logo_new.jpg

เริ่มที่ #ทองหลางกองาม
Start With The #GoldenTree
(bunchar.com บัญชาชีวิต 20200327_2)

แต่ก่อนนี้ ทั่วทั้งเมืองจะมีต้นทองหลางเต็มไปหมด
เวลาจะทำเมี่ยงกินกัน
ก็ได้ปีนฝ่าหนามขึ้นไปเก็บให้แม่น้าป้ายาย ฯ เสมอ ๆ

พอดีในนานั้น มีทองหลางขึ้นใหญ่อยู่หลายกอ
เล็ง ๆ แต่ละต้น กำนันอกว่าต้องจ้างรถเครนมายก
แล้วตามรถใหญ่มาขน แบ็กโฮกับหกล้อของกำนันรับไม่ไหว

สุดท้ายก็เอาต้นขนาดย่อม
มีลำขึ้นไป ๔ ปาง ส่วนหนามไม่ได้นับครับ

เริ่มด้วยการตัดแต่งก้านกิ่งเหลือแต่ลำต้นจนพอใจ
แบ็กโฮขุดขึ้นนอน แต่งตัดยอดอีกรอบหนึ่ง
แล้วจึงยกใส่รถ พร้อมลำเลียง
กับกอจิกที่เลือกเอาต้นง่าย ๆ อีกต้นหนึ่ง

๒๗ มีค.๖๓ ๐๖๑๖ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร

อ่านรายละเอียดนี้ประกอบนะครับผม
#ทองหลาง #ไม้ยืนต้นตระกูลถั่วที่มีความสำคัญกับดิน
The Importance of Indian Coral (Erythrina variegate) for Soil

ทองหลาง ชื่อสามัญ Indian Coral Tree, Variegated coral tree, Variegated Tiger’s Claw ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegate Linn. จัดเป็นพืชอยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในแถบเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ และ ออสเตรเลีย

ชาวสวนรู้จักคุณสมบัติของไม้ต้นนี้อย่างดี มักปลูกไว้ริมคันสวนยกเป็นร่องเพื่อยึดดินและใช้เป็นปุ๋ย โดยเฉพาะทุกส่วนของ ต้น ดอก ใบหนาโต

ก้านหนึ่งมีใบย่อยสามใบ เช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่ว ซึ่งเป็นปุ๋ยอย่างดีแก่พืชทั้งหลาย จะอุดมด้วยธาตุอาหารต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ดิน นอกจากนี้ รากของต้นทองหลางยังมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถดูดเก็บเอาน้ำในดินเลี้ยงลำต้นได้มากกว่าไม้ทุกชนิด

ดังนั้นการปลูกต้นทองหลางไว้หลายๆต้นจะทำให้พื้นดินชุ่มชื้น ต้นไม้ใกล้เคียงอื่นๆพลอยเจริญงอกงาม ต้นทองหลางจึงเหมาะเป็นพืชที่บำรุงดินได้เป็นเลิศสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ย และเป็นเครื่องมือฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่ดีอย่างหนึ่ง จึงจัดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติซึ่งใกล้จะถูกลืม

ลักษณะของพรรณไม้

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือเปลือกเป็นลายคล้ายเปลือกแตกตื้นๆสีเทาอ่อน และเหลืองอ่อนๆ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมคม หรือบางชนิดมีหนามเล็กๆแหลมคมตลอด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง

ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ลักษณะใบเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายใบโพธิ์ กว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ยาวประมาณ 35 นิ้ว ผิวใบเรียบ สีเขียวหรือด่างเหลืองๆใต้ท้องใบมีสีขาวขุ่น ก้านช่อยาวประมาณ 3-5 นิ้ว บางชนิดลักษณะใบมนคล้ายกับใบของถั่วพู ใบโตประมาณ 3-4 นิ้ว ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ และบางชนิดใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน

ดอก : เป็นช่อติดกันเป็นกลุ่มออกตามบริเวณข้อต้น หรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกคล้ายกับดอกถั่วมีสีแดง หรือชมพู กลีบดอกกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ช่อดอกยาวประมาณ 4-8 นิ้ว

ผล : เป็นฝักแบนโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 15 -30 ซ.ม. เป็นข้อๆสีน้ำตาลเข้ม โคนฝักจะลีบเล็ก ผลแก่ฝักจะแตกที่ปลายอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม บ้างฝักยาวคอดเป็นข้อๆ สีน้ำตาลเข้ม และบ้างฝักแคบ ภายในมีเมล็ด 2-4 เมล็ด

