logo_new.jpg
พรุ่งนี้ที่ไม่อยากให้พลาดครับ ... แต่ว่าผมพลาด
Don't Miss Tomorrow ... But I Miss
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20220309_4)
สองวันจากพรุ่งนี้มีนี้ที่เกาะยอสงขลาครับ
ท่าน อ.สืบพงษ์ ชวนท่านกล้ามา ผมก็กล้ารับว่าจะไปเสนอเรื่องนี้
ต่อที่ประชุมนี้ที่ถือว่าเป็นที่ชุมนุมของยอดฝีมือด้านอักษรและภาษา
โดยผมเสนออีก ๒ คนไปด้วย
คือท่านพระครูเหมฯ โสพิทร์ แซ่ภู่
กับพ่อ Surachet Keawsakun ที่ทำให้ The Library At Nakorn
งานนี้สำหรับผม ถือเป็นการน้อมคารวะท่าน #อาจารย์สุธิวงศ์_พงศ์ไพบูลย์
ที่ชี้แนะให้ผมทำมาจนถึงตอนนี้ครับผม
ผมนั้นไม่พลาดการเสนอตอน ๑๔๓๐ - ๑๕๐๐ น. ออนไลน์ครับผม
ไม่อยากให้พลาดครับ เพราะมีหลายข้อมูลใหม่หมาดถึงขนาดเหลือเชื่อ
ล้วงมาจาก อว. อุเทน วงศ์สถิตย์ Tain Gree เลยครับ
แต่ที่ผมพลาด คืออดไปนอนเล่นที่เกาะยอครับ
นี้ครับเนื้อ ...
บทคัดย่อ
โดยทั่วไปมักกล่าวกันว่าหลักฐานอักษรภาษาในสังคมไทยที่แรกเริ่มนับเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์คือจารึกอักษรปัลลวะที่พบบนศิลาจารึกหลายหลักในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นภาษาสันสกฤต บาลี ปรากฤต มีอายุสมัยประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ โดยมีการกล่าวถึงจารึกบนวัตถุชิ้นเล็กในกลุ่มพระพิมพ์ ตราประทับและเหรียญด้วย ทว่ามีการระบุถึงการพบจารึกอักษรพราหมีบนบางตราประทับหินพบที่ควนลูกปัด – คลองท่อม จังหวัดกระบี่ อย่างประปรายและมักไม่ถูกนับเป็นอักษรภาษาในสังคมไทย อาจด้วยเห็นเป็นวัตถุชิ้นน้อยของพกพามาจากต่างแดนที่สังคมไทยไม่ได้รับรู้ เมื่อผู้เสนอลงพื้นที่ปฏิบัติการช่วยเหลือฟื้นฟูชีวิตและชุมชนผู้ประสบภัยสึนามิตลอดแนวชายฝั่งอันดามัน หลังธรณีพิบัติภัยพุทธศักราช ๒๕๔๗ พร้อมกับประสานเตรียมการก่อตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้พบเห็นอักษรโบราณบนวัตถุชิ้นเล็กที่มีการขุดพบจากทั้งสองฝั่งทะเลบนคาบสมุทรไทยตอนบนในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และ กระบี่ เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งบนตราประทับหินและเหรียญ ได้เคยนำเข้าหารือศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้รับการชี้แนะว่าเป็นอักษรพราหมีของอินเดียโบราณที่เก่าแก่กว่าอักษรปัลลวะ มีพบได้จำนวนไม่น้อย และขอให้ผู้เสนอช่วยติดตามรวบรวมไว้เป็นหลักฐานของแผ่นดินก่อนที่จะหายสูญหมดสิ้น บทนำเสนอนี้ จะครอบคลุมรอยอักษรหรือสัญลักษณ์เชิงอักษรบนวัตถุชิ้นเล็ก โดยเฉพาะตราประทับบนหินและโลหะ รวมทั้งเหรียญโลหะ ที่พบบนคาบสมุทรไทยตอนบนในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และ กระบี่ เท่าที่ประมวลได้ ซึ่งมีทั้งอักษรจากโลกโรมัน อาระเบีย อินเดีย ทางฟากโลกตะวันตก และทางฟากโลกตะวันออกคือ จีน ที่มีการศึกษาและอ่านแล้วจำนวนไม่มากนัก ส่วนมากมีอายุสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๐
สรุป
