บัญชาชีวิต
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Published: 02 April 2016
- Hits: 1666
เมืองนครของเราอยู่ในแดนมาเลย์หรือนี่ ?
เราจะเอาประวัติศาสตร์บาดหมาง
หรือว่าประวัติศาสตร์สมานฉันท์กันดีครับ ?
อ.พงเทพ สุธีรวุฒิ จาก สจรส.แชร์เมลนี้ และมีผู้กดว่า "ชอบ" หลายราย
ผมอ่านโดยตลอด เข้าใจว่าน่าจะมีหลายตอนที่เลือกตีความและนำเสนอแต่เพียงบางประเด็นและแง่มุมโดยไม่ครบความ
โปรดอ่านโดยละเอียดอีกครั้งนะครับ
บทความบอกว่าแดนไทยกับมาเลย์อยู่ที่คอคอดกระ
ใต้ลงมาทั้งหมดคือเขตมาเลฯ
ไชยา นคร และอีกสารพัดทั้งหมดทั้งสิ้นคือโลกมาเลฯ
เราจะเอาประวัติศาสตร์บาดหมาง
หรือว่าประวัติศาสตร์สมานฉันท์กันดีครับ ?
http://www.fatonionline.com/1901
107 ปี สนธิสัญญาแองโกลสยาม ภายใต้ 6 ข้อตกลงในอาณาเขตเหนือดินแดน
10 มีนาคม 2016 ครบรอบ 107 ปี วันลงนามสนธิสัญญากรุงเทพหรือสนธิสัญญาแองโกลสยาม 1909 (Anglo-Siamese treaty 1909) ที่มีการลงนามในวันที่ 10 มีนาคม 1909
การลงนามสนธิสัญญากรุงเทพหรือสนธิสัญญาแองโกลสยาม 1909(Anglo-Siamese treaty 1909)นั้นเป็นเป็นข้อตกลงปักปันเขตแดนระหว่างอังกฤษกับสยาม โดยมีการลงนามกันระหว่าง หม่อมราชวงศ์ ทิวาวงศ์ วโรปกรณ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสยาม, เจนเซิล เวสเตนการ์ด(Jensle Westengard)เป็นผู้แทนฝ่ายสยามกับ ราล์ฟ พาเกท(Ralph Paget)ผู้สำเร็จราชการในมลายูของอังกฤษ
โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.เมืองมลายู เคดะห์ กลันตัน เปอร์ลิส ตรังกานู เกาะลังกาวีและบางส่วนของรามัน-ระแงะ ให้มอบคืนแก่รัฐบาลอังกฤษ
2.บันทึกที่เคยลงนามกันระหว่างอังกฤษ-สยาม เมื่อ 6 เมษายน 1897 ให้ถือเป็นข้อตกลงลับต่อไป
3.สยามจะไม่มอบดินแดนใดๆให้แก่มหาอำนาจใดตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาตามข้อ 2
4.สยามสัญญาว่า จะให้ความยุติธรรมแก่พลเมืองชาวอังกฤษในสยาม ตลอดจนการรักษาความปลอดภัยแก่ตุลาการและที่ปรึกษาด้านกฏหมายที่เป็นชาวยุโรป หากจำเป็นจะต้องมีที่ดินไว้และอื่นๆที่เกี่ยวข้องสำหรับชาวอังกฤษที่อยู่ในสยาม
5.รัฐมลายูของอังกฤษ จะรับผิดชอบในปัญหาหนี้สินที่หากจะมีอยู่ของเมืองมลายูที่มอบให้อังกฤษ รวมทั้งเงินกู้ต่างๆและงานก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ของสยาม
6.อังกฤษสัญญาว่าจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองในดินแดนที่มอบให้กับสยาม เช่นสตูลและปาตานี ผลของสนธิสัญญานี้ส่งผลดีให้กับรัฐมลายูที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้รับเอกราช ส่วนปาตานีเป็นรัฐมลายูรัฐเดียวจาก 12 รัฐที่ต้องอยู่ภายใต้สยาม จึงเกิดกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มต่างๆในเวลาต่อมา
