บัญชาชีวิต
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Published: 02 April 2016
- Hits: 1302
บางลูกปัด ที่
เมืองโบราณพันปี...สักการะนคร หรือ สาครบุรี ? ที่ทวาย
ที่ไหน ๆ ก็ไทยมาแต่เดิม, คนไหน ๆ ก็พูดไทยได้ทั้งนั้น
เมื่อไปตามรอยไทยและรอยธรรมที่ทวาย
ก่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ไปตามธรรม (ฉบับที่ ๖ - ตอนที่ ๑)
หมายเหตุ
๑) โดยสรุปแล้วในละแวก "ทวาย" นี้มีเมืองโบราณเท่าที่ถูกเอ่ยถึงในนานาตำนานและพบมีหลักฐาน แสดงไว้ในแผนที่ที่พิพิธภัณฑ์ทวายเป็นจำนวนถึง ๑๔ เมือง โดยไม่มีเมือง โมกติ และ ซอวะ ไล่จากเหนือลงใต้ ตะวันตกมาตะวันออก ประกอบด้วย Aung Thar Waddy, Thagara, Bhaumi Deva Nagara, Hmaing Karee, Nyaung Khayar, Monshaung or Kyet Sar, Taku, Kamyaw, Tharyarwaddy, Mahar Thukhan Nagara, Weidi, Motta Thukha Nagara, Daunt Kwe และ Kanet Thiri โดยทั้งหมด คือ ๑๖ เมือง ล้วนอยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำทวายบริเวณปากแม่น้ำนี่เอง
๒) ต้นตาลนี้ อินเดียเรียกว่า "ตาล" สัจจุภูมิ ละออจากสกู๊ปหน้า ๑ ไทยรัฐที่ไปด้วยรอบ ๓ บอกว่าเขมรเรียก "โตนด" ไทยเลยเรียกว่า "ตาลโตนด" ผมก็เลยบอกต่อว่า บ้านผมเท่ที่สุด เรียก "โหนด" ที่หลายฝ่ายบอกว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ความสัมพันธ์กับอินเดียมาแต่เดิม แต่ เมื่อไปคราวที่ ๒ อ.เอียน บอกว่าไม่น่าจะใช่ แถมบอกว่าคนเขมรไกลกว่านั้น บอกกันเลยว่ามี "โตนด" ที่ไหน คือเขมรที่นั่น ในขณะที่แอนนานั้นสนใจแต่การทำน้ำตาลสดที่ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ "ทึ่ง" ที่ไม่ต้องหมักทำเหล้าอย่างที่ชาวเขาต้องทุ่มเท แต่ที่นี่ตัดเช้าเป็นน้ำหวาน ทิ้งไว้บ่ายเย็นก็เป็นเมรัยได้เลย ทำเอาเขาเลยเอาชื่อเรียก "Toddy" ไปเป็นชื่อขนมหวานกินหลังร่ำสุราถึงทุกวันนี้
๓) การเข้าถึงเมืองสักการะจากทวายได้ด้วยการมุ่งเหนือเพื่อเข้าเมืองสักการะทางใต้ โดยในการไปครั้งที่ ๒ และ ๓ นี้ พบว่าที่เนินดินที่มีฐานคล้านสถูปอิฐ ได้รับการถาง ขุดแต่งและค้นพบเป็นหลุมฝังหม้อดินใส่เถ้ากระดูกอย่าง "วัฒนธรรมพยู" ที่ "นับถือพุทธ" แล้ว โดย อ.ซอว์ ทูระ ที่เคยเจอเมื่อหนแรกและรอบนี้มานำชม บอกว่า เมืองนี้มี ๔ สมัย เริ่มจากการพบเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก็มา "พยู" เมื่อประมาณ พศต.๑๒ แล้วก็ พศต.๑๗-๑๘ ก่อนที่จะมารุ่งแล้วถูกทิ้งย้ายไปตั้งเมืองทวายทุกวันนี้ เมื่อประมาณ พศต.๒๒ โดยหลุมขุดค้นนี้เขาทำหลังคาคลุมติดดินไว้ไม่ให้ใครบุกเข้าไปได้เลย
