logo_new.jpg

ทำเรื่อย ๆ ขอรับ...สุวรรณภูมิสำหรับพ่อหลวง
Non Stop Working on Suvarnabhumi For Por Luang 
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20171003_3)

Ann Sasawan Chirayus 
(ส่งต่อให้อุ๋ยด้วย พาดพิงเขาครับ)

กำลังมะรุมมะตุ้ม สรุปเรื่องสุวรรณภูมิ
เพื่อถวายในหลวงครับ

รื้อออกมาจากตู้ อ่าน ๆ ๆ
จนแทบท่วมหัว ตัวตน โต๊ะ เตียง ฯลฯ
ตอนนี้คัดมาสรุปเป็นเล่ม ๆ 
แล้วจะขนไปทำต่อที่เมืองนครสักตั้ง

จากนั้นกลับมาว่ากันต่อขอรับ

ลองอ่านที่เพิ่งสรุปตะกี้เล่น ๆ กันนะครับ
นี้แค่เกริ่นนำนะครับ ยาวนิดหน่อยเอง
กะว่าจะสรุปที่เลือกไว้ราว ๆ ๓๐ เล่มหลัก ๆ
แทบทั้งนั้น แวะไปมาแล้วด้วยครับ

น่าจะสนุกอีกมากตอนสรุป
แต่ที่สนุกสุดคือตอนที่โรจน์ออกแบบหนังสือ
และ...การเลือกภาพเป็นหมื่น ๆ ภาพ

ทำเรื่อย ๆ ตามที่พ่ออุ๋ย บุดด้าเบลส 
ให้พรมาเมื่อวานนี้ครับ

๓ ตค.๖๐

๔) “Southeast Asia From prehistory to history” โดย Ian Glover and Peter Bellwood (บรรณาธิการ) พ.ศ.๒๕๔๗ ในบทความเรื่อง THE ARCHAEOLOGY OF BURMA FRON THE NEOLITHIC TO PAGAN โดย Pamela Gutman and Bob Hudson ซึ่งกล่าวถึงเมืองในระยะแรก ๆ ที่ประกอบด้วยเมืองใหญ่ ๆ ได้แก่ เบกถาโน ฮาลิน ศรีเกษตร เมืองมาว ธันยาวดี เวสาลี และพุกาม ในขณะที่มีอีกกว่า ๔๐ แหล่งโบราณคดีที่มีคันกั้นคล้ายกำแพงจากหลายยุคสมัย อาทิ Binnaka Taguang Kyaikkatha Botahtuang Twante Zokthok และ Kyontu นั้น มีที่ Taikkala ที่มีคันคล้ายกำแพงและเชื่อกันว่าคือสุวรรณภูมิ โดยหลักฐานที่พบส่วนใหญ่ยังคล้ายกับที่พบตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในประเทศไทย เวียดนาม และ เบงกอล

๕) “Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula” โดย Paul Michel Munoz พ.ศ.๒๕๔๙ ในบทว่าด้วยก่อนประวัติศาสตร์ที่เจาะประเด็นการมาถึงของอารยธรรมอินเดียตามทฤษฎีว่าด้วยทอง (the gold theory) ว่าเกิดจากความนิยมและต้องการทองคำซึ่งทรงคุณค่าและความหมายในเชิงพลังอำนาจจนแหล่งทองธรรมชาติในอนุทวีปอินเดียถูกใช้จนแทบหมดสิ้นและต้องเริ่มนำเข้าจากย่านเอเชียกลางผ่านทางเส้นทางสายไหมบกซึ่งต่อมาเกิดอุปสรรคในการสัญจรประกอบกับปริมาณทองก็ลดน้อยลงด้วย ขณะเดียวกันนั้นเมื่อโรมันสามารถพิชิตอียิปต์ได้ใน พ.ศ.๕๑๓ อินเดียจึงเริ่มนำเข้าทองคำจากโรมันด้วยการค้าเครื่องเทศและไหมจีน ผ่านทางอียิปต์และปาร์เถียน ดังที่ปรากฏชื่อเมืองท่าการค้าที่พ่อค้ากรีก-โรมันใช้เป็นสถานี ที่ Barygaza Suppara Calliena Elephanta Muziris Arikamedu Vespasian กระทั่งทองโรมันแทบหมดคลัง พร้อมกับที่อาณาจักรโรมันเริ่มถดถอยเมื่อประมาณ พ.ศ.๗๙๓ มีการห้ามนำทองออกนอกอาณาจักร จากนั้นจึงหันมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีสุวรรณภูมิ สุวรรณทวีป รวมทั้งการบูนทวีปเป็นเป้าหมายในฐานะแหล่งทองคำ โดยระบุว่าอยู่ในอินโดนีเซียและพม่า โดยเฉพาะที่เกาะบอร์เนียว กับ สุมาตรากลางและตะวันตกเฉียงเหนือ