สำหรับที่มานั้น ในอดีต แผ่นดินมลายูบนคาบสมุทรนั้นครอบคลุมถึงบริเวณคอคอดกระในปัจจุบันได้กลายเป็นอาณาเขตส่วนหนึ่งของประเทศไทยและพม่า ประชากรรัฐปาตานีใช้ภาษามลายูถิ่นกลันตัน (ยาวี) ในการสื่อสาร ในขณะที่ชาวมลายูในบริเวณสโตล (สตูล) ไปถึงรุนดุง (ระนอง) และเกาะดูวา (Kawthong) ในพม่า สื่อสารกันโดยใช้ภาษามลายูถิ่นคลายกับของเคดาห์ ชาวมลายูที่อาศัยในบริเวณดังกล่าวไม่ใช่เป็นผู้อพยพ แต่กลับกันพวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรลังกาสุกะและศรีวิชัย ในฐานะชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินนี้มาอย่างช้านาน
พรมแดนอาณาเขตระหว่างดินแดนมลายูกับสยามนั้น ที่จริงแล้วอยู่บริเวณระนอง หลังจากที่อาณาจักรอโยธยาได้ล่มสลายลงอันเนื่องจากถูกพม่าโจมตีในปี ค.ศ. 1767 ทำให้ต้องย้ายเมืองหลวงอันเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรใหม่ของสยาม นั่นคืออาณาจักรธนบุรีที่ปกครองโดยสมเด็จพระเจ้าตากสิน กษัตริย์สยามองค์นี้ได้ทำการรุกรานและโจมตีรัฐมลายูต่างๆ ตั้งแต่เมืองลิกอร์ (นครศรีธรรมราช) จาฮายา (ไชยา) รุนดุง (ระนอง) เตอรัง (ตรัง) ไกรบี (กระบี่) บูกิต (ภูเก็ต) เบอดาลุง (พัทลุง) และสิงโกรา (สงขลา) มีเพียงแต่รัฐปาตานีเท่านั้นที่รอดพ้นจากการถูกโจมตีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ประการสุดท้ายที่ป้องกันการรุกรานของรัฐมลายูแห่งนี้ต้องเผชิญกับการโจมตีจากฝ่ายสยามซ้ำแล้วซ้ำเล่า สนธิสัญญาแองโกล-สยามที่จัดทำขึ้นระหว่างอังกฤษและไทยในปี ค.ศ.1990 ได้ส่งผลให้ดินแดนมลายูบนคาบสมุทร ต้องถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน สนธิสัญญานี้จัดทำขึ้นแค่ 2 ฝ่าย โดยที่ไม่มีการตกลงหารือกับเจ้านครรัฐมลายูต่างๆเลย ซึ่งต่อมาทำให้รัฐปาตานี สิงโกรา สโตล ไปถึงบริเวณคอคอดกระได้กลายเป็นจังหวัดหนึ่งของรัฐไทยโดยปริยาย
ฉะนั้นแล้วชื่อเรียกสถานที่ต่างๆที่เคยมีกลิ่นไอของความเป็นมลายูในบริเวณคอคอดกระ ก็ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นชื่อเรียกในภาษาไทย ข้างล่างต่อไปนี้เป็นชื่อจริงๆที่เป็นภาษามลายู ที่ถูกนำมากล่าวถึงบางพื้นที่ในภาคใต้ของไทยใหม่ เพื่อเป็นการย้ำเตือนพวกเรา และโดยเฉพาะชนรุ่นหลังให้รำลึกและเรียนรู้ถึงอดีตที่ผ่านมา
ภูเก็ต (Phuket) เพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต หรือบูเก็ต (Bukit)
ถลาง (Thalang) เพี้ยนมาจากคำว่า ตันหยงซาลัง (Tanjung Salang)
ยะลา (Yala) เพี้ยนมาจากคำว่า จาลา (Jala)
เบตง (Betong) เพี้ยนมาจากคำว่า เบอตุง (Betung)
บังนังสตา (Bannang Sata) เพี้ยนมาจากคำว่า เบอนัง ซือตาร์ (Benang Setar)
รามัน (Raman) เพี้ยนมาจากคำว่า รือมัน (Reman)
กาบัง (Kabang) เพี้ยนมาจากคำว่า กาแบ (Kabae / Kabe)
กรงปินัง (Krong Pinang) เพี้ยนมาจากคำว่า กำปงปีนัง (Kampung Pinang)
นราธิวาส (Narathiwat) เพี้ยนมาจากคำว่า มนารา (Menara)
