logo_new.jpg


(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170510_2)

ระหว่างนี้ที่จีนกำลังปลุกกระแสเส้นทางสายไหมกันใหญ่ โดยจะมีการประชุมใหญ่ที่ปักกิ่งในอาทิตย์หน้านี้นั้น ผมเองก็ถูกขอให้ไล่เลียงไปพร้อมกับการตามรอยสุวรรณภูมิด้วย ก็เลยไปหยิบหนังสือเก่าที่จีนทำไว้เมื่อเกือบ ๓๐ ปีก่อน (๑๙๘๙-๒๕๓๒) มาไล่เลียงดู

ขอทำสังเขปเล่น ๆ อย่างนี้ก่อนว่าเส้นทางสายไหมทะเลนั้นเกิดไล่ ๆ ต่อเนื่องจากเส้นทางสายไหมบกทั้งด้านในทะเลทรายและเส้นทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เลาะเขาลงมาจากซีอาน-เสฉวน-ต้าลี่ แล้วแยกเป็น ๓ ทาง คือ คุนหมิง-ไฮฟอง ไปออกทะเลที่อ่าวตังเกี๋ย ลงมา Yongchang-เชียงตุง แล้วไปออกอ่าวเมาะตะมะ กับที่เลาะหิมาลัยไปออกปัตนะ-กัลกัตตา-มถุรา-อุชเชนี ในอินเดียโน่น

โดยการเริ่มเส้นทางทะเลนั้นเขาว่าอยู่ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้และสมัยราชวงศ์ฮั่น เมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปีก่อน จากกว่างโจว-Hepu ผ่านอ่าวตังเกี๋ยลงทะเลจีนใต้-อ่าวไทย-ช่องแคบมะละกา ผ่านพม่า บังคลาเทศ อินเดีย ลังกา ไปเข้าอ่าวเปอร์เชีย ก่อนที่จะได้รับความนิยมมากในสมัยราชวงศ์ถังที่เส้นทางเริ่มตะวันออกไกลออกไปถึงญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ แวะเข้าถึงก้นอ่าวไทย เลยลงไปถึงจาการ์ตา ในขณะที่ทางปลายตะวันตกก็อ้อมคาบสมุทรอาระเบียเข้าทะเลแดงไปทะลุทะเลเมดิเตอเรเนียน พร้อมกับยังเลาะฝั่งอาฟริกาลงไปถึงมอมบาซาในคีเนียหรือเคนย่าด้วย

ยุคที่เส้นทางสายไหมรุ่งเรืองสุด เขาให้เป็นยุคราชวงศ์ซ้องและหยวน ส่วนราชวงศ์หมิงนั้นมีการสะดุดลง ในเอเชียอาคเนย์มีเมืองท่าเกิดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ไหหนาน-จามปา-ConDao-สิงคโปร์-สุราบายา-จาการ์ตา-ปาเล็มบัง-มะละกา-อาเจะห์ เช่นเดียวกับในอินเดีย มี จิตะกอง-โอริสสา-Quilon-Cochin-Calicut โดยในอาระเบียและอาฟริกาก็ยังตามเดิม มีปลายสุดอยู่ที่อิสตันบูล

หากจะตามรอยเส้นทางสายไหมทะเลจริง ๆ จึงอาจจะจัดเป็น ๔-๕ อาณาบริเวณสำคัญ ได้แก่
(๑) ในจีนที่แถบมณฑลกวางโจว-กวางสี ในทุกวันนี้
(๒) ในเอเชียอาคเนย์ก็แทบทุกประเทศที่ติดทะเลและมีร่องรอย รวมทั้ง
(๓) ในบังคลาเทศ-อินเดีย-ศรีลังกา-ปากีสถาน จากนั้นก็น่าจะเป็น
(๔) ย่านอ่าวเปอร์เซียและคาบสมุทรอาระเบียจนถึงตุรกี หากมีเรี่ยวแรงก็อาจจะไป
(๕) เลาะชายฝั่งตะวันออกอาฟริกา

