logo_new.jpg

สุธีรัตนามูลนิธิ
SuthiRatana Foundation
(bunchar.com บัญชาชีวิต 20170414_5)

เมื่อหลาน ๆ ลูกของรัตนา-สุธี พงษ์พานิช ปรารภถึงการจัดตั้งสุธีรัตนามูลนิธิขึ้นเพื่อบำเพ็ญสาธารณกุศล เนื่องในโอกาส ๗๒ ปี ของรัตนา พงษ์พานิช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้รับเป็นประธานมูลนิธิ มีกิจเริ่มต้นคือการสนับสนุนกิจการการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้านการช่วยเหลือการศึกษาและพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนและชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากการจัดตั้งมหาวิทยาลัยและไม่สามารถนำเงินงบประมาณราชการมาใช้ได้ โดยการก่อสร้าง อาคารเรียน สุธี-บรรหาร พงษ์พานิช” ให้แก่โรงเรียนชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ๑ หลัง และ “พุทธสถานสุธีรัตนาคาร” ๑ หลัง พร้อม “พระพุทธธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแสดง” ประจำศาสนสถานประจำชุมชน กับยังร่วมบริจาคที่ดิน ๕ ไร่ ริมถนนทางไปทะเลปากนครเพื่อให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามที่มหาวิทยาลัยร้องขอเพื่อจัดตั้งเป็น “แหล่งเรียนรู้และสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อชุมชน” โดยมหาวิทยาลัยจะใช้ชื่ออาคารที่ก่อสร้างว่า “อาคารขุนบวรรัตนารักษ์ และนางช้อย” ซึ่งโอนมอบแก่มหาวิทยาลัยและค้างคามาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ แล้วได้รับการยืนยันว่าจะเร่งดำเนินการตลอดมา ก่อนที่จะไม่สามารถติดตามได้อีกตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นต้นมา

จากนั้น สุธีรัตนามูลนิธิ จึงได้ให้ความสำคัญกับพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและการพระศาสนา โดยได้เป็นหน่วยประสานกิจกรรมส่งเสริม “เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช” (พุทธศักราช ๒๕๔๕ – ๔๗) และ การสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชนท้องถิ่นทั่วทั้งภาคใต้ในชื่อ “โครงการดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้” (พุทธศักราช ๒๕๔๖ – ๔๙) ตลอดจนการสนับสนุนการฟื้นฟูชีวิตและชุมชนของผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิตลอด ๖ จังหวัดชายฝั่งอันดามัน ในนามของ “เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน-Save Andaman Network(SAN)” (พุทธศักราช ๒๕๔๗ – ๕๐) พร้อมกับการตั้ง “กลุ่มศึกษาที่สวนโมกข์” (๒๕๔๕) เพื่อศึกษาพัฒนาและสานงานของพุทธทาสภิกขุ จัดพิมพ์หนังสือชุดอนุรักษ์และเรียนรู้กระบวนวิธีทำงานของพุทธทาสภิกขุเป็นจำนวนมาก อาทิ พุทธทาสลิขิต, บันทึกนึกได้เอง, อย่าเพ่อตาย, บันทึกไปอินเดียของพุทธทาส, พินัยกรรมของพุทธทาส ฯลฯ ก่อนที่จะยกระดับเป็น “หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือ สวนโมกข์กรุงเทพ” (พุทธศักราช ๒๕๕๑) ที่สุธีรัตนามูลนิธิมีบทบาทสำคัญในการประสานหนุนเสริมต่าง ๆ ตลอดมา รวมทั้งการสมทบทุนประเดิมในการก่อสร้างในนามของ ขุนบวรรัตนารักษ์และนางช้อย และ สุธีรัตนามูลนิธิ รายละ ๑๐ ล้านบาท

นี้เป็นบรรยากาศวันหนี้ หลังเสร็จพิธีสงฆ์ ถวายภัตตาหารแล้วพวกเราก็กินกัน มีน้ากำเนิดสุข ศิริโยธิน เพื่อบัญชีจุฬาของน้าพามาได้คนเดียว นอกนั้นก็หลาน ๆ นอกจากสายตรงของขุนบวรฯ กับ ยายช้อย ก็มี พี่พาณีกับเหน่ง ภริยา-ลูกของพี่กำจร สถิรกุล นายยง-ผยง ศรีวาณิช-ลูกตาผาดหลานยายผ่อง-แผ้ว ลูกของกำนันพันชูที่ท่าศาลาสมัยนู้น กับพี่จำลีย์-พี่ดา-ลูกลุงสุธรรมกับป้าล้วนที่ยะลามาด้วย

ตะกี้ ยังมีหลาน ๆ พี่จุ๋มยกคณะใหญ่มากันพร้อมกับพี่ปุ๊หลายป้าห้วยที่สิชลก็มากันครับ.

๑๔ เมย.๖๐

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//