logo_new.jpg

วันที่สุด ณ นครปักกิ่ง (๑)
The Most Day of Beijing (1)
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170929_1)

Naran Akharanitipirakool

วันที่สุดก่อนกลับเมืองไทยนี้
ผมกะว่าจะสรุปรวบยอดทั้งปักกิ่งและจีนให้กับคณะ
ด้วยการพาไปให้ถึงรากฐานของความเป็นจีนจริง ๆ
เพราะที่พิพิธภัณฑ์ วังต้องห้าม กำแพงเมืองจีน 
สุสานราชวงศ์หมิง วังฤดูร้อน หอบูชาสวรรค์
แม้กระทั่งถนนหวังฟูจิ้ง กันอีกถนนคนเดิน รวมถึง ๒ โรงแรมที่พักนั้น
ยังไม่เพียงพอต่อการเข้าใจ "จีนที่เป็นจริง"

ตามโปรแกรมเดิม ตั้งไว้เพียง ๓ สถาน
วัดลามะ - วังขงจื่อ - ตลาดรัสเซีย
โดยวิทยาลัยในวังที่ผมบอกไว้แต่เดิมนั้นตกหายไป
แถมแถวนั้นยังมีฮูโต้งน่าเดินด้วย

ผมก็เลยลองเล่าล่วงหน้า
"ปลา" เธอบอกว่าเวลาน่าจะไม่พอ โดยเฉพาะตลาดรัสเซีย
ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าแล้วกำหนดมาทำไม
แถมที่เคยไปมา ก็บอกได้เลยว่า "อย่าไปเลย"
พ่อค้าแม่ขายในนั้้นโหดมาก ๆ
เคยพาลูกน้องและศิษย์ผ่านเข้าไปเดี๋ยวเดียวเมื่อ ๑๐ ปีก่อน
ทั้ง ๒ คนขอให้ออกทันที ไม่อยากอยู๋นาน กดดันมาก ๆ

เมื่อคณะตกลง
เราจึงออกจาก รร.ที่ถนนหวังฟูจิ้งแต่หลังอาหารเช้าที่ดีตรมมาตรฐาน
ไปถึงหน้าวัดลามะ - ย่งเหอกง เร็วกว่ากำหนดเปิด
ก็เลยพาเดินเข้าไปในตรอก ซิโล่วฮู่โต้ง ยามเช้าวันอาทิตย์
ที่ชาวบ้านในย่านชุมชนดั้งเดิมยังเงียบสงัดและแสนสงบ

พอสมควรแก่การซึมซับชีวิตชาวจีนในเมืองแท้ ๆ 
โดยเฉพาะในส้วมกลางที่หลายคนขอเข้าไปดูแล้ว

ก็พาเดินออกมาอธิบายถึงรูปปฏิมาและเครื่องบูชาต่าง ๆ 
ของพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน-มหายานตลอดย่านร้านค้าที่หน้าวัด
รวมทั้งรูปยับ-ยัม ที่พวกเรามักไม่เข้าใจเขา
แล้วพาโลจนเป็นเรื่องใหญ่เสมอ ๆ

พอประตูเปิด ก็พากันเข้าไปในวัดนี้
ที่แปลงมาจากตำหนักอ๋องขององค์ชายสี่-ย่งเหอกง
แห่งองค์จักรพรรดิคังซีผู้ยิ่งใหญ่
พอขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ย่งเจิ้ง ก็ยกวังสร้างวัดนี้ไว้
เรื่ององค์ชายสี่ย่งเจิ้งนี้ 
มีเกล็ดเรื่องแปลงสารการสืบราชสมบัตินิดนึง
ซึ่ง บางคนว่า "เป็นไปไม่ได้"

แต่ที่เป็นจริงคือ วัดลามะ หรือ ย่งเหอกง แห่งนี้
กลายเป็นฐานการนำเข้าพระพุทธศาสนาอย่างทิเบต
ของฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงชาวแมนจู สู่จีน 
ที่แม้จะนับถือพุทธอย่างมหายานแนวเซ็นและเจ้าแม่กวนอิมมาก่อน
แต่ปรัชญา ขงจื่อ - เล่าจื่อ เดิมที่ลงลึกกว่าก็ยังเป็นรากและฐานที่สำคัญ

ตรงหน้าวัด มีสิงโตคู่ที่ "ปลา" อธิบายประหลาดแต่ชวนคิด อย่างนี้
"ฮ่องเต้ให้สร้างไว้เพื่อเตือนลามะที่มาอยู่ว่า
อย่ายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการบ้านการเมือง
ดูได้จากขนหังสิงโตเป็นขมวดเหมือนพระเกศาพระพุทธรูป
ดวงตาทั้งสองเหลือบลงต่ำ
ใบหูทั้งสอง ก็ปรกปิด มิให้สอดแส่ไปฟังเรื่องของชาวโลก"

วิหารแรก เป็นวิหารพระมหากัจจายนะกับจตุโลกบาลทั้ง ๔ 
ที่มีอีกเทพเฝ้าทวารขาออกอยู่ ผมจำชื่อไม่ได้

อีกวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ไว้
ตรงหน้าวิหารมีเขาพระสุเมรุสำริดองค์ใหญ่
ไม่ไกลจากร่มมัพลับที่ลูกดกและใหญ่มาก...อยากกิน