ทั้งนี้ ที่ผมหมายตาเพราะยังไปมาไม่มากพอและข้อมูลยังมีน้อย ก็บริเวณ (๑) กับ (๔) โดยบริเวณ (๒) กับ (๓) บางส่วนก็ควร หากไหว รวมทั้ง (๕) ด้วย ทั้งนี้ในบริเวณ (๔) และ (๓) บางส่วนก็น่าจะยังไปไม่สะดวก โดยเฉพาะ อิรัก กับ ปากีสถาน จึงอาจจะทำการสำรวจผ่านจอและหน้ากระดาษตามที่เลือกมานี้พลาง ๆ ก่อนก็แล้วกันครับ

ส่วนเล่มอื่น ๆ ที่เก็บ ๆ ไว้ก็เห็นจะได้ขุดออกมาใช้คราวนี้แล้วครับ

ที่สำคัญร่วมกันเนื่องในวันวิสาขบูชาก็๕ือ เส้นทางนี้ เป็นเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญด้วยนะครับ.

๑๐ พค.๖๐

หนังสือเก่าที่จีนทำไว้เมื่อเกือบ ๓๐ ปีก่อน (๑๙๘๙-๒๕๓๒)

 

 

 

เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เลาะเขาลงมาจากซีอาน-เสฉวน-ต้าลี่ แล้วแยกเป็น ๓ ทาง คือ คุนหมิง-ไฮฟอง ไปออกทะเลที่อ่าวตังเกี๋ย ลงมา Yongchang-เชียงตุง แล้วไปออกอ่าวเมาะตะมะ กับที่เลาะหิมาลัยไปออกปัตนะ-กัลกัตตา-มถุรา-อุชเชนี ในอินเดียโน่น

 

การเริ่มเส้นทางทะเลนั้นเขาว่าอยู่ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้และสมัยราชวงศ์ฮั่น เมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปีก่อน จากกว่างโจว-Hepu ผ่านอ่าวตังเกี๋ยลงทะเลจีนใต้-อ่าวไทย-ช่องแคบมะละกา ผ่านพม่า บังคลาเทศ อินเดีย ลังกา ไปเข้าอ่าวเปอร์เชีย

 

ท่านฟาเหียน

 

ก่อนที่จะได้รับความนิยมมากในสมัยราชวงศ์ถังที่เส้นทางเริ่มตะวันออกไกลออกไปถึงญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ แวะเข้าถึงก้นอ่าวไทย เลยลงไปถึงจาการ์ตา ในขณะที่ทางปลายตะวันตกก็อ้อมคาบสมุทรอาระเบียเข้าทะเลแดงไปทะลุทะเลเมดิเตอเรเนียน พร้อมกับยังเลาะฝั่งอาฟริกาลงไปถึงมอมบาซาในคีเนียหรือเคนย่าด้วย

 

หวังต้าหยวน

 

เมืองในบันทึกของหวังต้าหยว

 

ยุคที่เส้นทางสายไหมรุ่งเรืองสุด เขาให้เป็นยุคราชวงศ์ซ้องและหยวน ส่วนราชวงศ์หมิงนั้นมีการสะดุดลง ในเอเชียอาคเนย์มีเมืองท่าเกิดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ไหหนาน-จามปา-ConDao-สิงคโปร์-สุราบายา-จาการ์ตา-ปาเล็มบัง-มะละกา-อาเจะห์ เช่นเดียวกับในอินเดีย มี จิตะกอง-โอริสสา-Quilon-Cochin-Calicut โดยในอาระเบียและอาฟริกาก็ยังตามเดิม มีปลายสุดอยู่ที่อิสตันบูล

 

ยุคที่เส้นทางสายไหมรุ่งเรืองสุด เขาให้เป็นยุคราชวงศ์ซ้องและหยวน ส่วนราชวงศ์หมิงนั้นมีการสะดุดลง ในเอเชียอาคเนย์มีเมืองท่าเกิดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ไหหนาน-จามปา-ConDao-สิงคโปร์-สุราบายา-จาการ์ตา-ปาเล็มบัง-มะละกา-อาเจะห์ เช่นเดียวกับในอินเดีย มี จิตะกอง-โอริสสา-Quilon-Cochin-Calicut โดยในอาระเบียและอาฟริกาก็ยังตามเดิม มีปลายสุดอยู่ที่อิสตันบูล

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//