logo_new.jpg

บานประตูวิหารพระม้า ทำไมครั้งหนึ่ง คือ พระพรหมและพระนารายณ์ ปัจจุบันคือ ขันธกุมาร แล พระราม ครับ คำถามนี้เพิ่งส่งมาจากคุณเอ็ม ไกด์ บอกว่าครั้งหนึ่งเคยทำงาน ททท.ข้องใจต้องการความกระจ่างในเรื่องนี้ น่าจะมาจากเอกสารตามรอยธรรมที่เมืองนครที่เพิ่งเผยแพร่ออกไป ขอตอบว่ามีหลายความคิดและข้อสรุป ซึ่งเอกสารแต่ก่อนถึงตอนนี้ก็มีอธิบายหลายอย่าง ยิ่งของเครือข่ายเสด็จพ่อจตุคามรามเทพแล้วยิ่งวิจิตรตระการอย่างยิ่ง ๆ ขึ้น เท่าที่ผมจำความได้ เมื่อนิยมศึกษาค้นคว้านั้น เราแยกภาพปูนปั้นลอยตัวต่าง ๆ กับบานประตู รวมทั้งภาพปูนปั้นนูนสูงนูนต่ำต่าง ๆ ออกเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่ ๑) ภาพพระม้า ออกมหาภิเนษกรม ๒) ภาพยักษ์คู่ นาคคู่ ครุฑคู่ ๓) ภาพสิงห์สามคู่ แดง เหลือง ดำ ๔) ภาพพระพุทธบาท และ พระนารายณ์หรือพระทรงเมือง ๕) ภาพท้าวขัตตุคาม และ ท้าวรามเทพ ๖) ภาพจำหลักบนบานประตูทั้งสอง โดยลำดับที่ ๒, ๓ และ ๕ ว่ากันว่าเป็นภาพยนต์ที่ผูกมนต์ไว้พิทักษ์พระธาตุ โดยกลุ่ม ๒ นั้น มีชื่อพ้องกับจตุโลกบาล แต่มี ๖ องค์ และ เป็น ๓ สภาพชีวิตคู่ คือยักษ์ นาค และ ครุฑ จึงไม่เป็นข้อยุติ ในขณะที่องค์เทพที่ถือจักรกับตรีนั้น บ้างก็ว่าพระนารายณ์ บ้างก็ว่าพระทรงเมือง ที่ทำให้ผมเปลี่ยนการอธิบายเกิดเมื่อครั้งกระแสจตุคามรามเทพแล้วติดตามวิเคราะห์ค้นคว้า จนได้ข้อสรุปจากงานที่ผมเสนอแล้วคุณไมเคิล ไรท์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องลังกา สรุปสุดท้ายว่า รูปลอยตัว ๒ ท้าวขัตตุคาม กับ ท้าวรามเทพ (๕) กับบน ๒ บานประตู (๖) นั้น คือเทพพิทักษ์แห่งลังกาที่น่าจะติดมากับระบบคิดของลังกาที่เข้ามาสู่เมืองนคร พร้อมกับอีกหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะลัทธิลังกาวงศ์ สถูปโอคว่ำ มีช้างล้อม กระทั่งพระพุทธสิหิงค์ ไมเคิล ไรท์ ที่เคยอยู่ลังกานาน และนิยมไปลังกากะอินเดียเสมอ ๆ สรุปว่า บนบานประตูนั้น บานที่เคยว่าคือพระนารายณ์เพราะทรงตรีกับจักรนั้น หากดูที่มือขวาล่างที่ทรงศร ซึ่งมิใช่พระนารายณ์ แต่เป็นพระนารายณ์ในปางรามาวตาร ซึ่งก็คือพระราม ในขณะที่บนบานซ้ายมือที่เดิมนิยมว่าคือพระพรหมเพราะเหมือนมี ๔ หน้านั้น ไมเคิล ไรท์ วิเคราะห์ว่าน่าจะมิใช่ แต่หากดูเครื่องทรงและสิ่งที่ถือ คือขันธกุมารมากกว่า ใบหน้านั้นก็มิใช่ ๔ ของพระพรหม แต่เป็น ๕ หรือ ๖ ของขันธกุมาร (อันนี้ผมจำไม่ได้ชัดครับ) ส่วนสองเทพที่เป็นปูนปั้นลอยตัวและมีป้ายระบุว่า ขัตตุคาม กับ รามเทพ นั้น ถ้าจำไม่ผิด ไมเคิล ไรท์ นำเทพท้องถิ่นอีก ๒ องค์จากลังกามาเสนอว่า น่าจะคือ สุมนเทพ กับ ลักขณเทพ แต่การสร้างทำและตั้งป้ายอาจจะคลาดเคลื่อนสับสนตามกาลเวลาที่ล่วงมา สุมนเทพนั้นท่านพิทักษ์รอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ นอกนั้นขอเวลาค้นคว้าอีกครั้งนะครับ ทั้งนี้ เมื่อผมขบคิดวิเคราะห์และดูด้วยตาตัวเอง ก็เห็นเป็นอย่างเดียวกับไมเคิล ไรท์ จึงสรุปและขยายความตามที่ปรากฏและถูกถามนี้ ทั้งนี้กรมศิลปากรและทางวัด ตลอดจนคนอื่น ๆ น่าจะเห็นแตกต่างจากผม เพราะเอกสารต่าง ๆ ก็เป็นไปตามที่แต่ละคนสรุปครับ

 

 
รูปที่1
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//