ด้านในวิหารนี้ มีถังกาองค์วิเศษ
ทำด้วยวิธีตัดผ้าไหมมาแปะเย็บอย่างประณีต
"ปลา" บอกว่าองค์จริงเป็นฝีมือทำถวายโดยไทเฮาของจักรพรรดิเฉียนหลง
ซึ่งน่าจะคือฮองเฮาขององค์ฯ ย่งเจิ้ง

ถัดเข้าไปอีกวิหาร
เป็นหอบูรพาจารย์ คือท่านซงกาปะ
พอดีกำลังมีการสวดมนต์กันอยู่
ด้านหลังรูปท่าน มีแกะเป็นเขาหินกับ ๕๐๐ อรหันต์
แถมอ่างศิลาที่กล่าวกันว่า
เป็นอ่างอาบนำแรกเกิดขององค์ชายสี่และเฉียนหลง
คนจึงหยอดเงินกันจนล้นหลาม

วิหารหลังสุดที่สูงใหญ่มากนั้น คือที่สุดของการมา ณ วัดนี้
กล่าวกันว่าประดิษฐานพระพุทธรูปที่แกะจากไม้ต้นเดียวที่สูงใหญ่ที่สุดในโลก
ตามสถิติกินเนส
องค์ฯ เฉียนหลง สั่งให้ไปซื้อและขนมาจากป่าเนปาล
จะเอามาทำหีบพระศพในพระสุสาน
ใช้เวลาขนตั้ง ๔ ปี เมื่อมาถึง ฮ่องเต้เห็นก็ตกใจ
ใหญ่อย่างนี้ แกะทำพระถวายวัดดีกว่า
ก็เลยเป็นองค์พระอาริยเมตไตรย
ในปางประทับยืนด้วยมุทราประทานธรรมอันงดงามมาก

ชวนกันกราบพระแล้วก็แวะเข้าพิพิธภัณฑ์
เห็นหุ่นจำลองอาบน้ำย่งเจิ้ง
กับหอพระมีหุ่นจำลองปันเชนลามะที่มาถวายพระพรวันเกิดเฉียนหลง
รวมทั้งรูปยับ-ยัม
และพระแก้วจากคณะธรรมกายเมืองไทย (ก็มีด้วย)

จากนั้นก็ชวนกันวกกลับออกมา
เก็บภาพอีกนิดหน่อย
แล้วก็ออกเดินสู่วิหารแห่งข่งจื่อ
ซึ่งเป็นบาทฐานที่สำคัญที่สุดของความเป็นจีน
และคณะทั่ว์ทั้งหลาย ไม่นิยมพามาที่นี่
แต่ผมนั้น ถือว่าหากไม่มาที่นี่ ก็ไม่ถึงเมืองจีน
แม้นถึง ก็ไม่ที่สุดครับ.

๒๙ กย.๖๐

(ฝากเฮ้า ช่วยเสริมเติมให้ด้วยนะครับ หากมีเวลาว่าง)

วัดยงเหอกงนี้พิเศษมากครั เพราะแม้จะเป็นวัดสังกัตธิเบตนิกายเกลุกปะ มีบูรพาจารย์คือซองขะปะเป็นประธาน แต่ผังกับการจัดเรียงและสถาปัตยกรรมบางส่วนรับอิทธิพลจีนไปเต็มๆคือ เช่นในรูปเรียกหอ เทียนหวังเตี้ยน ประดิษฐานพระศรีอารย์ หรือไมตรียะในรูปแบบพระอ้วนหรือปู้ไต้พระในสมัย ร. ซ่ง
ซึ่งเป็นรูปแบบไมตรียเฉพาะแบบจีน ในวิหารนี้ยังมี เทียนหวัง หรือจตุโลกบาล และเว่ยทัวผู่ซ่า

เว่ยทัว หรือ เวทโพธิสัตว์ พระผู้เป็นทั้งธรรมบาลพิทักษ์อาราม และพระโพธิสัตว์ รูปแบบเฉพาะของจีน

 

เขาพระสุเมรุตามทัศนคติ ร.ชิง อิทธพลจากอินเดียผ่านทิเบต

 

จุดสำคัญอีกอย่างที่แม้จะเป็นวัดในสังเกตุพุทธแบบทิเบต แต่ประดิษฐานพระพุทธเจ้าสามพระองค์ตามแบบความนิยมของจีนแทน วัดทิเบตทั่วไปนิยมองค์เดียวหรือมากกว่านั้น

 

ธวัช หรือ ธงทรงกระบอก หนึ่งใน อัษฎมงคล แต่ในรูปเป็นแบบที่นิยมในทิเบต ในจีนจะออกสีเหลืองๆ

 

พระอมิตายุสพุทธเจ้า หรืออมิตาภะในรูปผู้มีอยุไม่มีประมาณในรูปแบบสัมโภคกาย หรือกายงดงามตามแบบที่นิยมในทิเบต ซึ่งส่งอิทธฺพลไปให้ไทยในการทำพระกริ่งอวโลกิเตศวรทั้งๆที่ความจะเป็นพระอมิตายุสมากกว่า

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//