายกไชยาของแท้เพิ่งทอเสร็จวานซืนนี้โดย ๒ จ๊ะชราอายุ ๘๐ ที่ทอมาทั้งชีวิต ๓ ศรีพี่น้อง จากไปแล้ว ๑ คน เหลือ ๒ คนอยู่กันอย่างเรียบง่าย ทอผ้ายกขายใครก็ได้ที่ไปสั่งในบ้านที่ตลาดพุมเรียง ผมเทียวดูมานาน จนสุดท้ายเห็นว่าควรได้เก็บรักษาไว้สักผืน ขอเป็นผ้าลายครุฑสีแดง ป้าทอเป็นผ้านุ่งอย่างที่เห็น เป็นของฝากของบรรพชนชาวไชยาในโอกาสเดือนสิบ ๕๘ นี้ครับ

 

 
รูปที่1
 
รูปที่2
 
รูปที่3
 
รูปที่4
 
รูปที่5
 
รูปที่6
 
รูปที่7
 
รูปที่8
 
รูปที่9
 
รูปที่10
 
รูปที่11
 
รูปที่12
 
รูปที่13
 
รูปที่14
 
รูปที่15
 
รูปที่16
 
รูปที่17
 
รูปที่18
 
รูปที่19