logo_new.jpg
จะเอาไงดีกับหัวเสานี้ที่ #ตึกยาวบวรนคร แค่ชื่อก็มึนแล้ว ?
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20221102_9)
ด้วยเหตุที่ตรงด้านหน้าของตึกยาวบวรนครนั้น
คนหนึ่งเรียกดอริก อีกคนเรียกไอโอนิค แล้วก็มีอีกเรียกโครินเทียน
หมอนี้ก็เลยงงว่าจะเรียกอะไรดีจึงจะถูกถ้วน ?
ไปกรีกหนนี้ ก็เลยไปหาเรื่องมาซะ
ลองอ่านในวิกิพีเดียดูนะครับ เขาบอกว่ามี ๕ แบบ
#เสาแบบคลาสสิก (อังกฤษ: Classical order) เป็นลักษณะเสาโบราณของสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก แต่ละแบบแยกจากกันได้โดยรูปทรง ลักษณะสัดส่วน และรายละเอียดของลักษณะของเสาที่ใช้ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา นักทฤษฎีสถาปัตยกรรมแบ่งแยกเสาแบบคลาสสิกออกเป็นห้ากลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะมีลักษณะของเสาที่แตกต่างกันที่ประกอบด้วยหน้ากระดานทับหลัง (architrave), แถบตกแต่ง (frieze) และบัวคอร์นิซ
การสร้างเสาแต่ละแบบก็ต่างกันออไปตั้งแต่เสาที่มีลักษณะอ้วนตันและปราศจากการตกแต่ง ไปจนเสาที่เพรียวและเต็มไปด้วยการตกแต่งอย่างงดงาม ที่แบ่งออกเป็น: เสาแบบทัสกัน (โรมัน), เสาแบบดอริก (กรีกและโรมัน), เสาแบบไอออนิก (กรีกและโรมัน), เสาแบบคอรินเทียน (กรีกและโรมัน) และเสาแบบคอมโพซิต (โรมัน)[1] ในสมัยโบราณจะมีเพียงสามแบบ คือ ดอริก ไอออนิก และคอรินเทียนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวกรีก ต่อมาชาวโรมันก็เพิ่มเสาทัสกันซึ่งเป็นแบบที่เรียบง่ายกว่าดอริก และแบบคอมโพซิตซึ่งมีการตกแต่งมากกว่าคอรินเทียน
คอลัมน์แบ่งออกเป็นสามส่วน: ลำตัวเสา (shaft) ฐานล่าง และ หัวเสา สิ่งก่อสร้างคลาสสิกจะมีองค์ประกอบตามแนวนอนที่รองรับด้วยเสาที่เป็นคานที่เรียกว่า เอนทาเบลเชอร์ (entablature) ซึ่งแบ่งออกเป็นสามส่วน: หน้ากระดานทับหลัง (architrave), แถบลายตกแต่ง (frieze) และบัวคอร์นิซ ความแตกต่างของเสาแบบคลาสสิกทราบได้จากลักษณะของหัวเสาที่ใช้ที่จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป
เสาทั้งต้นและคานประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ตั้งแต่ฐานใต้เสา (stylobate) ซึ่งเป็นแป้นแบนที่เป็นที่ตั้งของเสาบนฐานพลินท์ (plinth) ซึ่งอาจจะเป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลมก็ได้ เป็นส่วนล่างสุดของฐาน ส่วนที่เหลือก็อาจจะตกแต่งด้วยบัว เช่นบัวมน (torus) หรือบัวเว้า (scotia) ที่แยกจากกันด้วยสันร่องเว้า (fillet หรือ band)
บนฐานก็จะเป็นลำต้นเสา (shaft) ที่ตั้งตามแนวดิ่ง ที่จะมีลักษณะเป็นแท่งกลมทั้งยาวและเพรียว ลำเสาบางทีก็จะมีการบากตกแต่งเป็นร่องตามแนวดิ่ง (fluting) ลำเสาตอนล่างจะใหญ่กว่าตอนบน ความแคบลงจะเริ่มตั้งแต่ขึ้นไปได้ราวหนึ่งในสามของเสา ที่ทำให้เสาดูเพรียวขึ้นกว่าความเป็นจริง
หัวเสา (capital) จะตั้งอยู่บนลำต้นเสาที่มีหน้าที่รับน้ำหนักที่กระจายลงมาบนคานลงมายังลำเสา แต่โดยทั่วไปแล้วหัวเสาจะเป็นสิ่งตกแต่งเพื่อความงดงาม หัวเสาที่ง่ายที่สุดคือหัวเสาแบบดอริกที่แบ่งออกเป็นสามส่วน คอเสา (necking) คือส่วนที่ต่อจากลำต้นเสา แต่แยกด้วยบัวหงายหัวเสา (echinus) อยู่เหนือคอเสาที่เป็นแป้นกลมที่โป่งออกมาไปเพื่อไปรับกับแป้นหัวเสา (abacus) ที่อาจจะเป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลมก็ได้ที่รองรับคาน
ให้รายละเอียดไว้ ๓ แบบ
