logo_new.jpg

หลักฐานก่อนยุคทวารวดีที่พบใหม่
New Finding Pre Dvaravati Artefacts
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170818_1)

http://www.definingdvaravati.com/

นี้ที่คัดสรรเพื่อประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่องประวัติศาสตร์ไทยก่อนทวารวดี 
ในงานวันที่ ๓๐-๓๑ สค.นี้ครับ

แทบทั้งนั้น ได้มาหลังจากผมเลิกตามติด
แต่เมื่อทราบข่าวว่ามีการพบสิ่งเหล่านี้
และเห็นว่าอาจจะเป็นสิ่งสำคัญ
จึงจำต้องรับมารักษาไว้
หากสนใจใคร่เห็นก็ขอเชิญนะครับ

ในโอกาสแห่งการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "นิยามแห่งทวารวดี" ครั้งนี้
ซึ่งจะเป็นการประมวล ทบทวนถึงองค์ความรู้เพิ่มเติมว่าด้วยทวารวดี 
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในต้นทางแห่งอารยธรรมไทยในทุกวันนี้
ไม่ว่าจะว่าด้วยการเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด อาณาบริเวณและศาสนา 
ตลอดจนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ
เพื่อความชัดเจนยิ่ง ๆ ขึ้น จากนักวิชาการไทยและนานาชาติที่จะเดินทางมาร่วม
โดยจะมีการเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่มีโบราณวัตถุสมัยทวารวดีที่สำคัญ ๓ แห่ง
คือ พระนคร อู่ทอง และ พระปฐมเจดีย์
ประกอบกับมูลนิธิหอจดหมายเหตุพทธทาส อินทปัญโญ ร่วมกัน สุธีรัตนามูลนิธิ
ได้รวบรวมรักษาหลักฐานก่อนยุคทวารวดีที่พบใหม่จำนวนหนึ่ง ที่อาจจะเพิ่มภาพการเกิด "ทวารวดี" ได้บ้าง
จึงได้คัดสรรบางหลักฐานมาจัดแสดงประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ อาทิ
• ขันสำริดมีลวดลายอย่างอินเดียโบราณ มีดีบุกสูง พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร ภูเขาทอง-ระนอง เกาะคอเขา-พังงา และ ฝั่งขวาของคลองกระ
• ตราทองคำมีอักขระพราหมีและตราภัทรบิฐของมหานาวิก พบที่บางกล้วยนอก-ระนอง 
• วงศิลาและแผ่นศิลา แกะลวดลายวิจิตรศิลปะอินเดียโบราณสมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร และฝั่งขวาของคลองกระ
• แผ่นศิลาและดินเผา รูปสตรี ศิลปะอินเดียโบราณสมัยราชวงศ์ศุงคะ พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ
• เบ้าศิลาสำหรับหลอมทำจี้เครื่องประดับรูปสัญลักษณ์มงคล เช่น ตรีรัตนะ พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร และฝั่งขวาของคลองกระ
• แผ่นศิลาจำหลักรูปสตรีมีช้างชูงวงรดน้ำเหนือศรีษะ ศิลปะอินเดียโบราณ อาจหมายถึงมายาเทวี พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ
• แหวนทองคำมีภาพจำหลักบุรุษสตรีทรงศักดิ์อย่างอินเดียบนหัวแหวน พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ
• จี้ทองคำทำจากเหรียญทองโรมัน จักรพรรดิโดมีเทียน พบที่บางกล้วยนอก-ระนอง 
• ลูกปัดหน้าคนรูปสตรีผมยาว “โมนาลิซ่า” อย่างโรมัน พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร และฝั่งขวาของคลองกระ
• ลูกปัดแก้วสอดทองรูปเทพฮารโปเครติส ศิลปะกรีก-อียิปต์ พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ

 


• แม่พิมพ์ศิลา รูปพระพุทธรูป รอยพระบาท และ ดอกบัวบาน พบที่ท่าชนะและเขาศรีวิชัย-สุราษฎร์ธานี
• สร้อยลูกปัดและรูปสัญลักษณ์มงคลต่าง ๆ อย่างอินเดียโบราณ พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร

ฯลฯ

๑๘ สค.๖๐

แม่พิมพ์ศิลา รูปพระพุทธรูป รอยพระบาท และ ดอกบัวบาน พบที่ท่าชนะและเขาศรีวิชัย-สุราษฎร์ธานี

 

ประติมากรรมสำริดรูปสตรี พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ

 

แหวนทองคำมีภาพจำหลักบุรุษสตรีทรงศักดิ์อย่างอินเดียบนหัวแหวน พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ

 

วงศิลาและแผ่นศิลา แกะลวดลายวิจิตรศิลปะอินเดียโบราณสมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร และฝั่งขวาของคลองกระ

 

ขันสำริดมีลวดลายอย่างอินเดียโบราณ มีดีบุกสูง พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร ภูเขาทอง-ระนอง เกาะคอเขา-พังงา และ ฝั่งขวาของคลองกระ

 

ชิ้นส่วนสำริดมีรูปสิงโต พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ

 

เบ้าศิลาสำหรับหลอมทำจี้เครื่องประดับรูปสัญลักษณ์มงคล เช่น ตรีรัตนะ พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร และฝั่งขวาของคลองกระ

 

เบ้าศิลาสำหรับหลอม รูปรอยพระบาทและดอกบัวบานบนแท่น พบที่ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี

 

สร้อยลูกปัดและรูปสัญลักษณ์มงคลต่าง ๆ อย่างอินเดียโบราณ พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร

 

ลูกปัดหน้าคนรูปสตรีผมยาว “โมนาลิซ่า” อย่างโรมัน พบที่เขาสามแก้ว-ชุมพร และฝั่งขวาของคลองกระ

 

ลูกปัดแก้วสอดทอง ภาพเทพกรีก-อียิปต์ พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ

 

แผ่นศิลารูปสตรี ศิลปะอินเดียโบราณสมัยราชวงศ์ศุงคะ พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ

 

แผ่นศิลาจำหลักรูปสตรีมีช้างชูงวงรดน้ำเหนือศรีษะ ศิลปะอินเดียโบราณ อาจหมายถึงมายาเทวี พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ

 

แผ่นดินเผารูปสตรีมีบริวารและกวาง ศิลปะอินเดียโบราณสมัยราชวงศ์ศุงคะ พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ

 
 
จี้ตราประทับมีอักขระอินเดียโบราณเรียงรอบ พบที่ฝั่งขวาของคลองกระ
 
ตราทองคำมีอักขระพราหมีและตราภัทรบิฐของมหานาวิก พบที่บางกล้วยนอก-ระนอง
 
 
จี้ทองคำทำจากเหรียญทองโรมัน จักรพรรดิโดมีเทียน พบที่บางกล้วยนอก-ระนอง
 
 
พระทองคำพบที่เหมืองทอง ทุ่งตึก เกาะคอเขา พังงา

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//