๖) “Early Landscape of Myanmar” โดย Elizabeth H.Moore พ.ศ.๒๕๕๐ รวมทั้ง ”BEFORE SIAM : Essays in Art and Archaeology” โดย Nicolas Revire&Stephen A.Murphy (บรรณาธิการ) พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งมีบทความชื่อ Sampanago : “City of Serpent” and Muttama (Martaban) โดย Elizabeth H.Moore & San Win และ “RESEARCH ON SUVANNABHUMI” ภาษาพม่าโดย U SAN WIN พ.ศ.๒๕๕๘ เฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยสุวรรณภูมินั้น ระบุว่าตามตำนานเดินนั้น สุวรรณภูมิ ในรัฐมอญ บริเวณที่ราบระหว่างปากแม่น้ำสะโตงและสาละวิน ที่ Kyaikkatha เขา Kelasa ซึ่งมีเมืองโบราณรุ่นแรก ๆ ได้แก่ Ayetthama Winka Taikkala Zokthoke Kyon-Tu รวมถึง Kyaikhtizaung Hsindat-Myindat และ Muthin ก่อนที่จะย้ายไปยังเมืองสะเทิม Thaton เฉพาะอย่างยิ่งในบทความ Ancient Knowledge and the Use of Landscape Walled Settlements in Lower Myanmar และ The Gold Coast : Suvannabhumi ? Lower Myanmar Walled Sites of the First Millennium A.D. ในหนังสือ “The Pyu Landscape : Collected Articles” โดย Elizabeth H.Moores พ.ศ. ๒๕๕๕ หลังจากนำเสนอนครโบราณพยูในตอนเหนือของพม่าที่ Taguang Halin Maingmaw Beinnaka Bagan Beikthano Sriksetra กับ ธัญญาวดี และ เวสาลี ในยะไข่ ได้ชี้ถึงเมืองโบราณในเขตตอนใต้ที่มีคันกำแพง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่เป็น ๒ กลุ่ม คือ Kyontu Sittaung Kyaikkatha Kaw Htin Kelesa-Mya Thabek mountain Winka-Ayetthema Zokthoke-Kyaikhtisaung และ Thaton ซึ่งเชื่อกันว่าคือสุวรรณภูมิกลุ่มหนึ่ง กับที่อยู่ใต้ลงไปแถบทวาย มี Thagara และ Mokti ต่อเนื่องถึงมะริดและตะนาวศรีซึ่งอาจเป็นท่าของเส้นทางสายไหมทะเลด้วยแล้ว ดังที่มีเมืองทางฝั่งตะวันออกคือ ไชยา นครศรีธรรมราช และ ยะรัง ซึ่งคือ พันพัน ตามพรลิงค์ และ ลังกาสุกะ ในสมัยก่อน ซึ่งจากการศึกษาถึงการใช้ลูกรัง แหล่งน้ำ ผัง คันกำแพง คู ตลอดจนผลการสำรวจและสิ่งของที่พบแล้วต่าง ๆ อาทิเครื่องถ้วย ลูกปัด รวมทั้งเหรียญตราและพระพุทธรูป ส่วนใหญ่มีลักษณะร่วมกับศิลปะสมัยทวารวดีในประเทศไทย อายุสมัยประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๕ พบน้อยมากที่เก่าก่อน ในขณะที่ล่ามาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ก็มี โดยเฉพาะที่ Kyaikkatha Kelasa Ayetthema Winka Zokhoke รวมทั้ง สะเทิม หรือ Thaton ในขณะที่ยังมีการพบเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคเหล็กอีกจำนวนหนึ่ง แต่ยังขาดข้อมูลและการศึกษาเพียงพอ

๗) “Bujang Valley : The Wonder that was Ancient Kedah” โดย V.Nadarajan พ.ศ.๒๕๕๕และ “Antiquities of Bujang valley โดย Nik Hassan Shuhaimi Nik Abd.Rahman & Othman Mohd.Yatim พ.ศ.๒๕๓๓ ได้ระบุว่าตั้งแต่ช่วงพุทธกาลแล้วที่คาบสมุทรและหม่เกาะมาเลย์เป็นผู้ควบคุมการค้าเครื่องเทศของโลก รวมทั้งทอง เหล็ก และ ดีบุกซึ่งเป็นที่ต้องการของพ่อค้าอินเดีย สอดคล้องกับที่ปโตเลมีเรียกคาบสมุทรนี้ว่า Aurea Chersonesus หรือ คาบสมุทรทองคำ และอินเดียเรียกว่าสุวรรณภูมิหรือสุวรรณทวีป ซึ่งเป็นไปได้ที่จะคือสุวรรณภูมิซึ่งพระเจ้าอโศก (พ.ศ.๒๓๙ – ๓๑๑) ส่งสมณทูตมาถึง โดยขณะนั้น สุมาตราคือมาลัยทวีป บอร์เนียวคือการบูรทวีป ชวาคือยวาทวีป และคาบสมุทรมาเลย์คือมาลัยูร์ที่ทุกวันนี้คือมลายู และปรากฏชื่อสุวรรณภูมิในคัมภีร์รามายนะ กถาสริตสาคร อรรถศาสตร์ มิลินทปัญหา และมหากรรมวิภังค์ โดยพ่อค้าจากอินเดียส่วนใหญ่มาตามลมมรสุมจากอินเดียใต้ เพื่อค้าลูกปัด เครื่องราง ทอง ดีบุก งาช้าง การบูร สมุนไพรหายาก นอแรด ยางไม้หอมbezoar โดยมีนักบวชเข้ามาด้วย ก่อนที่จะเริ่มเกิดรัฐตามจารีตอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๙ ได้แก่ฟูนัน จามปา กัมพูชา ศรีวิชัย ตลอดจนมัชปาหิต ในขณะที่บริเวณคอดคอดกระก็มีนครรัฐและเมืองท่าเกิดขึ้นทั้งสองฟากฝั่ง อาทิ พันพัน ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ เชียะโท้ว ดุนซุน ทางตะวันออก ตะโกลา กฑารัม กัวลาเซเลนซิง และ คงคานครา ทางตะวันตกโดยมีเส้นทางข้ามคาบสมุทรเป็นทางเชื่อมต่อ ซึ่งจากหลักฐานทางโบราณคดีและการสำรวจศึกษาวิจัยที่ลุ่มแม่น้ำเมอร์บ็อกและมุดา ชี้ชัดว่าที่หุบเขาแห่งบุจังนี้เคยเป็นสถานีการค้าสำคัญมาแต่โบราณของพ่อค้าจากอินเดีย จีน อาหรับ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ในฐานะนครที่ถือว่ามีอารยธรรมผสมผสานระหว่างฮินดูและพุทธ โดยเฉพาะรายรอบเปงกาลัน บุจัง และ สุไหงมาศ ที่สำคัญคือ การค้นพบใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ ที่สุไหงบาตูในลุ่มน้ำเดียวกันนี้ ตามรายงานเรื่อง “Kedah Tua Kingdom : New Evidence from Sungai Batu Comples” โดย Mokhtar Saidin พ.ศ.๒๕๕๙ ระบุว่า อาณาจักรเกดะห์โบราณ (Kedah Tua Kingdom) บนลำน้ำสาขาสุไหงบุจังและสุไหงบาตูนี้ เป็นสถานีค้าข้ามคาบสมุทรของพ่อค้านักเดินเรือจากอ่าวเบงกอล จากการศึกษาด้านโบราณคดีสิ่งแวดล้อมของ ๙๗ เนินดิน ในพื้นที่กว่า ๔ ตารางกิโลเมตร พบหลักฐานการเป็นแหล่งถลุงเหล็กขนาดใหญ่ มาตั้งแต่ พ.ศ.๘ มีแนวก่ออิฐเป็นแท่นของท่าเรือโบราณ พร้อมร่องรอยสำนักงานที่มีการมุงหลังคากระเบื้อง รวมทั้งสิ่ก่อสร้างที่เป็นศาสนสถานด้วยแล้ว เมื่อร่วม ๒,๕๐๐ ปีที่แล้ว

