พอดีตอนนี้กำลังทบทวนรอบสุดท้ายว่าด้วยตึกยาวบวรนคร
เพื่อจะลงมือซ่อมเสียที ในไม่น่าจะกี่วันนี้ แม้ฝนจะยังตกไม่เลิก
เมื่อเช้านี้
Surachet Keawsakun
ส่งนี้ของภูเก็ต
ของ อ.
Parinya Chukaew
ที่ลาดกระบัง มาให้ได้เห็น
ขณะที่เดิมนั้น จำผิดว่าตึกยาวสร้างโดย
#ซินแสปีนัง เป็นสถานพยาบาล
แล้วสิบปีต่อมา เป็นโรงเรียน โรงพยาบาล แล้วก็โรงเรียนอีกรอบ ฯลฯ
ดังนั้น ตึกนี้ คงจะสร้างเป็นสำนักงานกับที่อยู่ ไม่ใช่ร้านค้า
ของ อ.ปริญญาที่ภูเก็ต เห็นแต่ภาพหน้าถัง
ขณะที่เล่มนี้จากสิงคโปร์
เขาแบ่งเป็นระยะพัฒนาการที่สอดคล้องต้องกันกับที่ประมวลรวมไว้
ฝ่ายสิงคโปร์บอกว่า
แรกนั้นก็อย่าง
#จีนตอนใต้ จนมาอยู่ทะเลใต้ก็ผสมผสานรูปแบบ
จนกระแสการอพยพรอบแรกสู่สิงคโปร์ เมื่อราว ๆ ทศวรรษที่ ๑๘๒๐
ก็พอดีที่แรฟเฟิลส์ กับ Coleman วางผังจะให้เป็นมหานคร
การสร้างบ้านตึกก็เริ่มขึ้นราว ๆ ๑๘๔๐
เมื่อรุ่นลูกที่ไม่คิดกลับจีน แต่จะปักหลักทะเลใต้กันเลย
รูปแบบจะเรียบ ๆ ประตูหน้าต่างยังสี่เหลี่ยม
ประดับปูนปั้น หินแกรนิต งานกระเบื้องนิด ๆ ในลักษณะห้องแถวตามแนวถนน
ยกเว้นเฒ่าแก่ที่มั่งคั่ง มีการสร้างเป็นบ้าน หรือว่าทาวน์เฮ้าส์
ที่มีองค์ประกอบการตกแต่งต่าง ๆ มากขึ้น
จนกระทั่งเกิดกระแสจากชาวตะวันตกเอาแบบ
#คลาสสิค เข้ามาสร้าง
ราว ๆ ค.ศ.๑๘๙๕ - ๑๙๐๕
ในราว ๆ คศ.๑๘๙๐ ที่สิงคโปร์รุ่งมากขึ้นจนคนจีนมากันระลอกใหญ่
ทำให้ใจกลางเมืองหนาแน่นและสุขาภิบาลแย่มาก
คนมีฐานะก็เริ่มย้ายออกไปอยู่ย่านนอก
จึงเกิดรูปแบบ
#Jubilee ก่อนที่รูปแบบต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปมาก
พร้อมกับการประดับประดาก็มากเกิน ที่เรียกกันว่า
#Rococo
ตอนนี้หน้าถังถูกเปลี่ยนเป็น Art Deco / Modern แล้ว
แต่ทั้งอาคารยังเดิมทั้งหมด
จากประวัติที่ประมวลได้ พ.ศ.๒๔๔๒ วันที่ ๔ ตุลาคม
" ...
#บ้านเรือนแลที่อยู่ของชาวเมืองนครศรีธรรมราชยังเป็นการเลวทรามอยู่มาก การที่เป็นเช่นนี้ ใช่แต่ราษฎรซึ่งเป็นคนยากจน ถึงผู้ที่กำลังพอจะทำได้ก็ไม่ใคร่ทำ โดยเหุที่มักจะถือกันเสียว่าเทียมเจ้าเมือง แต่เขาเรียกกันว่าเทียมเจ้านาย ... ก็เป็นที่ติเตียนกัน หรือถือว่าเป็นการอัปรมงคล ต้องพูดจาแนะนำกับชาวบ้านในเรื่องนี้มาก เดี๋ยวนี้ดูมีคนท่กำลังจะคิดทำบ้านเรือนให้งดงามมากขึ้น ในแถวตลาดท่าวังประมาณ ๖๐ รายชื่อ ได้มารับกับข้าพระพุทธเจ้าว่าจะทำฝากระดานมุงกระเบื้องให้เป็นแถวเป็แนวกัน ข้าพระพุทธเจ้าได้กำหนดให้แล้วในภายใน ๑๘ เดือน ที่จะก่อเป็นตึกบ้างก็มี
#จีนซำเฮง กับ
#จีนซุ่นหงวน ได้ก่อตึกขึ้นแล้วคนละหลัง ... "
ซึ่งตึกของจีนซำเฮง ทุกวันนี้ยังอยู่บนถนนท่าวัง
ส่วนตึกของจีนซุ่นหงวน อยู่ริมถนนราชดำเนิน
เคยเป็นสำนักงานของบริษัทบวรมอเตอร์
ส่วนตึกยาวบวรนครนี้ แม้มิถูกระบุไว้
จากการศึกษารูปแบบ สถาปัตยกรรมและบริบทที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
ก็น่าจะเกิดขึ้นในระยะเดียวกันนั้น
ซึ่งคือ ค.ศ.๑๘๙๘ ที่มีกระแสคนเข้าสู่สิงคโปร์ระลอกใหญ่
พร้อมกับมีการเคลื่อนย้ายของคนเดิมออก
ตลอดทั้งรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมก็กำลังอยู่ในช่วงกำลังจะ
Classical Inspired Chinese Baroque
ปัญหาคือ หน้าถังเดิมไม่เหลือร่องรอย
จะเอาองค์ประกอบอะไรมาบ้าง ? ไหม ? อย่างไร ?
ในการปรับปรุงใหญ่รอบที่ ๓ หลังรอบก่อนเมื่อ ๖๐ ปี
ถาม
Kreangkrai Kirdsiri
อีกคนแล้วกัน
ขอบอกทีมอาศรมศิลป์
Thip Srisakulchairak
ทางนี้นะครับ
๒๘ มิย.๖๓ ๑๖๑๒ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร