เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 16 July 2024
- Hits: 185
อีกปีชัยของ ช่างศิลป์ถิ่นนคร
OneMoreYearOfNakornArtesanWork
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20240715_1)
อย่างไรบ้าง อย่างไรได้ และ จะอย่างไรกันต่อ
คือที่นัดมาคุยกันตลอดบ่ายวานนี้จนเย็นย่ำก่อนค่ำคืน
งานทั้งนั้นนี้เริ่มจากท่าน อ. Sirikorn Maneerin
ในฐานะ ผอ. #สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น แห่งธัชชา
บอกว่าหากทำเรื่อง ช่างศิลป์ไทย แล้วไม่มีนครนั้น ถือว่ายังไม่ครบเครื่อง
แถมหลายฝ่ายบอกไว้ว่าเมืองนครนั้นมากและยาก ผมก็เลยขอลองร่วมด้วย
ในปีแรกพอดีได้รู้จักกับ อ. มนกาจ สิงหพันธ์ แห่งราชภัฏนคร
ผ่านงาน Creative Nakhon ที่พ่อ Supachai Klaewtanong ชวนมาช่วยงาน
อ.บอกว่ากำลังศึกษาและจะทำนี้ให้กับทางจังหวัด ฟังน่าสนใจ
ก็เลยแนะท่าน อ. Sirikorn Maneerin ลองพิจารณาถึงความเป็นไปได้
ลงเอยเป็นโครงการ ช่างศิลป์ถิ่นนคร
ที่ทำได้แต่เฉพาะ การฟื้นคืนพระลากเมืองนคร ให้กลับมา
คือ พระลากแม่ยุพา ที่ วัดจันทาราม เมืองนครศรีธรรมราช
โดยขณะนี้ก็มีการเริ่มสร้างทำกันมากขึ้น
ส่วนการสำรวจสถานะงานช่างศิลป์ท้องถิ่นนคร นั้น
ในปีแรกขอยังไม่ทำเพราะไม่น่าทัน
รวมทั้งเกิดปัญหาอุปสรรคตอนปลายโครงการนานัปการ
ถึงขนาดการติดต่อกับ อ.ท่านยากมากจนต้องช่วยกันแก้ไขสถานการณ์สารพัด
จนบัดนี้ก็ยังติดต่อ อ.ท่านแทบไม่ได้
ต้องควักเนื้อเองดูแลช่างแทนไปหลายคน
เช่นกันกับการปิดสรุปโครงการ ฯลฯ
ครั้นมาปีที่ ๒ ซึ่งพวกเรานั้นก็ยังเสียดายโอกาสของเมืองนคร
รวมทั้งท่าน อ. Sirikorn Maneerin ยังกรุณาให้โอกาส
ส่องไปทางไหนก็เหมือนไม่เห็นหน พอดีพบว่า อ. Pairote Nualnoom และคณะ
แม้จะมิใช่นักช่างศิลป์ แต่ก็มีฉันทะ พร้อมวิธีวิทยา ฯ น่าจะพอช่วยได้
ซึ่ง อ.ก็ไปชวนคณาจารย์จากวลัยลักษณ์มาร่วมด้วยช่วยกัน
มุ่งสำรวจสถานะงานช่างศิลป์ถิ่นนครให้ได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำกันได้
กับฟื้นฟูงานอะไรสักงานที่หากไม่ทำอะไรกันก็อาจจะสูญสิ้นถิ่นนคร
โดยออกมาเป็นชุดโครงการชื่อว่า Touch Nakhon ธัชนคร
ที่ได้ทำครบสมบูรณ์ทั้งการสำรวจ การฟื้นฟู ที่เกิดการอบรมผู้คนและมีชิ้นงาน
กับยังกระเพื่อมเกิดสองสามปฏิบัติการที่เกินกว่าเป้าของโครงการหลายปรากฏการณ์
เมื่อทราบว่ารายงานเสร็จพร้อมส่งเป็นที่เรียบร้อย
สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น ธัชชา อว. ตรวจรับรองเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว
เมื่อวานนี้จึงนัดมาสมโภชสรุปเป็นบทเรียนรู้ร่วมกันตกผลึกไว้เพื่อสานทำกันต่อ
รายละเอียดยาวมาก ตั้งแต่เกรื่นถึงความเป็นมาและเท่าที่ได้ทำ
เฉพาะที่ผมสรุปเอาเองนั้นประมาณนี้ ...
๑) #การสำรวจนับพันกลุ่มทั่วทั้งนครทุกอำเภอ
ทั้งจากข้อมูลชั้นสอง และลงไปท่องถามทั่วทั้งนคร
ที่สรุปลงใน ๑๐ หมวดงานช่างศิลป์ที่สถาบันวางกรอบ
ใน ๗๐๐+ รายการ โครงการหยิบ ๔๐ ท่านเป็นชั้นครูช่างศิลป์ถิ่นนคร
วานนี้ที่พวกเราสรุปว่า มี ๔ หมวดกลุ่มสำคัญ
ที่ยังมีทำกันอยู่ มีอัตตลักษณ์พร้อมมีศักยภาพ
ในการเกาะติดเพื่อขบคิดทำอะไรกันต่อ
๑.๑ #งานผ้าสารพัด ทั้งผ้ายก มัดย้อม บาติก ฯลฯ
๑.๒ #งานจักสาน ทั้งลิเภา กระจูด คลุ้มค้า ใบพ้อ ยันหางอวน ฯลฯ
๑.๓ #งานโลหะศิลป์ ทั้งถม สลักดุน ดีบุก ฯลฯ
๑.๔ งานอื่น_ๆ อาทิ ตัวหนัง เรือพระ ปูนปั้น ฯลฯ
๒) #การฟื้นฟูและสร้างทำให้กลับคืนมากับเครื่องพุทธบูชา ที่ทำกัน
ที่ตามโครงการกำหนดให้มี ๑ การอบรม และ ๕ ชิ้นงานนั้น
ตามโครงการได้ อบรมการทำบุหงามาศ กับ ทำ ๕ เครื่องพุทธบูชา
จากฐานงานเดิมที่ Chedha Keawsakun กับ Samart Sarem เริ่มไว้ก่อน
ซึ่งเกิดอีกหลายปฏิบัติการเพิ่มกับหลายปรากฏการณ์ปรากฏ
ในสายตาของผมนั้นประมาณนี้
๒.๑ #การอบรมการทำบุหงามาศ ที่ท่าน อ. พัฒน์ นาคเสน เข้ามาร่วมด้วย
โดยบอกว่าจะมากกว่าแค่การฟื้นคืนการทำ บุหงามาศเมืองนคร ให้กลับมาทำกันแล้ว
ยังจะเอาไปออกแบบ ท่าระบำรำบูชา แล้วขยายในสถานศึกษานานา
กลายเป็นทั้ง การอบรมทำบุหงามาศ และ ฝึกหัดระบำรำบูชาด้วยบุหงามาศ นี้
ซึ่งนอกจากได้อบรม ได้บุหงามาศจำนวนมากกว่าเป้าของโครงการ แล้ว
ยังได้ หลักสูตรการอบรม
แล้วยังได้ ท่ารำ กับ การฝึกสอนรำ แล้วการรำ กันต่อ ๆ ไปไม่สิ้นสุด
ซึ่งถึงขณะนี้ มีคนขอให้จัดอบรมแล้วหลายกลุ่ม-ครั้ง
รอแต่เวลาและความพร้อมเพื่อขยายผลกันครับ ฯลฯ
๒.๒ #การฟื้นฟูเครื่องพุทธบูชาที่เมืองนคร
ที่แต่ก่อนทำกันมากจนเต็มแน่น ศรีธรรมราชพิพิธภัณฑ์ ในพระธาตุ
ในงานนี้ ได้ประเดิมด้วย ๓ สิ่งสำคัญสุดแสนจะอลังการ
๒.๒.๑ #ต้นกัลยาณมิตร ที่คณาจารย์และมวลมิตรที่วลัยลักษณ์เกิน ๑๐ ชีวิต
ร่วมกันเป็นเจ้าภาพกับ Touch Nakhon ธัชนคร
ที่ อ.หวาน Valuca Amaek ออกแบบ
ให้ ช่างดีบุกมือดีแห่งเมืองนคร คือช่างบ่าวกับ เอ็ม แดงงาม และพวก
สร้างทำออกมาอย่างเหลือประมาณงานสร้าง
๒.๒.๒ #ต้นโกโก้One more - วันมอร์ - Thai craft chocolates ถมนคร
ที่ Chedha Keawsakun ออกแบบ
ร่วมกับคุณนาย Jirayunat Ajariyakajorn
มี อ.ครู @นิคม นกอักษร เป็นหัวหน้าช่างสร้างทำอย่างอลังการ
ไว้คอยเมื่อประกอบเสร็จกันครับ
๒.๒.๓ #ลูกทุเรียนหมอนทองทองคำ
ที่ได้ช่างบังหลีม Nopparut Nukoon ที่ปากซอยท่านร่มหลังพระ
สร้างทำภายใต้เจ้าภาพสำคัญ นิติ จุลมนต์ และ ฉลองรัฐ รัตนสมบัติ
โดย ต้นกัลยาณมิตร นั้น บัดนี้มีการขยายผล คนขอทำเพิ่มหลายต้นแล้ว
ส่วน ทุเรียนทองคำ ก็กำลังมีการประสานการสร้างทำกันเพิ่มอยู่
ขณะที่ ต้นโกโก้ถมนคร สุดแสนอลังการนั้น เชื่อว่าจะมีตาม ๆ กันมาครับ
๒.๒.๔ ส่วน #ต้นกัลปพฤกษ์สองพันปีที่เมืองนคร นั้น
เมื่อแรกเริ่ม ผมได้ขอเป็นอีกเจ้าภาพประเดิมร่วมการนี้
โดยเลือกต้นแบบจากต้นกัลปพฤกษ์แรกสุดที่มีหลักฐานปรากฏในอินเดีย
พบที่ที่เมืองเวทิสาแห่งพระมารดาของพระมหินทะมหาเถระและพระนางสังฆมิตตามหาเถรี
มาปรับประยุกต์เป็นอีกต้นกัลปพฤกษ์ดีบุกแห่งเมืองนคร
แต่เนื่องจากช่างน่าทำไม่ทัน กับตามโครงการก็เข้าเป้าแล้ว
จึงชะลอการทำออกมาไว้ทำหลังปิดโครงการครับ
๓.๑ #การสร้างทำกระดิ่งพุทธบูชาถวายพระธาตุนคร
นี้เป็นอีกปฏิบัติการณ์ในระดับปรากฏการณ์เกินประมาณจากงานนี้
โดยในการประชุมร่วมครั้งหนึ่ง ท่านที่ปรึกษา พระครูเหมฯ โสพิทร์ แซ่ภู่
แห่งวัดพระธาตุนคร ได้ปรารภว่ากระดิ่งพุทธบูชาที่มีการสร้างทำถวาย
แขวนไว้รอบองค์พระที่บนลานประทักษิณพระบรมธาตุเจดีย์นครเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีก่อนนั้น
บัดนี้ร่วงหล่นรวมทั้งมีการถอดออกในคราวบูรณะหลายคราวจนหายหมดแล้วนั้น
อยากให้โครงการลองพิจารณาว่าจะเข้าข่ายงานของโครงการนี้ด้วยไหม ?
ที่ประชุมเห็นร่วมกันทันใดว่าเกี่ยวด้วยอย่างมาก ควรร่วมกันฟื้นฟูและสร้างทำ
มี Chedha Keawsakun กับพวก ออกทำการสำรวจศึกษาทั้งที่พระธาตุ
พร้อมกับออกแบบกระดิ่งตามอย่างนานาระฆังเก่าแก่สมัยอยุธยาที่มีอยู่ทั่วเมืองนคร
แล้วประสานกับช่าง เณรอ๊อด วัดจันทาราม ที่ลือชื่อในเรื่องนี้
และยังเป็นมือหลักในการฟื้นฟูพระลากเมืองนครเมื่อปีก่อน
จนสร้างทำออกมาเป็นกระดิ่งบูชาพระธาตุเมื่อวิสาขบูชาที่ผ่านมา
จำนวนทั้งสิ้น ๔๐๐ กว่ากระดิ่ง !!! ด้วยเงินสมทบอีกหลายแสน
แล้วยังเหลือเพื่อถวายโรงเรียนพระปริยัติธรรมมหาธาตุมูลนิธิอีกแสนกว่า
ผ่านผู้ร่วมศรัทธาเป็นเจ้าภาพร่วมกันกว่า ๒๐๐ ชีวิต-ครอบครัว-หมู่คณะ
ซึ่งถึงขณะนี้ ยังมีผู้ประสงค์ร่วมสร้างทำกันอีก
กับยังประสานขอให้ช่วยสร้างทำเพื่อนำไปถวาย - ใช้ ในที่อื่น ๆ อีก
ทั้งนี้ นา ๆ เครื่องพุทธบูชาและกระบวนงานที่กล่าวมาทั้งนั้นนี้
ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช และ ฝ่ายพระธาตุมรดกโลก
ได้ขอเชิญเข้าร่วมในการวิสาขบูชา
ที่พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ๒๕๖๗ อย่างเอิกเกริก
และอาจเกิดการขยับขยายเป็นอีกหลายปฏิบัติการและปรากฏการณ์
ทั้งที่พระธาตุนคร ในเมืองนคร ตลอดจนวงการงานพระพุทธศาสนาต่อไป
ในการประชุมเชิงสมโภชกันวานนี้นั้น มีการคุยกันต่อว่า
แล้วจะอย่างไรกันต่อไป ...
ก. สำหรับ สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น นั้น
ต้องถามท่าน อ. Sirikorn Maneerin ก่อนครับ
ข. สำหรับ ทีมนักวิจัยหลักจากวลัยลักษณ์
แม้พื้นฐานจะมิได้มีมากนัก แต่ฟังว่ายังสนใจ
และเหมือนว่าจะลองเอาไปขยับขับเชิงวิชาการตามฐานงานวิชาการของท่านกัน
ค. สำหรับ ช่างศิลป์ถิ่นนคร นั้น นอกจาก อ.นิคม พี่ เณรอ๊อด วัดจันทาราม
บังหลีม Nopparut Nukoon ช่างบ่าว นาย เอ็ม แดงงาม ที่บอกว่าเอาอีก ๆ
ผมเชื่อว่านานาช่างศิลป์เมืองนครก็น่าจะพร้อมเอาด้วย
รวมทั้ง ท่าน สุธรรมรัตน์ สุจิณฺโณ กับพระ กาย วิถีเด็กวัด ที่ก็เป็นช่างด้วย
ง. ส่วนพวกเราที่ บวรนคร นั้น ก็วางแนวทางบางอย่างไว้เพื่อการนี้บ้างแล้วครับ
เอาไว้ตกผลึกกันแล้วค่อยมาเล่าและกินกันอีกสักตั้งสองตั้งไหมครับผม ?
ใครสนใจร่วมวงนี้ บอกที่ ปิติ ระวังวงศ์ คนเดิมคนเดียวนี้แหละครับ
ส่วนว่ามีอะไรขาดเหลือ
รบกวนครู Pairote Nualnoom กับคณะ พร้อมองค์ประชุม
ตรวจทานปรับแก้ให้ด้วยครับผม
๑๕ กรกฎา ๖๗ ๑๐๐๐ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1582888059272977&set=pcb.1582921449269638