logo_new.jpg

๑๐ ปี กับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้บ้านเกิด (๒๕๓๕-๔๕) 
 และ ๕-๖ ปี กับอะไรอีกหลายอย่างที่ไม่ได้ทำเมื่อเป็นคนทำงานจ้าง (๒๕๔๕-๕๑)
10 Years for WalaiLaks Starting etc.
(bunchar.com บัญชาชีวิต 20170106_3)

กำลังที่ชาวจังหวัดนครต้องการมหาวิทยาลัยกันเหลือเกิน แล้วถูกชวนไปช่วยก็เลยรับปากกล้าตายไปเป็นบุคลากรแรก ทำมันแทบทุกหน้าที่ ตั้งแต่การคลี่คลายแก้ปัญหาที่ดินหมื่นไร่ที่อีรุงตุงนังถึงวันนี้ยังไม่แล้ว แล้วก็ลุยสร้างจนเปิดรับนักศึกษาได้จนจบรุ่นแรกในปี ๔๕ แล้วขอลาออกมาใช้ชีวิตแนวอื่น หลังผ่านมาทั้งรองอธิการบดีฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายกิจการนักศึกษา จนลามาเป็นอาจารย์ธรรมดา ๆ แล้วชาวมหาวิทยาลัยเล่นอะไรกันไม่เลิกจนขี้เกียจคลุกคลีด้วยกับการไม่รู้จักเลิกแล้ว

ระหว่างนี้ได้รับเชิญไปเป็นผู้รับทุนไอเซ่นฮาวร์เรียนรู้ดูงานได้พบเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายอย่าง ทั้งด้านการศึกษา การพัฒนาระบบอนุรักษ์ และแหล่งเรียนรู้ทั่วสหรัฐอเมริกาหลายเดือนหลายสิบรัฐ

นอกจากนั้นยังได้เริ่มออกเที่ยวทั่วไทยกับเอเชียตามหลักว่าปีหนึ่งต้องได้ออกไปเรียนรู้อะไรอื่นบ้าง บางคราวมีแม่กับน้าพาและพี่น้องพร้อมหน้า ขณะเดียวกันก็ไม่ห่างจากสวนโมกข์ไชยา ส่วนเรื่องเมืองนครและนาคร-บวรรัตน์ เหมือนจะพักไว้ก่อน เฉพาะงานมหาวิทยาลัยก็แทบเอาชีวิตไม่รอด ผู้ใหญ่ กำนันที่ท่าศาลา เป็นไข้โป้งไปไม่รู้กี่คน ที่ตั้งหวังไว้สูง ๓ สิ่ง คือสร้างให้สำเร็จ รับนักศึกษามาเรียนได้จบ และ เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีใน ๔ วัตถุประสงค์ คือ สอน วิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ ร่วมพัฒนาชุมชน ก็ “ขอยอม” ที่เพียง ๒ ข้อต้น ทนเขารบกันในนั้นไหว

๕-๖ ปี กับอะไรอีกหลายอย่างที่ไม่ได้ทำเมื่อเป็นคนทำงานจ้าง (๒๕๔๕-๕๑)

ตอนที่ลาออกจากวลัยลักษณ์ว่า “จะไปใช้ชีวิตแนวอื่น” จนเข้าใจกันไปว่าน่าจะ “ไปบวช” นั้น ตั้งใจว่าจะอยู่แบบอะไรอยากทำจึงทำ ขอไม่เป็นลูกจ้างของใครจนปลีกตัวไปทำอะไรที่ชอบตามที่ติดกรอบมาแล้ว ๒๐ ปี ด้วยมีอะไรอีกหลายอย่างที่พลาดจังหวะและโอกาส จนไม่ได้ทำ

แต่แล้วก็เริ่มจากถูก สสส.ชวนไปช่วยคิดและพัฒนาระบบงานส่งเสริมการสร้างสุขภาพในชุมชนท้องถิ่นและภูมิภาค จากนั้นก็กลายเป็นกลุ่มกิจกรรมสร้างสุขภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับผองเพื่อนพ้องพี่น้องในเมืองนคร แล้วขยายเป็นชุดโครงการใหญ่เพื่อพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ ในชื่อ “ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้” ที่ร่วมกับชมรมเพื่อนร่วมพัฒนาภาคใต้ทั้งภาค ทำให้ได้พัวพันเพ่นพ่านไปทั่วทั้งจังหวัดนครและภาคใต้ ในขณะที่ สสส.ก็ขอให้ช่วยอีกหลายอย่าง ร่วมกับทาง สช.หรือสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติด้วย ก็เลยพล่านไปไกลเกือบทั่วทั้งประเทศไทย

จนเกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิที่ชายฝั่งอันดามันจนถูกเพื่อนพ้องภาคใต้ขอให้รับเป็นโต้โผเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชายฝั่งอันดามัน (SAN-Save Andaman Network) ทำอะไรอีกสารพัดที่ทั่วทั้ง ๖ จังหวัดอันดามันอยู่หลายปี แถมถูกนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน กับ อ.หมอประเวศ วะสี ตามให้ไปร่วมเป็นคณะกรรมการสมาฉันท์ที่จังหวัดชายแดนใต้จนเลิกรากันไป

ในจังหวะนั้นที่ท่านอาจารย์พุทธทาสสิ้นมากว่า ๑๐ ปี และ มีการนำเสนอจนยูเนสโกประกาศเป็นบุคคลสำคัญของโลก ก็เลยเริ่มขยับการก่อตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ออกมาเป็นสวนโมกข์กรุงเทพในทุกวันนี้ พร้อม ๆ กับที่งานการติดตามศึกษารวบรวมลูกปัดในพื้นที่ภาคใต้ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทยในนามของสุธีรัตนามูลนิธิ จนได้รับการยอมรับในระดับกว้างจากวงวิชาการการศึกษาเรียนรู้ มีนิทรรศการพิเศษ “ปริศนาแห่งลูกปัด” ที่มิวเซียมสยาม และ หนังสือรอยลูกปัด โดยมติชน

๖ มค.๖๐

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//