Print

ริมอ่าวแคมเบย์ ที่ต่อมาขยายกลายเป็นเมืองกำปัด แดนลูกปัดสำคัญทีอาจเป็นที่มาของ "ลูกกำปัด" ของคนสุพรรณ โลธาล เป็นชื่ออินเดียเพิ่งตั้ง แปลว่าแดนแห่งความตาย อาจจะเพราะพบสุสานทรากศพจำนวนมาก เพิ่งค้นพบและทำการขุดค้นศึกษาเมื่อปี ๒๔๙๗ พบว่าเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลก เทียบเท่าอียิปต์ในลุ่มน้ำไนล์ และ เมโสโปเตเมียในลุ่มแม่น้ำไทกริส ยูโฟรติส มีอายุประมาณก่อน ๕,๐๐๐ ปีก่อน หลักฐานอาคารการก่อสร้างและสระน้ำเป็นระดับเมืองใหญ่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานสำคัญ มีการผลิตลูกปัดหินและหอย ตลอดจนเครื่องสำริดและใบมีดหิน จับสัตว์น้ำ เลี้ยงสัตว์ มีการใช้เกวียน แวปั่นฝ้ายทอผ้า ฯลฯ บ้างว่าส่งไปถึงเมโสโปเตเมีย บ้างว่าส่งไปที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ ก่อนที่จะล่มสลายหายสูญ เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ ปีก่อน ในพิพิธภัณฑ์เขาห้ามถ่ายรูปเด็ดขาด แต่คณะพวกเราได้สิทธิพิเศษ ถ่ายได้ไม่อั้น ลองดูภาพลูกปัดชุดแรก เป็นลูกปัดหิน Steatite ที่เป็นดินอ่อนแล้วค่อยเผาแห้งแข็ง จึงแกะทำลูกปัดง่าย มีหลายขนาด พบ Feiance เล็กน้อย หินกึ่งอัญมณี โดยเฉพาะคาร์เนเลียนมีบ้าง พบที่ยังทำไม่เสร็จด้วย สันนิษฐานว่านำวัตถุดิบมาจากรัตนปุระ ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินและเป็นแหล่งคาร์นีเลียนชั้นดีมาจนถึงทุกวันนี้ ลูกปัดที่น่าสนใจจากโลธาล ฮารัปปา-โมเหนโชฑะโรนี้น่าจะเป็นดินเผาเนื้อละเอียดและแกร่งมาก มีทำเป็นกำไลด้วย ลูกปัดทำจากเปลือกหอยก็พบมากเช่นกัน อีกอย่างที่น่าสนใจคือใบมีดหิน ที่นี่น่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตด้วย เขาผลิตด้วยการเคาะง่าย ๆ อย่างที่ทำให้ดูที่เมืองกำปัด มีรางขัด "มือถือ" อันหนึ่ง หาดูรูปเอาเองนะครับ คนละอย่างกับโทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ เมืองของเขาที่นี่เรียกว่าใหญ่มากแล้ว แต่เขาว่ายังเล็ก ต้องที่โฑโรวิร่า นับเป็น ๑ ใน ๕ แหล่งฮารัปปาที่ใหญ่ที่สุด ตอนนี้เขาพบแล้วเป็นร้อยแหล่ง วันหน้าจะเล่าเรื่องโฑโรวีร่าเพราะผมตัดสินใจเหมารถนั่งไป ๘ ชม. กลับ ๘ ชม.ครับ

 

 
รูปที่1
 
รูปที่2
 
รูปที่3
 
รูปที่4
 
รูปที่5
 
รูปที่7
 
รูปที่8
 
รูปที่9
 
รูปที่10
 
รูปที่11
 
รูปที่12
 
รูปที่13
 
รูปที่14
 
รูปที่15
 
รูปที่16
 
รูปที่17
 
รูปที่18
 
รูปที่19
 
รูปที่20
 
รูปที่21
ไฟล์:20150825-015-22.jpg
รูปที่22
 
รูปที่23
 
รูปที่24
 
รูปที่25
 
รูปที่26
 
รูปที่27
 
รูปที่28
 
รูปที่29
 
รูปที่30
 
รูปที่31
 
รูปที่32
 
รูปที่33
 
รูปที่34
 
รูปที่35
 
รูปที่36
 
รูปที่37
 
รูปที่38
 
รูปที่39
 
รูปที่40
 
รูปที่41
 
รูปที่42