ตากใบ (Tak Bai) เพี้ยนมาจากคำว่า ตาบาล (Tabal)
รือเสาะ (Rueso) เพี้ยนมาจากคำว่า รูซา (Rusa)
สุไหงโกลก (Su-ngai Kolok) เพี้ยนมาจากคำว่า ซูไง โกลก (Sungai Golok)
สุไหงปาดี (Su-ngai Padi) เพี้ยนมาจากคำว่า ซูไง ปาดี (Sungai Padi)
ตันหยงมัส (Tanyongmat) เพี้ยนมาจากคำว่า ตันยงมัส (Tanjung Mas)
บูเก๊ะตา (Buketa) เพี้ยนมาจากคำว่า บูกิตตาร์ (Bukit Tar)
ปัตตานี (Pattani) เพี้ยนมาจากคำว่า ปันไตอีนี (Pantai Ini) หรือปาตานี (Patani)
สายบุรี (Sai Buri) เพี้ยนมาจากคำว่า สลินดงบายู/ตลูบัน (Selindung Bayu, Teluban)
ยะหริ่ง (Yaring) เพี้ยนมาจากคำว่า จาริง (Jaring)
กรือเซะ (Krue Sae) เพี้ยนมาจากคำว่า เกอร์ซิก (Gersik)
ปะนาเระ (Panare) เพี้ยนมาจากคำว่า ปือนาริก (Penarik)
ยะรัง (Yarang) เพี้ยนมาจากคำว่า จารัง / บินไจลีมา (Jarang/Binjai Lima)
สงขลา (Songkhla) เพี้ยนมาจากคำว่า สิงโกรา (Singgora)
จะนะ (Chana) เพี้ยนมาจากคำว่า เชอนก (Chenok)
นาทวี (Na Thawi) เพี้ยนมาจากคำว่า นาวี (Nawi)
เทพา (Thepha) เพี้ยนมาจากคำว่า ตีบา (Tiba)
สะบ้าย้อย (Saba Yoi) เพี้ยนมาจากคำว่า ซือบายู (Sebayu)
ระโนด (Ranot) เพี้ยนมาจากคำว่า รือนุต (Renut)
สะเดา (Sadao) เพี้ยนมาจากคำว่า เซินดาวา (Sendawa)
หาดสมิหลา (Samila Beach) เพี้ยนมาจากคำว่า ปันไตบิสมิลลาห์ (Pantai Bismillah)
สตูล (Satun) เพี้ยนมาจากคำว่า สโตล (Setul)
ควนโดน (Khuan Don) เพี้ยนมาจากคำว่า ดูซุน (Dusun)
พังงา (Phang Nga) เพี้ยนมาจากคำว่า ปูงะห์ (Pungah). (มีหลักฐานอื่นอ้างว่า เพี้ยนมาจากคำว่า กัวลาบูงา “Kuala Bunga”)
เกาะสิมิลัน (Ko Similan) เพี้ยนมาจากคำว่า ปูเลา เซิมบีลัน (Pulau Sembilan)
เกาะปันหยี (Ko Panyee) เพี้ยนมาจากคำว่า ปูเลา ปันจี (Pulau Panji)
เกาะพีพี (Ko Phi Phi) เพี้ยนมาจากคำว่า ปูเลา ปีอะปี (Pulau Pi Ah Pi) ตะกั่วป่า (Takua Pa) เพี้ยนมาจากคำว่า กูปา (Kupa)
พัทลุง (Phattalung) เพี้ยนมาจากคำว่า บือดาลง, เมอร์เดลง (Bedalong, Merdelong)
ตรัง (Trang) เพี้ยนมาจากคำว่า เตอรัง (Terang)
ระนอง (Ranong) เพี้ยนมาจากคำว่า รุนดุง (Rundung)
กระบี่ (Krabi) เพี้ยนมาจากคำว่า ไกรบี (Ghraibi)
ไชยา (Chaiya) เพี้ยนมาจากคำว่า จาฮายา (Cahaya)
นครศรีธรรมราช (Nakhon Si Thammarat) เพี้ยนมาจากคำว่า เนการ่า ศรีดารมา ราชา, บันดาร์ ศรีราชา ดารมา (Nagara Sri Dharmaraja, Bandar Sri Raja Dharma). ชื่อเก่าแก่คือ ตำบราลิงกา, ลิกอร์ (Tambralingga, Ligor)
ตะนาวศรี (Tenasserim) เพี้ยนมาจากคำว่า ตานะห์สรี (Tanah Seri) ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า
ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่สามารถคงอยู่ไว้ของรัฐต่างๆในคาบสมุทรมลายู
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อมโยง มลายูมาเลเซีย -มลายูปาตานี
