logo_new.jpg

รสแห่งอิสรภาพ ของ แดนเบงกอล ที่นภาลับ
และเตรียมการบุกตามรอยลูกปัดและพระพุทธศาสนาแรกเริ่ม

ผมเพิ่งกลับจากงานฉลอง ๔๕ ปี อิสรภาพของบังคลาเทศที่ดุสิตธานีที่มีคนไปกันมากมาย เมื่อแรกถึงและเข้าแถวรอร่วมยินดีต่อท่านทูต แล้มผมถามท่านว่า "ฯพณฯ ยังพอจำกระผมได้ไหม?" 
"คุณหมอห้ามโจ๊ก คนเขียนหนังสือที่จะให้หอฯ ช่วยด้วยก็อยู่ในงานนี้นะ" ผมขอแปลคำทักทายกันทันทีเป็นไทย ๆ อย่างนี้ เพราะตอนปราศรัย ท่านก็พบาบามพูดไทยหลายตอนน่าประทับใจ แถมมีนักร้องดังจากบังคลาเทศมานำร้องเพลงสดุดีมหาราชาเสียด้วย

ที่ผมไปงานนี้เพราะท่านทูตบอกไว้และยังส่งหนังสือมาเชิญ เพื่อความร่วมมืออะไรในอนาคตหากเป็นไปได้ โดยท่านขอไว้ ๒ เรื่อง คือ หาช่องประชาสัมพันธ์บังคลาเทศในฐานะแดนพุทธ กับ แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือสวยว่าด้วยพุทธศาสนาในบังคลาเทศ ในขณะที่ผมเองก็คิดว่าควรจะต้องไปให้ได้ เพราะปากแม่น้ำสำคัญของอินเดีย ยมุนา คงคา พรหมบุตร อยู่ที่นี่ทั้งนั้น พระพุทธศาสนามาถึงเอเซียอาคเนย์แรก ๆ ก็น่าจะผ่านแถบนี้มาเช่นกัน แต่ไทยเรารู้เรื่องกันน้อยมาก ๆ ข้ามไปอินเดียหรือไม่ก็จอดอยู่ที่พม่ากันหมด

แต่งานนี้ที่ผมสัมผัสและติดตรึงใจ นอกจากความน่านิยมของท่านทูตแล้ว ตอนที่เขาแสดงชุดแรก ว่าด้วย "รสแห่งอิสรภาพ" โดยอ้างถึงระพินทรนาถ ฐากูร นั้น ชวนคิดถึงไทยเราที่มีอิสรภาพมาเกือบตลอด จึงไม่รู้ค่าเท่าเขาที่เพิ่งได้มา ๔๕ ปีนี้

ระบำแรกคือ "รสแห่งอิสรภาพ" ที่โลดแล่นมาก ๆ
จากนั้นเป็น "ระบำบูชา" ของฮินดู มีการยั่วทับกันสนุกสุดเหวี่ยง
แล้วก็ "บังคลากระทบไม้" ต่อด้วย "ระบำเก็บเกี่ยว"
จบด้วย "ระบำกลอง"

ตอนท้ายมีจับสลากแจกตั๋วเรือบินพิเศษจากนามบัตรที่เอาไปหยอด ผมไม่ได้เอาไป ก็เลยไม่มีลุ้นกับเขาครับ

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
    
 
 
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//