เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 16 May 2025
- Hits: 17
นัดชาวศรีธรรมาโศกราชไปเจอกันกับชาวเพชรท้าวอู่ทอง
ที่ตรงนั้นสักครั้งไหมครับ แสนประเสริฐ ปานเนียม Thanid Pannaraya มิวเซี่่ยม เพชรบุรี
ShallWeMeetAgainAtHinTan
(20250514_2 เพื่อแผ่นดินเกิด)
เมื่อหลายปีก่อน ตอนพลอยรถท่านอาจารย์ศรีศักร ลงนครกัน อรรถพล ยังสว่าง Pairot Singbun
ผมถามท่าน อ.ศรีศักร ถึงหินแท่นกับป่าแหวก
ที่ท้าวอู่ทองกับพญาศรีธรรมโศกปันแดนกัน
อ.บอกว่าเคยมากับพ่อและลุงเยี่ยมยง บอกว่าอยู่ไม่ไกลจากทางหลวงสายใต้
พวกเราก็เลยขอแวะ แล้วก็เข้าไปจนถึง
อ.บอกว่า ในนั้นมีหินแท่นก้อนเบ้อเริ่ม บนหินมีศาลไว้บูชาของคนแถวนั้น
ตอนเข้าไปก็มองหาไม่เห็น จนถึงอุทยานห้วยยาง จอดรถถามเจ้าหน้าที่ในนั้น
" ... ตรงนั้นไหมครับ เห็นมีหินก้อนใหญ่ คนชอบขึ้นไปไหว้กันครับ ... "
พอรถเข้าไปใกล้ ๆ " ... ใช่แล้ว ๆ ผมจำได้ ลองไต่ขึ้นไปดู บนนั้นเคยมีศาลเจ้าที่ ... "
พี่น้องเพชรลงมานครเมื่อวิสาขบูชานี้ อ.แสนประเสริฐถามผมอีกครั้ง
แล้วกลับไปค้นออกมาตามนี้
เห็นว่าจะลงกันมาสักคราว พวกเราชาวนครไปรับทัพเมืองเพชรกันไหมครับ ?
๑๔ พฤษภา ๖๘ ๐๗๓๕ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
แม่มด ลมหายใจ นางฟ้า ครับ กรณีอย่างนี้
ช่วยเอาข้อความที่ผมแชร์ มาใส่ประกอบในจดหมายเหตุไว้ด้วยนะครับผม
https://www.facebook.com/photo?fbid=9879922655399855&set=pcb.9879923485399772
fb แสนประเสริฐ ปานเนียม
หินแท่น-ป่าแหวก ชายแดนของพระเจ้าอู่ทองและพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
ลงไปนครศรีธรรมราชคราวนี้ คุณหมอบัญชาBunchar Pongpanichนัดให้ไปพบกันเป็นจุดแรกที่ร้านขนมจีนสะพานยาว ระหว่างนั่งกินขนมจีนกัน ผมถามคุณหมอว่าเคยเห็นคุณหมอโพสต์เรื่องพระเจ้าอู่ทองและพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแบ่งแดนกัน และคุณหมอได้ไปดูจุดนั้นมาแล้ว อยากทราบว่าอยู่ตรงไหน
คุณหมอนึกอยู่พักนึง แล้วบอกว่าได้ไปดูพร้อมกับท่านอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม อาจารย์พาเข้าไปดูโดยบอกว่าท่านเคยมากับพ่อนานมาแล้ว คุณหมอบอกว่าพิกัดอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีแท่นหินอยู่แล้วต้นไม้ก็แหวกออกไป 2 ข้างเหมือนอย่างในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะภูมิประเทศแถวนั้นที่ทำให้ต้นไม้มีลักษณะเช่นนั้น จึงถูกนำมาประกอบอยู่ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช
ก่อนจะลงไปนครศรีธรรมราช ผมกำลังทำงานเขียนไกด์บุ๊คส์ให้กับอาจารย์ปุ๊ก เพื่อนอาจารย์กอล์ฟเกรียงไกร ที่จะนำทีมอาจารย์จากญี่ปุ่นลงมาสำรวจประจวบคีรีขันธ์ ผมจึงต้องรีวิวแผนที่เมืองประจวบทั้งเก่าและใหม่ แล้วก็พบว่าในสมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี มีแผนที่ระบุพิกัดบ้านเมืองรายทางตามคาบสมุทรตั้งแต่เชียงใหม่ อยุธยาลงไปจนถึงทางใต้ ส่วนใหญ่ระบุพิกัดเมืองสำคัญ เช่น ราชบุรี เพชรบุรี ปราณ กุย ชุมพร ไชยา นคร
แต่มีพิกัดหนึ่งอยู่ระหว่างกุยกับชุมพร ระบุพิกัดว่า หินแท่น อยู่ห่างจากเมืองคุยด้วยการเดินเท้า 3 วันห่างจากเมืองชุมพรด้วยการเดินเท้า 5 วัน พิกัดนี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะไม่ใช่ชื่อเมือง แต่คงมีความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงได้ระบุเอาไว้ในแผนที่
ผมพยายาม search หาใน google ถึงชื่อบ้านนามเมืองในเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่อยู่ระหว่างเมืองกุยกับเมืองชุมพร ว่ามีที่ใดมีชื่อบ้านหินแท่นบ้าง ก็ไม่ปรากฏมีชื่อนี้ แต่มีชื่อบ้าน หินเทิน อยู่ 2 แห่ง คือตรงด่านสิงขรแห่งหนึ่ง และแถวตำบลแสงอรุณทับสะแกอีกแห่งหนึ่ง จึงได้วิเคราะห์ตามนี้ใส่ลงไปในงานไกด์บุ๊ค