“อับดุล ราห์มัน” (Tunku Abdul Rahman) นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ผู้ที่ได้ชื่อว่า บิดาแห่งอิสรภาพของมลายู ซึ่งมีเชื้อสายไทยเพราะมีมารดาเป็นชาวมลายูสยาม
และหากพูดถึงไทรบุรีตามที่หลายคนเข้าใจคือหัวเมืองประเทศราชของสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว และดินแดนนี้ก็ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย มีหลักฐานก่อกำเนิดมาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๘ ซึ่งมีการค้นพบโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ที่หุบเขาบูจัง (Bujang Valley) มีกษัตริย์ที่ชื่อ มะโรง มหาวงศ์ ผู้นับถือศาสนาพุทธ-ฮินดู ปกครองจนถึงยุคของสุลต่าน มุสซาฟา ชาห์ กษัตริย์องค์ที่ ๙ ก็เปลี่ยนศาสนามานับถืออิสลามแทน ในพ.ศ.๑๖๗๙ ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้ขอให้กองทัพอโยธยาลงมาช่วยปลดปล่อยไทรบุรีที่ถูกพวกอาเจะห์ยึดครอง เพื่อแลกกับการเป็นเมืองประเทศราช และนับแต่นั้นก็อยู่ภายใต้อำนาจของสยามเรื่อยมา
และต่อมาในยุคที่อังกฤษเริ่มเข้ามาล่ารัฐมาลายู เป็นอาณานิคม ในสมัยรัชกาลที่ ๒ สุลต่าน อาหมัด ทายุดดีน ฮาลิม ซาห์ ที่ ๒ (Ahmad Tajuddin Halim Shah II) ได้ยกเกาะปีนังให้กับอังกฤษโดยไม่ได้แจ้งแก่ทางการ ทำให้สยามไม่พอใจส่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชลงไปปราบปรามเพื่อนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพฯ จนสุลต่านต้องลี้ภัยไปอยู่ปีนัง ก่อนที่สยามจะยอมให้คืนสู่บัลลังก์ใน พ.ศ.๒๓๘๕ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ สุลต่านอับดุล ฮามิด ฮาลิม ซาห์ ได้จัดพระพิธีอภิเษกสมรสให้แก่พระโอรสและพระธิดารวม ๕ พระองค์ อย่างยิ่งใหญ่ จนเกิดวิกฤติทางการเงินเป็นหนี้เป็นสินต้องไปกู้ยืมสยาม เป็นเงินกว่า ๒.๖ ล้านริงกิต เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ โดยรัฐบาลสยามได้ส่งที่ปรึกษาทางการเงินไปควบคุมการบริหารการเงินของรัฐด้วย
จนกระทั่งเกิดสนธิสัญญาแองโกล-สยาม หรือสนธิสัญญากรุงเทพฯ เมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๒ ที่สยามได้ตัดสินใจยกเมืองไทรบุรี ซึ่งตอนนั้นเป็นจังหวัด พร้อมกับปะลิส ตรังกานู กลันตัน ให้อังกฤษ เพื่อแลกกับเงื่อนไขยกเลิกสัญญาลับ พ.ศ.๒๔๔๐ ที่ให้อังกฤษมีสิทธิ์เหนือดินแดนสยามตั้งแต่ ต.บางตะพาน ลงไปจนสุดแหลมมลายู ,ให้คนในบังคับของอังกฤษขึ้นศาลไทย และปล่อยเงินกู้ให้ไทยสร้างรถไฟสายใต้ตั้งแต่ จ.เพชรบุรี ไปจนจดชายแดนมลายู รวมถึงชดใช้หนี้ที่รัฐต่างๆ ติดสยามอยู่ด้วย
อ้างอิง :
- http://patani1.blogspot.com/2013/05/padamasa-dahulu-semenanjung-tanah.html?m=1
- http://patanibook.blogspot.com/2007/12/anglo-siamese-treaty-of-1909.html?m=1