๘) “LOST KINGDOMS : HINDU-BUDDHIST SCULPTURE OF EARLY SOUTHEAST ASIA” โดย John Guy พ.ศ.๒๕๕๗ ชี้ว่าสุวรรณภูมิ หรือ แดนทอง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสิ่งดึงดูดพ่อค้าชาวอินเดียมาสู่และส่งผลต่อเศรษฐกิจ รวมทั้งเชื่อมโยงอาณาบริเวณนี้กับการค้าขายในส่วนอื่น ๆ ของโลก โดยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ มีกลุ่มการค้าที่เข้มแข็งแล้วในเขตเดคค่าน และนักบวชในศาสนาพราหมณ์และพุทธจากอินเดียก็ได้มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเรือสินค้าเหล่านี้ ดังที่ปรากฏหลักฐานต่าง ๆ เป็นจำนนมาก ที่อู่ทอง จันเสน และ ลพบุรีในประเทศไทยซึ่งผ่านมาทั้งทางพม่าและอ่าวไทย รวมทั้งจารึกพบปาเลมบังในสุมาตราและสุไหงมาศในมาเลเซีย และที่อื่น ๆ อีกมากมายทั้งในพม่า ไทย ชวาในอินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม การค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับอินเดีย มีพ่อค้าชาวทมิฬเป็นหลัก สินค้าที่ต้องการคือเครื่องเทศ ยางไม้และผลิตผลจากป่า รวมทั้งโลหะมีค่าโดยเฉพาะทองคำซึ่งจากบันทึกหรือวรรณกรรมในอินเดีย เช่น ชาดก บ่งว่าเอเชียอาคเนย์เป็นแหล่งทองคำของอินเดียโบราณ โดยมีชื่อทั้ง สุวรรณภูมิ และ สุวรรณทวีป ซึ่งเป็นเพียงอาณาบริเวณเท่านั้น มิได้จำเพาะเจาะจงตรงไหนหรือเป็นอาณาจักรแต่อย่างใด แม้จะมีการกล่าวถึงเมืองท่า ๒ แห่งของสุวรรณภูมิในSuparagaชาดก หนึ่งในชาดกมาลาของ Aryasuraสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ว่าคือลังกาโสภะกับกตาหทวีป ซึ่งอยู่ที่ปัตตานีและเคดะห์ในปัจจุบัน สอดคล้องกับพงศาวดารราชวงศ์เหลียง พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่กล่าวถึงมีราชทูตจากลังกาสุกะ ทั้งนี้เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และ มาเลเซียตะวันตก ซึ่งมีทองคำตามธรรมชาติมาก มีส่วนในการขับเคลื่อนการค้าจนพบหลักฐานศิลาจารึกกล่าวถึงการตั้งถิ่นของของกลุ่มการค้าชาวอินเดียชื่อมณีกรามันที่ตะกั่วป่า สอดคล้องกับที่ปรากฏชื่อตะโกลาในคัมภีร์มหานิทเทศ ตั้งแต่พุทธศักราชที่ ๗ และการพบหินลองทองของช่างทำทองชาวอินเดียที่จารึกชื่อไว้ด้วยอักษรพราหมีภาคใต้ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ โดย John Guy ระบุว่าตารุมานคราทางตะวันตกของเกาะชวาเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๙ ในขณะที่จารึกภาษาสันสกฤตที่เก่าแก่ที่สุดในเอเช๊ยตะวันออกเฉียงใต้คือจารึกอักษรพราหมีภาคใต้ Vo Canh พบที่ญาตรังในภาคกลางของเวียดนาม อายุประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๙ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ในขณะที่จารึกภาษาจีนที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือจารึกหลังพระพิมพ์เป็นถาษาสันสกฤต พบที่เมืองศรีเทพ John Guy ไม่ได้ระบุว่าสุวรรณภูมิคือที่ใด แต่ได้กล่าวถึงรัฐแรกเริ่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่เก่าแก่สุดเมื่อปลายสหัสวรรษแรกว่าประกอบด้วย ศรีเกษตรในพม่าภาคกลาง ศรีเทพในภาคกลางของไทย อังกอร์ บอเรย และ สมโบร์ ไพรกุก ในกัมพูชาตอนใต้และตอนกลาง จำปากสักหรือเศรษฐปุระในลาวใต้ Tra Kieu หรือ สิงหปุระ และ Myson ในเวียดนามตอนกลาง ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นนครรัฐสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ฟูนัน พยู จามปา ทวารวดี เจนละ เคดะห์ และ ศรีวิชัย โดยมีนครรัฐอื่น ๆ อีก เช่น ลังกาสุกะ พันพัน ตามพรลิงค์ รวมทั้งตารุมานคราบนเกาะชวา และ วิชัยปุระกับ Boni บนเกาะบอร์เนียว

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//