อีก 4-5 วันต่อมาก็ลงไปนครศรีธรรมราช ได้คุยกับคุณหมอบัญชา แล้วคุณหมอก็พูดถึงบริเวณที่พระเจ้าอู่ทองกับพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราชแบ่งแดนกันซึ่งท่านได้ตามอาจารย์ศรีศักดิ์ไปดูมาแล้ว และชาวบ้านเรียกกันว่าป่าแหวก อยู่แถวห้วยยางทับสะแก ผมก็รู้สึกเอะใจว่า บางทีพิกัดหินแท่นในแผนที่สมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี อาจจะเป็นพิกัดตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชที่ท้าวพญาราชาทั้งสองใช้แบ่งแดนกันก็เป็นได้
จึงได้กลับมาหาตำนานเมืองนครศรีธรรมราชอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ก็พบข้อความดังนี้
"ท้าวอู่ทองยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ว่า แต่เทียมแท่นศิลาไปฝ่ายทักษิณเป็นแดนพระเจ้าศรีธรรมโศกราช แต่เทียมแท่นศิลาไปฝ่ายอุดรเป็นแดนท้าวอู่ทอง แลเดชโพธิสมภารของท้าวอู่ทอง พญาศรีธรรมโศกราช ไม้ทั้งปวงก็แหวกออกครานั้นแล"
ถ้าถอดความเอาจากตำนาน ก็จะเห็นว่าท้าวพญาราชาทั้งสอง ถือกำหนดเอาแท่นศิลาเป็นหลักเขตแดนของทั้งสองฝ่าย
"แท่นศิลา" แปลตรงตัวก็คือ "แท่นหิน" เมื่อกลับคำ ก็คือ "หินแท่น" ตรงตามพิกัดแผนที่ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี
เป็นไปได้ไหมว่า กลุ่มคนที่ทำแผนที่ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี จะรู้ตำนานเรื่องพระเจ้าอู่ทองและพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแบ่งแดนกันที่หินแท่น เขาจึงได้ใส่พิกัดหินแท่นลงไปในแผนที่เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญตามตำนาน แม้จะไม่ใช่พิกัดซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองเหมือนอย่างจุดอื่นๆ ในแผนที่ฉบับเดียวกัน
พิกัดหินแท่นซึ่งใช้แบ่งแดนอโยธยากับนครศรีธรรมราช ซึ่งน่าจะอยู่ในเขตพื้นที่ทับสะแกในปัจจุบัน ก็ตรงกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีการแบ่งแยกให้เห็นได้อย่างชัดเจนในพื้นที่ตรงนั้น เหมือนอย่างกับในตำนานที่บอกว่าต้นไม้ทางใต้ของแท่นศิลาก็เอนยอดไปทางนครศรีธรรมราช ส่วนต้นไม้ทางเหนือของแท่นศิลาก็เอนยอดไปทางอโยธยาของพระเจ้าอู่ทอง
ก็เพราะว่าชาวประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด กุยบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมอย่างคนภาคกลาง พูดเหน่ออย่างพวกทางเพชรบุรี ที่เรียกกันว่าพูดทางใน ถ้าจะหามหรสพฟ้อนรำเล่นเรื่องไปแก้บนก็จะหาละครชาตรี
ส่วนชาวประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ทับสะแก ลงไปบางสะพาน จนถึงบางสะพานน้อย มีวัฒนธรรมอย่างคนปักษ์ใต้ พูดสำเนียงใต้เหมือนอย่างพวกท่าแซะชุมพรเขาพูดกัน พวกคนทางในเรียกสำเนียงนั้นว่า พูดนอก พูดนอกเขาไม่ดูละครชาตรี เขาดูโนรา หาโนราไปแก้บนพ่อหลวง ตาหลวง ต่างๆ
ทางด้านภูมิศาสตร์ 5 อำเภอข้างบน ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ที่ราบสูง เป็นเขตแล้งทำไร่กันเป็นหลัก เช่น ไร่สับปะรด ส่วน 3 อำเภอข้างล่างตั้งแต่ทับสะแกลงไป เป็นที่นานที่เขา อากาศชุ่มชื้นกว่าทางบน หนังที่คนเก่าๆท่านกล่าวว่า ประจวบเหนือทำไร่ ประจวบใต้ทำสวน
ผมจึงเห็นว่าหินแท่นตามพิกัดในแผนที่ น่าจะเป็นจุดเดียวกันกับที่ไหนตำนานกล่าวว่าเป็นแท่นศิลาแบ่งเขตของพระราชาทั้งสอง ซึ่งถ้ามองอย่างกว้าง ๆ.น่าจะอยู่ในบริเวณตั้งแต่ทับสะแกลงไปจนถึงบางสะพาน
Thanid Pannarayaมิวเซี่่ยม เพชรบุรีอุดมเดช เกตุแก้วอ.โอ๊ตพี่ทวีโรจน์ พี่โป้ง ครับ ผมคิดว่าพวกเราควรจะตามหาหินแท่นกันครับ