logo_new.jpg

#ว่าด้วยเมืองนคร เรื่อง "้เวลา"
Chronology Of NaKorn


(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20191215_6)

 

     จากวงพบปะ นาครสนทนา ที่ #นาครบวรรัตน์ เมื่อบ่ายวันเสาร์ ที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ ได้กรอบแนวทางดังนี้

๑) หากอิงวิถีวัฒนธรรม อาจย้อนไปได้ไกลก่อนประวัติศาสตร์และขยายขอบเขตได้กว้างไกลเหลือประมาณหากอิงหลักฐานประวัติศาสตร์ก็อาจเรียงตามลำดับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามประจักษ์พยานหลักฐานต่าง ๆเช่น สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ตามลำดับ
๒) การอิงประจักษ์พยานหลักฐาน ก็ได้ ๒ ประการ
   ๒.๑) ตำนาน เรื่องเล่า ลายลักษณ์ จดหมายเหตุ เอกสาร จารึก ฯลฯ
   ๒.๒) หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ รวมทั้งผลการศึกษาประกอบ
๓) จากหลักฐานโบราณคดี เท่าที่ทำกันมา มี ๕ ชั้น ๒ - ๓ ดอง
   ๓.๑) ใต้ดิน

   ๓.๒) หิน

   ๓.๓) อิฐ แบ่งเป็น ๓
      ๓.๓.๑) ต้น ๆ

      ๓.๓.๒) ตามพรลิงค์

      ๓.๓.๓) นครศรีธรรมราช

๔) ปมเงื่อนสำคัญควรคำนึง คือ ถึงทุกวันนี้นั้น มีทั้งที่

   "๔.๑) ปรากฏชัดเป็นที่ยอมรับแล้ว" และที่

   "๔.๒) ยังต้องค้นคว้าหาความชัดเจนยิ่งขึ้น"

๕) ณ ขณะนี้ อาจตั้งกรอบเค้าเลา ๆ ไว้เป็น ๓ กรอบเวลาสำหรับ "ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ของนคร"
   ๕.๑) ยุคต้น ตามปรากฏเรียกชื่อ "กะมะลิ ตะมะลิ ฯลฯ" ในคัมภีร์มหานิทเทศ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๕ - ๖
   ๕.๒) ยุคตามพรลิงค์ ที่ต่อเนื่องจนร่วมกับศรีวิชัย ตามที่ปรากฏในจารึกวัดเสมาเมือง พ.ศ.๑๓๑๘ กระทั่งปรากฏในจารึกวัดเวียง พ.ศ. ๑๗๗๓ และอาจจะสิ้นสุดลงครั้งพระเจ้าจันทรภาณุกรีฑาทัพเรือไปลังกาเมื่อ พ.ศ.๑๗๙๐ และ ๑๘๐๕ ตามปรากฏในคัมภีร์จุลวงศ์ของลังกา โดยในช่วงนี้ อาจควบรวมอีกหลายจารึกที่พบ และอยู่ในช่วงสมัยนี้ อาทิ จารึกหุบเขาช่องคอย พศต.ที่ ๑๑ จารึกวัดมเหยงคณ์ พศต.๑๒ - ๑๓ กระทั่งผลการวิเคราะห์อิฐที่พระธาตุ ว่ามีอายุประมาณ พศต.๑๔ ส่วนที่ปรากฏในเอกสารหนังสือบุด ตำนาน พงศาวดาร ก็พบว่าหลายฉบับมีระบุศักราชเก่าถึงในช่วงนี้
   ๕.๓) ยุคศรีธรรมราช อาจนับจากจารึกพ่อขุนรามฯ พ.ศ.๑๘๒๖ ที่ระบุ "สรีธัมมราช" แล้ว

๖) หากพิจารณาที่ความเป็น "นครศรีธรรมราช" แล้ว จะกำหนดได้อย่างไร ?
   ๖.๑) ความเป็น "นคร-เมือง" อาจพิจารณา ๕ องค์ประกอบ ขอบเขต-ที่ตั้ง / ปริมณฑล-ชุมชนรายรอบ / ระบบการปกครอง-ผู้นำ / การผลิต-เศรษฐกิจหล่อเลี้ยง /กองกำลังพิทักษ์-รักษา
   ๖.๒) หากมุ่งความเป็น "นครศรีธรรมราช" ก็ควรคิดตาม ๕.๓ แต่หาก เป็น "นคร-เมือง" อย่างน้อยเมื่อ พศต.ที่ ๑๒ และ พ.ศ.๑๓๑๘ ที่มีจารึกวัดมเหยงคณ์ และ วัดเสมาเมืองระบุรายละเอียดบ่งชี้ให้เห็นว่ามีองค์ประกอบ ๕ ประการแล้วตั้งแต่ช่วงกาง ๆ ของ ๕.๒ ส่วนจะเป็นแล้วตั้งแต่ ๕.๑ หรือไม่นั้น คงต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป

ผมขอประมวลสรุปประเด็นแรกที่ได้เมื่อวันนั้น
ณ เวลาครบ ๒๔ ชม.พอดีนี้นะครับ

๑๕ ธค.๖๒ ๑๕๔๕ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//