logo_new.jpg

เวทีนี้...อยู่ที่พี่เลี้ยง
The Coach Mission
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170512_6)

เท่าที่ตัวเองเรียนรู้เรื่องการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่เคยทำเองมากับมือตั้งแต่ที่คีรีวงเมื่อ ๓๐ ปีก่อน จนมาร่วมเรียนรู้กับพี่น้อง NGO ภาคใต้ แล้วถูกยุให้ทำดับบ้านดับเมืองทั่วทั้งภาคใต้กับภาคี NGO และ ประชาสังคม เพื่อนร่วมพัฒนาภาคใต้ โดยยืนยันว่า "ต้องมีผู้ช่วยชุมชน" ในขณะที่ทาง พอช.ลองทำแบบให้ชุมชนพัฒนากันเองโดยไม่ต้องมีผู้ช่วย จากนั้นก็ไปขับ "SAVE ANDAMAN" กับ NGO ใต้หลังสึนามิอยู่อีกพักใหญ่ โดยผมยังเชื่อใหญ่ว่า "หากชุมชนที่ยังไม่ไหว ก็ควรมีผู้ช่วย" แต่ก็ไม่ง่ายที่จะหาผู้ช่วยที่เหมาะเจาะ

ในวง "ชุมชนน่าอยู่" ที่ภาคใต้รอบนี้ ที่มีชุมชนเสนอ คก.มา ๑๔๐ มบ. มีพี่เลี้ยง ๗๐ คน โดยผมเองนั้นได้รับมอบหมายให้พิจารณา ๑๐ คก.ใน พัทลุงและชุมพร ที่มี ๓ พี่เลี้ยง ผมเรียนรู้ว่า

๑) คนใต้ยังสนใจมากในเรื่องเงินอย่างที่เคยทำ ๆ มาตั้งแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินครัวเรือนที่บางแห่งมีมากกันเป็นสิบยี่สิบล้านแล้วเลย

๒) ประเด็นสภาผู้นำชุมชนกับการขับเคลื่อนแผนชุมชนน่าอยู่ตามกรอบของชุมโครงการนี้ ดูเหมือนว่าจะยังไม่ "อิน" กันเท่าที่ควรและน่าข้องใจสำหรับผม เพราะเท่าที่รู้ เห็นมีการขับเคลื่อนกันมานานในหลายวงมากแล้วในภาคใต้ แต่ทำไมจึงยังแปลกแปร่งอย่างนี้ ?

๓) พวกเราไม่ได้พบกับผู้นำชุมชน เพียงได้อ่านแต่เอกสาร แล้วก็คุยกับพี่เลี้ยง พบว่าพี่เลี้ยงน่าจะมี ๓ - ๔ แบบ จากที่รู้แล้วและคล่องเลยจนถึงยังไม่รู้อะไรเลยและน่าเป็นห่วงแทน

สุดท้ายคำตอบก็ต้องอยู่ที่ชุมชนหมู่บ้าน กับพี่เลี้ยงและ PM ของโครงการ ที่ปวารณารับช่วง โดยมี สสส.กับ Task Force ที่คงจะพบหนทางเพื่อขับเคลื่อนต่อ

เวทีนี้ ผมก็ทำได้เท่านี้ เพราะ...อยู่ที่พี่เลี้ยง.

๑๒ พค.๖๐

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//