- Details
-
Written by Super User
-
Category: งานศาสนา
-
Published: 15 September 2022
-
Hits: 757
ทราบว่ามาด้วยคำเชิญของคณะกรรมการวิชาการพระธาตุมรดกโลก
เพื่อไขความรู้บางประการที่เกี่ยวกันกับลังกา ซึ่งผมไม่ได้ถามมาก
ผมเพียงถามว่ามานคร ท่านต้องการจะไปที่ไหนบ้าง อยากบริการ
เรื่องง่าย ใกล้มาก
ท่านบอกว่า หากจะหาความเชื่อมโยงกับลังกา
ที่นครมีวัดอะไรที่เกี่ยวกับคณะทางลังกาบ้าง
ผมถามว่า แล้วไม่ไป
#มเหยงคณ์ หรือ แต่ที่ท่าศาลา
เป็นมเหยงคณ์ตั้งใหม่บนวัดเสมาทองเดิม จึงไม่นานเท่า
เอาเป็นว่าสุดท้ายไม่ได้ไปทั้งสองสถาน
แวะเข้าไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติยามวิกาล
พอดีมี ๒ พระ กับ ยามรู้จักหมอบัญชา
" ... ผมว่านี้เหมือนที่เคยเห็นมากทางอินเดียใต้ ในเขตโจฬะ ... " ผมว่า
" ... ผมคิดว่าอาจมาจากลังกาได้ไหม ? เพราะเห็นในหลายวิหารเป็นงานไม้ ... "
Chedha Keawsakun ว่าบ้าง
" ... จริงอยู่ว่าที่ลังกามีแนวนี้ แต่เป็นงานไม้ที่แคนดี้ สมัยหลังมาก
หากเป็นหินอย่างนี้ อาตมาว่ามาจากอินเดียใต้เมื่อสมัยโจฬะ
เพราะในลังกาโบราณ ไม่มีงานหินแนวนี้ ... "
" ... แล้วใครเอามา ? เอามาทำอะไร ? ทำที่โน่น ? หรือว่ามาทำที่นี่ ? ... "
หลายคนรัวคำถาม
ถกกันยาว จากการพบเป็นจำนวนมาก และน่าจะยังฝังอยู้อีกมาก
ใต้บริเวณที่สร้างวิทยาลัยนาฏศิลป์บนพื้นที่วัดโพธิ์ร้างท่าเรือ
โดยบริเวณนั้น พบหลายหลักฐานทั้งฝ่ายอินเดียและเมืองจีน
ย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ถัง สุ้งหรือซ้อง
ซึ่งร่วมสมัยทวารวดี ศรีวิชัย และ โจฬะราช
เมื่อปี ๑๕๖๘ หรืออีก ๓ ปีก็จะครบ ๑,๐๐๐ ปี พอดี
" ... สมัยนั้น กองเรือของโจฬะก้าวหน้ามาก
น่าจะมีไป ๆ มา ๆ กับทางนี้ ที่เมืองนครตามพรลิงค์ด้วยแน่
นี้อาจขนมาจากอินเดีย
หรือไม่ก็เอาช่างจากอินเดียมาเอาหินเขาหลวงทำขึ้น ... " ท่านว่า
" ... ถ้างั้นที่นี่ต้องมีระดับมหาวิหารไหมครับ ? ... " ผมถาม
เพราะเคยคิดอย่างนั้นมาก่อน
ด้วยได้เคยไปเห็นมามากที่เขต
#ทมิฬนาดู มาหลายรอบ
คุยกันนาน จนยากจะสรุปอะไรได้
" ... ตกลงยกไว้เป็นอีกประเด็นของงาน