Print
หลังจากพอรับทราบว่าคณะที่มานี้ ยังมองลูกปัดโนราแบบทั่ว ๆ ไป
ผมก็เลยถามทุกคน ให้ช่วยบอกนิยามว่า #อะไรคือลูกปัด ?
ที่ต้องขนาดเหมาะ ๆ เพราะกลัวว่าจะเอาลูกล้อ สมอเรือ
หรืออะไร ๆ ใหญ่ยักษ์มีรูมาร่วมว่าเป็นลูกปัดครับ
ตามที่ศึกษาและค้นคว้ากันมา ที่มนุษย์เรานี้รักสวยรักงาม
และชอบตกแต่งและอยากแตกต่าง
มีหลักฐานมามนุษย์โลกนี้ รู้จักเสาะหาและเอาของมาเจาะร้อย
ห้อยเป็นลูกปัดนี้แล้วเมื่อหลายหมื่นปีก่อน เกือบถึงแสนปี
โดยที่ไม่คงทนก็ย่อยสลายหายสูญ เช่นดอกไม้ กิ่งไม้ เม็ดพืช
ที่คนแต่ก่อนก็ควรที่จะรู้และเลือกเอามาร้อยห้อยแขวนกัน
ก่อนที่จะเจอของแข็งและทน durable กว่า
จำพวกหอย กระดูก เขา เขี้ยว
แล้วก็ขยับมากับหินเนื้อไม่แข็งมาก จนแข็งมาก ๆ ขึ้น
แล้วก็ที่มีสีสันลวดลาย จนกระทั่งกึ่งอัญมณี แล้วก็อัญมณี
ก่อนที่จะพ้นยุคหิน สู่โลหะ ทอง แก้ว แล้วก็ต่อ ๆ มาเรื่อย ๆ
ในโลกนี้มี #๖อู่อารยธรรมโลก ที่ลูกปัดพัฒนาการรุ่งเรืองมาแต่โบราณ
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ในวงการลูกปัดโลกนั้น
แม้ #ลูกปัดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะได้รับการกล่าวถึงบ้าง
แต่กะพร่องกะแพร่งมาก
ทว่าหยิบยกของ #บอร์เนียว ที่ชาวถิ่นยังใช้กันมากจนถึงทุกวันนี้เป็นของเด่น
ส่วน #โนราบ้านเรา หนังสือส่วนใหญ่ไม่กล่าวถึงเท่าไหร่
จากการศึกษาค้นคว้าของผม ที่มีแวดวงวิชาการทั่วโลกเข้ามาร่วม
ทั้งขอทำการศึกษาค้นคว้าลงลึกเชิงวิทยาศาสตร์โบราณคดีวิเคราะห์
มีบทความรายงานการตีพิมพ์มากมาย
รวมทั้งเชิญไปนำเสนอในเวทีวิชาการนานาชาติหลายแห่งและกรณีมาก
เราได้บทสรุปใหม่ว่า
๑) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะไทยเรานี้ด้วย
เป็น #อีกอู่อารยธรรม ที่มั่งคั่งและปรากฏพัฒนาการของลูกปัดตลอดมาในช่วง ๓๐๐๐ - ๑๐๐๐ ปีที่แล้ว
๒) ไม่ได้เป็นเพียงของซื้อหามาห้อยร้อยแขวน
แต่เป็น #แหล่งผลิตและค้าลูกปัดสำคัญ ระดับ #Beads_Emporium มานับพัน ๆ ปีแล้วด้วย
และมี #เส้นทางสายลูกปัด #BeadsTradeRoute มาก่อนเส้นทางสายไหมด้วยซ้ำ
๓) ปรากฏ #ร่องรอยความนิยมสวมใส่และใช้ลูกปัดถึงทุกวันนี้ ในอีกหลายถิ่น โดยเฉพาะชาวเกาะกับชาวเขารายรอบ
ส่วนว่าใช้กันทำไม แล้วทำไมโนราเลือกใช้
เช้านี้ ขอไปกินติ่มซำกับนำชาก่อนนะครับ
๘ มิย.๖๓ ๐๖๔๖ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร