Print

อีกไม่น้อยที่ระนองและปริมณฑล
กับบางอย่างยังตกค้างที่บ้างกล้วยและภูเขาทอง

รายงานการลงพื้นที่สำรวจ (ตอนที่ ๓)
ฐานข้อมูลโบราณวัตถุและหลักฐานร่องรอยทางวัฒนธรรม
ที่เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาแรกเริ่มในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี)

อีกไม่น้อยที่ระนองและปริมณฑล

ด้วยเหตุที่มีเวลาน้อยแต่ต้องครอบคลุมพื้นที่กว้าง จึงต้องจบการสำรวจพื้นที่ชุมพรมุ่งสู่ระนอง โดยในกลางคืน ได้รับความเอื้อเฟื้อจากผู้รวบรวมลูกปัดคนสำคัญแห่งเมืองระนอง คือ "โกแอ" ที่นำมาให้ได้ดูชมกันถึงที่พักจนดึกดื่น ส่วนใหญ่เป็นลูกปัดหินสีมีค่าที่มีสีสันและเนื้อน้ำงดงามรูปทรงต่าง ๆ มีตรีรัตนะและสิง รวมทั้งลูกปัดเขียนลาย และ อำพันทอง โดยมีแหวนและงานทองคำอยู่จำนวนหนึ่งด้วย ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นของได้มาจากฝั่งพม่าบริเวณตอนใต้สุดที่อ่าวใหญ่และเขมายี้

บางอย่างยังตกค้างที่บางกล้วยและภูเขาทอง

ระหว่างทางจากระนองล่องใต้ตามชายฝั่งอันดามัน ก่อนถึงบางกล้วยนอกในเขตอำเภอกะเปอร์ ได้แวะขอดูของตกค้างในคลังของ "ครูปลาย" ซึ่งมีลูกปัดแก้วสีเหลืองและเขียวซึ่งพบแต่ที่ "เขาบ้านเตรียม" แล้วก็เศษแก้วและหินจากหลายที่ ที่น่าสนใจมากคือลูกปัดทองคำจำนวนหนึ่งที่ร้อยเอ็นไว้ มีตะกร้อแปลกแม้จะยับย่นอยู่ก็ตาม รวมทั้งหัวแหวานแก้วมีรูปสิงอยู่ด้านบน จากนั้นที่บ้านบางกล้วยนอก แวะหา "หยาด" ที่มีคนเอาของมาฝากไว้ให้ได้เห็น มีทั้งลูกปัดหิน ลูกปัดแก้ว รวมทั้งอำพันทอง ทุ่นทอง มีทั้งที่ยังไม่เจาะรู ที่แตกและที่ยังสวยสมบูรณ์ เสร็จแล้วขอเดินขึ้น "เขากล้วยนอก" ที่ดูเหมือนมีคันดินคล้ายกำแพงกั้นอยู่ด้านเหนือ ในขณะที่อีก ๓ ด้านเป็นไหล่เขาชัน นับเป็นชัยภูมิที่ดี เพราะเปิดหน้าหาทะเล เห็นภูเขาทองอยู่ที่อีกฝั่งคลองบางกล้วยและต้องข้ามทุ่งไปทางเหนือ ส่วนถนนเพชรเกษมทุกวันนี้อยู่ทางตะวันออก สันนิษฐานว่าที่นี่น่าจะเป็นฐานสำคัญ อย่างน้อยก็ของกลุ่มผู้ผลิตและขายลูกปัด อยู่ริมคลองและเมื่อสมัยก่อนนั้นน่าจะไม่ไกลจากทะเล หรือว่าอยู่ริมทะเลก็ไม่รู้ได้ ภูเขาลูกนี้ว่ากันว่ามีลูกปัดมาก ผ่านการขุดหามาหลายรอบ ทุกวันนี้มีสวนยางกับปาล์มขึ้นทั่วแล้ว

ส่วนที่ภูเขาทองนั้น พบร่องรอยการขุดหาลูกปัดตามตีนเขา มีชาวบ้านคนหนึ่งขี่จักรยานผ่านมา ใส่สร้อยลูกปัดจึงขอดู เป็นหินสีมีค่าที่ยังไม่เจาะรูแล้วให้ช่างเลี่ยมทองให้อย่างพิเศษสวยดี นอกจากนี้ในกลางหมู่บ้านกำพ่วน มี "บัง" คนหนึ่งเก็บบางอย่างน่าดูไว้ จึงได้ขอเข้าไปดู พบเป็นของพิเศษหลายอย่าง โดยเฉพาะ วัวแก้ว แก้วมีตราศรีวัตสะ แผ่นและก้อนหินมีลวดลาย หัวแหวนรูปไก่ ตรีรัตนะขึ้นรูปค้างกับที่ยังไม่เจาะรู และ หงส์

(มีต่อ)

๑ - ๑๙ ของโกแอที่ระนอง
๒๐ - ๒๓ ของครูปลายที่กะเปอร์
๒๔ - ๓๔ ของชาวบ้านที่บางกล้วย
๓๕ - ๔๑ บนเขาที่บางกล้วยนอก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.