เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 14 September 2017
- Hits: 2407
ทวารวดีเริ่มและล่มเมื่อไหร่กัน ?
แค่ฟัง ๒ คนนี้ ก็เกินคุ้มครับ
Beginning and Fall of Dvaravati ?
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170819_5)
http://www.definingdvaravati.com/
ดร. เอียน โกลฟเวอร์ - สถาบันโบราณคดี มหาวิทยาลัยลอนดอน
ช่องว่างยุคก่อนทวารวดี
หัวข้อเสวนา: การเริ่มต้นและการเสื่อมสลายไปของยุคทวารวดี
บทคัดย่อ
คำว่า "ช่องว่างแห่งยุคทวารวดี" นี้ ได้มาหลังจากการขุดค้นที่บ้านดอนตาเพชร ในช่วงปี พ.ศ. 2523 เมื่อผมเองเกิดความประหลาดใจในความแตกต่างของวัตถุบางชิ้นที่ขุดขึ้นมาได้นั้น ได้แก่ เครื่องสัมฤทธิ์ เครื่องมือและอาวุธที่ทำจากเหล็ก เครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนเครื่องแก้วและลูกปัดหิน ซึ่งทำให้นึกไปถึงวัตถุที่ขุดค้นได้จากท่าม่วง โดย วัตสัน และ ลูฟส์ ในช่วงทศวรรษที่หกสิบ (พ.ศ. 2503 - 2512) ที่ผมได้เห็นในลอนดอน และยังรวมถึงวัตถุสมัยทวารวดีที่เก็บสะสมไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครปฐม และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ทำให้ผมตระหนักได้ว่ามีช่วงระยะเวลาที่เกิดเป็นช่องว่างในการบันทึกเกี่ยวกับวัตถุทางวัฒนธรรม ซึ่งต้องการคำอธิบาย
เกี่ยวกับผู้บรรยาย
ดร. เอียน โกลฟเวอร์ เป็นผู้อ่านกิตติคุณด้านโบราณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สถาบันโบราณคดีมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน เขาศึกษาที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งเขาได้ทำวิจัยภาคสนามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของติมอร์ตะวันออก เขายังทำงานที่สุลาเวสี เกาะสุมาตรา ประเทศไทย เวียดนาม และอินเดีย แม้ว่าเขาจะเกษียณจากการสอนภาคสนามและการวิจัยภาคสนามแล้ว แต่เขายังคงศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอารยธรรมจามในเวียดนามตอนกลาง และการติดต่อกันในยุคต้นๆระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขายังมีความสนใจเกี่ยวกับการขยายอาณาเขตเพาะปลูกข้าว รวมถึงเทคโนโลยีเกี่ยวกับแก้วกระจกและโลหะในภูมิภาค การเกิดอารยธรรมที่มีอิทธิพลต่อของอินเดียในประเทศไทยและเวียดนาม และการค้าขายในสมัยโบราณ
ดร. เอียน โกลฟเวอร์ อยู่ที่ Ruthall Cottage, Ditton Priors, Shropshire, WV16 6TN, UK
อาจารย์ ดร. อุเทน วงศ์สถิตย์ - ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
การล่มสลายของอารยธรรมทวารวดีในยุคโบราณที่มีการกล่าวไว้ในจารึกเขมร
หัวข้อเสวนา: การเริ่มต้นและการเสื่อมสลายไปของยุคทวารวดี
บทคัดย่อ
คำอ้างอิงเกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดีนับว่าหายากยิ่งในจารึกของขอม จะมีแต่เงื่อนงำแห่งการล่มสลายตามที่ปรากฏในจารึกต่างๆ ที่กษัตริย์เขมรได้โปรดเกล้าให้ทำขึ้นตามแหล่งที่เกี่ยวเนื่องกับทวารวดี และเพื่อเป็นการประกอบบทความนี้ผู้บรรยายจะย้ำเน้นที่จารึก K. 1198 หรือ Ka 18 ที่มีบางส่วนของข้อความเป็นภาษาสันสกฤต ที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน จารึกนี้ได้บันทึกอัตชีวประวัติเรื่องราวของลักษมีปติวรมัน ผู้ดำรงตำแหน่งขุนศึกในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยะวรมันที่1 การประดิษฐานพระศิวะและการให้ทานต่างๆ โดยเฉพาะที่กล่าวถึงในโศลกบทที่ 20 ว่าด้วยการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ลักษมีปติวรมันดำรงตำแหน่งผู้ปกครองแดนรามัญ (เมืองมอญ) รวมทั้งที่กล่าวถึงลวปุระในโศลกบทที่ 27 ก็นับเป็นข้อมูลใหม่ในการบ่งชี้ถึงการล่มสลายของทวารวดีที่ชัดเจนขึ้น ข้อมูลดังที่ได้กล่าวมานี้สอดคล้องกับจารึกเขมรที่พบในที่อื่นๆ ด้วย
เกี่ยวกับผู้บรรยาย
หลังจบการศึกษามหาบัณฑิตด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และด้านภาษาตะวันออกจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ไปศึกษาภาษาสันสกฤตในอินเดียพร้อมกับทำการวิจัยวิทยานิพนธ์ในอินเดียอยู่ ๔ ปี ครึ่ง ภายใต้หัวข้อ “ชื่อสันสกฤตในจารึกกัมพูชา” ขณะนี้เป็นอาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันออก
มหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๔๖ โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีความสนใจในด้านจารึกอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะจารึกไทยและกัมพูชา รวมทั้งพระพุทธศาสนา ปรัชญา อารยะธรรมอินเดีย ภาษาบาลี สันสกฤต เขมร และ ไทย.