logo_new.jpg
นี้ ๆ ที่ชี้ชวนไขสำหรับตึกยาวบวรนคร
ThisForBovornNakornLongShophouseSolution
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20230221_2)
ถามว่าหลังบูรณะ #ตึกยาวบวรนคร เสร็จแล้ว จะเปิดเป็นอะไร ?
ใช้ร้านหนังสือและ #สวนสร้างสรรค์_นาคร_บวรรัตน์ อย่างเดิม ๆ ไหม ?
หรือเป็นอะไรบ้าง ที่ว่าเป็น #CCLS - #CommunityCreativeLearningSpace
วานนี้หลังถกกันมันส์จนเพลียละเหี่ยใจอย่างฟูฟ่อง
ผมยกข้อพิจารณาจากหนังสือ #Museum เล่มนี้
ที่นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์โลกเขาทบทวนเสนอ
และตีพิมพ์ออกมาเมื่อปี ๒๕๖๔ นี้เองครับ
ออกเป็น ๖ ยุค
๑) แรกเริ่มที่นิยมเก็บหาของแปลกกันมาไว้ดูและอวด ฯลฯ
๒) สู่สมัยการเรียนรู้ค้นคว้าอย่างจริงจัง
๓) ก้าวสู่การเปิดสู่สังคมสาธารณะ
๔) ยุคสมัยใหม่
๕) ก้าวสู่สากลและโลก
๖) ปัจจุบันและอนาคตของพิพิธภัณฑ์
เสร็จแล้วชวนคิดว่าที่เห็น ๆ อยู่ในเมืองไทยบ้านเราทุกวันนี้เป็นแนวไหนกันมั่ง
คำตอบคือ เหมือนจะยังอยู่ที่ ๑ กับ ๓ ไหม ?
ส่วนที่จะทำกันที่ #ตึกยาวบวรนคร นี้คิดว่าน่าจะควรประมาณไหน ?
ผมลองยก ๑๐ ข้อที่เขาฝากไว้ในหนังสือ MUSEUM นี้ มาช่วยกันขบคิดครับ
๑) พร้อมพอต่อการรับมือความท้าทายใหม่ ๆ ในการจัดการระบบฐานข้อมูลของโลกยุคใหม่
๒) พร้อมรับมือการต่อต้านจากขบวนการต้านลัทธิการล่าหาของ
๓) แปลไงดี The Repatriation Debate : กับการคืนของสู่ถิ่นกำเนิด ?
๔) พร้อมให้ในความสดเสมอสำหรับแง่มุมมอง
๕) เปิดพื้นที่ต่อความคิดเห็นที่แตกต่างและท้าทาย
๖) รับมือได้กับความเห็นต่างที่ทายท้าเข้ามาประดัง
๗) ประเมินใหม่ในบริบทร่วมสมัยถึงวัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์
๘) หัวใจอยู่ที่สิ่งแสดง
๙) การทลายกำแพงขวางกั้นการเข้าถึง
๑๐) การเลยโพ้นเพียงกายภาพ
งานนี้จึงน่าสนุกนัก !!!
หากอย่างอ่านเต็ม ไปซื้อได้ที่ คิโนฯ สยามพารากอน
หรือไม่ก็ที่ The Library At Nakorn ครับผม
๒๑ กุมภา ๖๖ ๐๗๓๗ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//