เมล็ด : ลักษณะรูปร่างกลม สีแสด
ออกดอก: เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด การปักชำ และ การตอน
สภาพที่เหมาะสม: ร้อนชื้น อบอุ่น อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 30 องศาเซลเซียส ปริมาณระดับน้ำทะเล 1,200 - 1,800 มิลลิเมตร มีฝนกระจายเป็นเวลาหลายเดือน และมีแสงแดดอย่างเพียงพอตลอดปี สภาพดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ทนต่อสภาพดินเค็ม ทนแล้ง และทนน้ำท่วมได้ดี

ประโยชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคลประจำบ้าน
ราก ลำต้น ใบ ดอก เป็นปุ๋ยอย่างดีกับพืช ดูดซับน้ำในดินไว้เลี้ยงลำต้นได้มากกว่าพืชทุกชนิด

เป็นพืชพี่เลี้ยง เป็นพืชที่ปลูกขึ้นก่อนพืชประธาน เพื่อมีหน้าที่ช่วยในการบังร่ม บังลม ช่วยสร้างธาตุอาหาร หาอาหาร และรักษาความชื้นให้กับพืชประธาน คือ ต้นทองหลางเป็นพืชที่โตเร็ว สร้างปุ๋ยได้เนื่องจากที่ปมรากมีบักเตรีที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ มีใบจำนวนมาก ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก ใบแก่ที่ร่วงหล่นจะผุผังกลายเป็นปุ๋ยอยู่ที่ผิวดิน มีเนื้อไม้เป็นชนิดไม้เนื้ออ่อนผุผังได้ง่าย มีรากจำนวนมากกระจายอยู่ในระดับผิวดินและในระดับลึก ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมขังและที่พิเศษ คือสร้างรากใหม่ได้ทุกปี รากเก่าบางส่วนจะผุผัง สลายตัวทำให้เกิดเป็นโพรงอยู่ในดินเป็นท่อระบายอากาศในดิน และเป็นช่อง ให้พืชประธานสามารถแทงรากลงไปได้ง่าย เกษตรกรนิยมปลูกทองหลางไว้ในสวนทุเรียน มังคุด มะไฟ ส่วนใหญ่เป็นในระบบแบบยกร่อง

มีคุณค่าอาหารนึกไม่ถึง คือ ใบทองหลางอุดมด้วยโปรตีนเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ส่วนใบอ่อนเป็นผักยอดฮิตใช้รับประทานร่วมกับเมี่ยงคำ ร่วมกับส้มตำมะละกอ บ้างเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นผักสดเคียงเมี่ยง ปลาทู ปลาแหนม เป็นต้น

ใบทองหลางให้โปรตีนร้อยละ 4.6 จากการวิเคราะห์ของกองโภชนา กรมอนามัย เป็นผักที่มีกากใย อาหารมาก อุดมด้วยวิตามินเอและสารอาหารอีกหลายตัวที่จะช่วยบำรุงร่างกาย ดีต่อตัวและหัวใจ

หมายเหตุ ทองหลางเหมาะกับการเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ บำรุงตา บำรุงกระดูก แก่คนทั่วไป

ใช้เป็นยาสมุนไพรจากทุกส่วนของใบ เป็นยาขับไส้เดือน แก้ริดสีดวง แก้ลม ดอกจะขับโลหิตระดู ผลบำรุงน้ำดี เปลือกแก้เสมหะ แก้ลมและนิ่วให้ออก กระพี้แก้พิษฝี แก่นแก้ฝีในท้อง รากแก้พิษทั้งปวง ส่วนแพทย์ชนบทใช้เปลือกต้มเป็นยาตัดบมทั้งปวง ใบคั่วให้เกรียมเป็นยาตัดพิษ ใบแก่สดๆใช้รมควันได้ให้ตายนึ่งแล้วชุบน้ำสุราปิดแผล และเนื้อร้ายที่ลามบวมใกล้แตก ใบทองหลางที่ปิดจะดูดหนองให้ไหลออกจนยุบแห้งดี น้ำคั้นจากใยทองหลาง ใช้หยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะดับพิษได้ด้วย เป็นต้น

ข้อมูลการวิจัย

 

 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//