#เสาแบบดอริก (อังกฤษ: Doric order) เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมเสาแบบคลาสสิกหนึ่งในสามแบบของกรีกโบราณ ที่มีลักษณะโคนเสาใหญ่และเรียวขึ้นไปจนถึงยอด ตามลำเสาเป็นร่องเว้าตามแนวตั้งยี่สิบร่องรอบเสา ตอนบนเป็นหัวเสาเรียบที่บานออกไปจากคอลัมน์ไปบรรจบกับแผ่นสี่เหลี่ยมที่ขวางกับคานแนวนอนที่วางเหนือเสา
#เสาแบบไอออนิก (อังกฤษ: Ionic order; กรีก: Ιωνικός ρυθμός) เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรม หนึ่งในสามของเสาแบบคลาสสิก ซึ่งนำมาจากกรีกและโรมันโบราณ อีกสองแบบได้แก่ ดอริกและคอรินเทียน (นอกจากนี้ยังมีเสาอีกสองแบบที่สำคัญน้อยกว่า ได้แก่ ทัสกัน และอีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นการเพิ่มเติมและผสมผสานรายละเอียดของแบบคอรินเทียนกับแบบอื่น ๆ มากเข้าไปอีก เรียกว่า คอมโพซิต ซึ่งสร้างขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยสถาปนิกชาวอิตาลี)
เสาแบบไอออนิกมีลักษณะเสาเรียวสง่า แผ่นหินบนเสาเป็นรูปโค้งย้อยม้วนลงมาทั้งสองข้าง เหนือขึ้นไปเป็นรูปฐาน 3 ชั้น บริเวณเสา (shaft) ถูกรองรับด้วยฐานใต้เสา (stylobate) ซึ่งเป็นคนละชิ้นแยกจากกัน บริเวณยอดหรือหัวเสา (capital) มักจะตกแต่งด้วยลายประดับรูปไข่ (egg-and-dart)
#เสาแบบคอรินเทียน (อังกฤษ: Corinthian order; กรีก: Κορινθιακός ρυθμός, ) เป็นการพัฒนาขั้นสุดท้ายของเสาแบบคลาสสิกสามประเภทหลัก ของสถาปัตยกรรมกรีกและโรมันโบราณ ซึ่งอีกสองประเภท คือ เสาแบบดอริก ซึ่งถือกำเนิดแรกสุด ตามด้วยเสาแบบไอออนิก เมื่อสถาปัตยกรรมคลาสสิกถูกฟื้นขึ้นมาใหม่ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้มีการเพิ่มอีกสองประเภทของสถาปัตยกรรมเสา ได้แก่ เสาแบบทัสกัน และเสาแบบคอมโพซิต เสาคอรินเทียนก็เป็นหนึ่งในประเภทที่ถูกแยกออกมา โดยถือเป็นประเภทเสาที่มีความหรูหรามากที่สุด รูปแบบสถาปัตยกรรมนี้โดดเด่นด้วยร่องเสาที่เรียวยาวและหัวเสาบรรจงตกแต่งด้วยลายใบอะแคนทัสและปลายโค้งงอ โดยสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ
ชื่อคอรินเทียนมาจากเมืองกรีกโบราณ โครินธ์ ถึงแม้ว่าการออกแบบจะมีตัวอย่างจากเสาแบบโรมันตามการออกแบบเสาในวิหารแห่งเทพมาส์ ในฟอรั่มกัสตัส ยังมีการใช้รูปแบบเสาในทางตอนใต้ของกอลในวิหารโรมันโบราณ Maison Carrée ในเมืองนีมส์ และที่วิหารโพเดียมในเมืองเวียนของฝรั่งเศส ตัวอย่างสำคัญอื่น ๆ คือเสาด้านล่างของมหาวิหารยูเปีย และซุ้มประตูที่โคนา (ทั้งในรัชสมัยของจักรพรรดิไตรยานุส, 98-117 AD) และใน "เสาแห่งพอคัส" (สร้างใหม่ในปลายสมัยโบราณ มาจากดั้งเดิมศตวรรษที่ 2 ) และ เทวสถานบาคคัส (c. 150 AD)
ที่ไปมา อ่านหนังสือมีเล่มหนึ่งให้ไว้ ๓ แบบ #ดอริก #ไอออนิก และ #คอรินเทียน
อีกเล่มให้ไว้ ๔ แบบ คือ Aiolic หรือ #ไอโอลิก ที่บอกว่าเก่าถึงศตวรรษที่ ๗ - ๖ ก่อน คศ.
ซึ่งเท่าที่ดู ๆ ที่หัวเสาตึกยาวด้านหน้านั้นน่าจะปั้นอย่าง #ไอออนิก เป็นต้นแบบ
แต่พอไปถึงที่คอรินท์ เขามีตั้งวางไว้ให้ดูพร้อมภาพประกอบ เกิดมี ๖ แบบ
แถมชื่อเรียกก็แตกต่างกันไปอีก #แบบเปอร์กามีน กับ #แบบชิแมรา
ตกลงแค่เอาว่ามีกี่แบบก็งงแล้ว ยังไม่ทันได้ตอบว่าของที่ตึกยาวแบบไหนแน่
แต่ที่น่าสนุกเข้าไปอีก คือว่า แล้วจะทำออกมาแบบไหน
ก) ทุบออกซะ ยุ่งนัก
ข) เว้นไว้อย่างที่เขาเว้นไว้มา ๑๒๐ ปีนี้
ค) กระเทาะทำกรอบขอบเขตแสดงให้ดีกว่านี้
ง) ปั้นใหม่กลับมาอย่างที่น่าจะเป็น
จ) ปั้นใหม่แบบไหนสักแบบที่ชอบ ๆ
ฉ) ไม่ทำสักข้อ
ช) อื่น ๆ โปรดระบุ .............................
๒ พย.๖๕ ๒๒๓๐ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//