Print
ต่อจากการเผาไล่ปรอทที่ทาไว้ทั่วองค์พระจนเหลืองรอบและเย็นแล้ว
คือการขัด ล้าง ฟอก และ ปัดผิวทองให้สะอาดและวาวทอง
ช่าง
เณรอ๊อด วัดจันทาราม
กับคณะ ก็เชิญองค์พระลงน้ำในโคม (กาละมัง)
แล้วลงมือล้างขัดด้วยแปลงทองเหลืองตลอดองค์โดยเฉพาะที่คราบดำ
จากนั้นจึงนำ #น้ำมะคำดีควาย ซึ่งขยี้ตีแตกฟองหน่อย ๆ มาขัดฟอก
" ... ไซ๋ไม่ใช่สบู่หรือผงซักฝอกสมัยใหม่ ... "
" ... นั่นเป็นด่าง เกิดคราบ แต่นี้เป็นกรดอ่อน ๆ สะอาดหวา ของใช้กันมาแต่ไหน ๆ ใช้ดี ... " คือคำตอบ
" ... แล้วลูกปัดพวงนั้น ? ... "
... เอามาปัดผิวทองให้เรียบและเป็นมันวาว ... "
" ... อ้าว !!! นี้ม่ายที่เป็นที่มาของชื่อเรียกคนไทยว่า #ลูกปัด
เพราะเอามาปัดขัดผิวโลหะโดยเฉพาะทอง ??? ... " ผมฉงน
" ... ไม่รู้ด้วย แต่ว่าวงการทำถมที่นคร ใช้ลูกปัดกันมาแต่ไหน ๆ
ใคร ๆ ก็ปักกันพันนี้เพแหละ ... "
ก็ไม่รู้ได้แน่ ว่าใช่นี้ไหม ที่เป็นที่มาของการเรียกเม็ดพวกนี้ว่าลูกปัด
ชวนให้ผมคิดต่อถึงที่คนอู่ทองก็เรียกเจ้าเม็ดพวกนี้ว่า "#ลูกกำปัด"
อย่างไม่รู้ว่าทำไมถึงเรียกอย่างนั้น
แต่พอดูให้ดี และลอง "กำ(แล้ว)ปัด" ผิวทองพระ " ... อ๊ะ ๆ ใช่เลย ... "
นี้น่าจะคือที่มาแน่แล้ว
ส่วนที่เคยสงสัยและยกเป็นอีกข้อสันนิษฐานนั้น น่าจะไม่ใช่เสียแล้ว
คือที่ว่า แหล่งวัตถุดิบและผลิตใหญ่ดั้งเดิมของอินเดีย
ตลอดกว่าพันปีมาจนถึงทุกวันนี้นั้นอยู่ที่ #เมืองกำปัด #Khampat ไม่น่าจะเข้าเค้าเท่านี้
นี้ กำปัด ชัด ๆ เลยครับ
ชาวลูกปัดว่าไง ?
เชน ชุมพร
สุรัตน์ รัตนวิไล
Somboon Patimaarak
เนาวรัตน์ สิบพลาง
ขวัญทิพย์ ชะเอม
Prakas Chareonrasadara
วรสิทธิ์ พิมพ์บุญมา
Gob Siwapat
เอกณัฏฐ์ รุ่งสินอัญยาพร
ฯลฯ
๑๓ พย.๖๓ ๐๘๑๒ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.