พบอักษรโบราณบนวัตถุชิ้นเล็กจำนวนหนึ่งซึ่งไม่น้อยนัก ในลักษณะจารึกบนหินหรือโลหะเพื่อใช้ในการประทับ ส่วนใหญ่เท่าที่ได้รับการอ่านแล้วเป็นชื่อบุคคล หรือข้อความสำคัญ บางชิ้นอาจเป็นเพียงรูปสัญญลักษณ์หรืออักษรย่อ มีทั้งภาษาอินเดียโบราณ จีนโบราณ และที่ยังไม่ทราบชัด ในลักษณะอักษรกำกับบนโลหะเหรียญและจี้จำลองจากเหรียญ เพื่อระบุบอกนัยยะความหมายแห่งเหรียญนั้น ๆ ทำด้วยโลหะทองคำ เงิน และโลหะอื่น มีทั้งของท้องถิ่น จีน อินเดีย อาระเบีย และ โรมัน ในลักษณะหลอม หรือ ขีดจารึกบนวัสดุ เพื่อระบุบอกนัยยะบนวัสดุนั้น ๆ ได้แก่ บนแป้นศิลา ก้อนศิลา ก้อนดินเผา คันฉ่องสำริด เป็นอักษรอินเดียโบราณ และ จีนโบราณ ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นอักษรพราหมีและอักษรพราหมีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบเงินตรากหาปนะของอินเดียโบราณด้วย กับยังพบร่วมกับวัตถุวัฒนธรรมอื่น ๆ ของอินเดียโบราณที่มีการศึกษาแล้วว่ามีอายุเก่าถึงพุทธศตวรรษที่ ๒ โดยเฉพาะตราประทับ และ รอยจารึกต่าง ๆ
ข้อสังเกตุและหมายเหตุ
มีตราประทับทองคำจารึกระบุว่าเป็นของมหานาวิกะนามว่าพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นอีกหลักฐานสำคัญของการติดต่อระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียสมัยโบราณ มีจารึกนามสตรีบนก้อนหินที่มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นชื่อสตรีที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบแล้ว มีอักษรหรือรูปสัญญลักษณ์จำนวนหนึ่ง มีนักวิชาการสันนิษฐานว่าร่วมสมัยฮารัปปาแห่งลุ่มน้ำสินธุ มีจารึกชื่อบุคคลบนแผ่นหินลองทอง บ่งบอกว่ามีช่างทำทองชาวอินเดียมาทำทองที่คาบสมุทรไทยแล้ว มีแท่งศิลาที่มีรอยจารึกค้างไว้เพียงเส้นร่างและที่แตกกระเทาะ รวมทั้งพบแท่งศิลาที่ยังไม่ได้จารึกและจารึกเสร็จแล้ว บ่งชี้ว่าน่าจะมีการจารึกขึ้นบนคาบสมุทรไทย จารึกจำนวนหนึ่งเคยถูกประสานขอยืมไปจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ ในฐานะอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหรียญทองคำขนาดเล็กที่คลองท่อม ได้รับการเสนอว่าอาจเป็นเหรียญที่เก่าแก่ที่สุดที่ผลิตขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏนามกษัตริย์ด้วย จี้โลหะทั้งทองคำและดีบุกเลียนแบบเหรียญโรมันพบที่คลองท่อม ได้รับการเสนอว่าผลิตขึ้นที่คลองท่อมเมื่อสมัยก่อนโน้น เนื่องจากพบที่ทำค้างอยู่ และ มีการพบเบ้าศิลาอีกด้วย
ข้อพิจารณา
อยู่ระหว่างการจัดทำฐานข้อมูล ทะเบียน และเตรียมขอขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุกับกรมศิลปากร กำลังประสานนักวิชาการเพื่อทำการศึกษาอย่างเป็นระบบ และนำข้อมูลความรู้ออกเผยแพร่ในรูปลักษณะต่าง ๆ กำลังพิจารณาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาค้นคว้าและนำมาประกอบการพัฒนาต่อไป
๙ มีค.๖๕ ๒๒๒๒ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
 
อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน
 
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ
 
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน
 
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
 
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//