บัญชาชีวิต
- Details
- Written by Super User
- Category: บัญชาชีวิต
- Published: 29 March 2020
- Hits: 1067
อีก #หว้ากอ ที่ขอพ่วงไปด้วยกัน
One More #JavaPlum Shrub
(bunchar.com บัญชาชีวิต 20200327_4)
พอดีตรงปากทางเข้า #นาเจ้าพระยานคร แปลงนี้
เจอหว้ากอนี้ ดูสวยดี
ก็เลยหมายตาว่า ถ้าไหว ขอเอาไปด้วยอีกสักกอหนึ่ง
เพื่อให้สมกับลงนาสวน
ก็เลยฉวยเลื่อยพับประจำตัว มาแต่งตัด
กะว่าจะให้กลายเป็น #หว้ากอ งาม ๆ
ที่ริมสระ #สวนธรรมรักษาปันตวัน ณ #โพธิ์เสด็จ ครับ
สรุปว่า ใส่เสื้อมะพร้าวนาฬิเกสวนโมกข์ วานนี้
ได้ไม้ไปลงสวน ๓ ต้น
๑) ทองหลาง หรือ Indain Coral Tree
๒) จิกนา หรือ Barrington
๓) หว้า(กอ) หรือ JavaPlum
แต่ไม่ได้เอาไป #ปลูกโนเนกลางสระ เพราะทำยาก
แค่ตามริมขอบสระตามประสา #ปุถุชนคนธรรมดา ก็น่าจะพอครับ
๒๗ มีค.๖๓ ๐๘๐๘ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
หว้า จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Syzygium cumini.jpg
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Syzygium
สปีชีส์: S. cumini
ชื่อทวินาม Syzygium cumini (L.) Skeels.
ชื่อพ้อง หว้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Syzygium cumini) เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี[2]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะ ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ
ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่
ประโยชน์
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย
เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม
ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด
เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ
ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนไปวัดพร้อมธูปเทียนเพื่อใช้บูชาพระ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าได้สีม่วง[3]
ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้รากนำไปต้มกับน้ำและดื่มเพื่อชูกำลัง[4]
อ้างอิง
จาก itis.gov
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ อ้างอิง
ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม
Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
แหล่งข้อมูลอื่น Syzygium cumini Wikispecies-logo.svg ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Syzygium cumini จากวิกิสปีชีส์