๔) กำแพงเมืองแห่งนี้ เท่าที่เห็นด้วยตา มี ๓ แนว แต่จากการศึกษาพบว่ามีอีกแนวอยู่ติดผิวดิน เรื่องนี้ แต่เดิมเชื่อว่าเป็น "ปราการป้องกัน" ระยะหลังว่ากันว่าเป็นเขตแนว "แมนดาลาหรือมณฑล" ตามคติตะวันออก ล่าสุด ว่ากันอีกว่า น่าจะเป็น "ผนังกันตลิ่ง" มิให้พังลงน้ำ ในลักษณะ Retaining wall ของเมืองโบราณริมฝั่งน้ำที่มักพังง่ายจากคลื่นกระแสน้ำกัดเซาะ ซึ่งจากการไปครั้งที่ ๒ และ ๓ ได้ออกไปทางฝั่งตะวันออกที่ตรงไปยังฝั่งแม่น้ำทวายซึ่งเพิ่งขุดค้นนอกเมือง ตรงช่องประตูตะวันออกเห็นชัดว่าระหว่างกำแพงชั้นในกับรองออกมา น่าจะเป็นทางสัญจรหรือลำเลียง อีกชั้นออกมาน่าจะเป็นคูเมืองที่น่ามีคลองต่อไปถึงแม่น้ำได้ด้วย ส่วนชั้นที่ ๔ ไม่เห็นชัด ส่วนทางเหนือนั้นเห็นชัดตั้งแต่ครั้งแรกเป็นลอน ๓ ชั้นในสวนยางชัดเจน
๕) ที่สำนักงานโบราณคดีสนาม ในการไป ๒ ครั้งหลัง ไม่พบเจ้าหน้าที่ แต่มีแผนที่และภาพถ่ายแสดงไว้อย่างดี ให้เห็นเขตรัศมีพื้นที่อนุรักษ์ ๑ ไมล์ พร้อมกับการปักหลักเขต รวมทั้งผลการสำรวจศึกษาต่าง ๆ แบบว่า ไม่ใครอธิบายหากสนใจจริงก็พอเข้าใจได้
๖) ที่ขอบกำแพงและประตูเมืองทิศเหนือซึ่งมีฐานคล้ายสถูปอยู่บนกำแพงนั้น อ.ซอทูระ บอกว่าเป็นจุดขุดแต่งสำรวจแรกสุด ยังไม่รู้เหมือนกันว่าคืออะไร ร่วมสมัยกับกำแพงไหม แต่เมื่อคราวที่ ๒ อ.ฝรั่งตั้งข้อสังเกตว่าไม่น่าจะเป็นสถูป แต่อาจเป็นป้อมหรืออะไรบนกำแพงก็ได้
๗) ที่บนสถูปใหญ่ใกล้กำแพงทิศเหนือในเมืองซึ่ง ๒ ครั้งที่แล้วไม่ได้เข้าไป ในครั้งที่ ๓ ซึ่งเข้าไป ได้พบว่ามีฐานเจดีย์โบราณขนาดใหญ่มาก ๆ เสียดายที่ถูกขุดแต่งก่อสร้างทับจนหมดสิ้น ใกล้กันมีเขตเสมาแต่ไม่มีเวลาไปดู
๘) ฐานสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สันนิษฐานว่าคือ "วัง" นั้น มเสนอว่าน่าจะเป็น "วิหาร-ที่พำนักสงฆ์" มากที่สุด เพราะคนสมัยนั้นน่าจะใช้เรือนผูกหรือไม้กระดาน มีแต่พระเท่านั้นที่มีวิหารอิฐ เช่นเดียวกับในอินเดียโบราณแถวอมราวดี รวมทั้งที่เบกถาโนในตอนเหนือริมแม่น้ำอิระวดี แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ในการไปครั้งที่ ๒ พบเศษ "หม้อมะตะบัน" ชัดเจน ๒ ชิ้น เอามาวางถ่ายรูปร่วมกับเครื่องปั้นพื้นเมือง เครื่องเคลือบเซลาดอนและเครื่องลายคราม ไปหนที่ ๓ นี้ยังวางอยู่ที่เดิมทุกประการ
๙) ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ คือที่บ้านคนเก็บลูกปัด รอบแรกเจอกล้องดินเป็นกระป๋องขนมปัง ลูกปัดเป็นถ้วยโถ พอรอบที่สองมีให้ได้ดูเป็นกระปุก ครั้งนี้มีเพียงตลับเล็กนิดเดียว ถามว่าไปไหนหมด ตอบว่า "มีคนไทยเข้ามาหาเรื่อย ๆ" เมื่อคราวไปมะริด ตะนาวศรี อ.สมเกียรติก็เล่าว่ามาพบที่นี่จึงซื้อเก็บไว้ ผมจึงแนะนำให้ช่วยเก็บรักษาไว้ในประเทศให้มาก ๆ กระจัดกระจายแล้วน่าเสียดาย เท่าที่เห็นครั้งที่ ๒ และ ๓ ก็ทำนองเดียวกับครั้งแรก แต่ที่น่าสนใจพิเศษคือ มีทั้งอิฐไส้ดำ และ นกแก้วเขียวไส้เหลืองด้วย
๑๐) ส่วนที่พิพิธภัณฑ์วัด Sakan Gyi นั้น พระท่านย้ายมาจัดแสดงในตู้บนวิหารใหญ่ที่สร้างใหม่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ พร้อมแผนผังเมืองสักการะนคร ดีกว่าที่เห็นในเมือง ถามได้ความว่าท่านสนใจมาก ในขณะที่พระที่วัดในเมืองกลับไม่สนใจเลย เมื่อไปครั้งที่ ๓ กำลังขัดพื้นไม้ แต่เมื่อขอชม ท่านก็ลากตู้ออกมาให้ได้ดูกันสมใจ