เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 05 October 2017
- Hits: 2878
การพบวงแหวนนี้สำคัญอย่างไร ?
Why Is This Find So Important ?
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170825_1)
การนำเสนอเรื่องวงแหวนเขาสามแก้วแห่งเมารยะ-ศุงคะ
ที่สยามสมาคมเมื่อคืนวานนี้
ที่ ดร.แอนนา ชี้ให้เห็นว่าสำคัญอย่างไรนั้น
ผมจับประเด็นหลัก ๆ ได้ดังนี้
๑) เป็นรายงานการพบเพียงชิ้นเดียวที่พบนอกอินเดีย-ปากีสถาน โดยทั้งโลกที่มีรายงานพบแล้วประมาณ ๒ - ๓๐ ชิ้นเท่านั้น
๒) ที่พบแล้วทั้งนั้น พบที่ย่านเมืองหลักในสมัยเมารยะ-ศุงคะ จากศูนย์ที่ตักสิลาลงมาตามลุ่มน้ำคงคาถึงพาราณสี อันเป็นเส้นทางหลักในสมัยนั้น โดยเฉพาะน่าจะมีเมืองปาฏลีบุตรเป็นศูนย์สำคัญ โดยที่พบแรกและรายงานในโลกนั้นเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีก่อน พบที่นครสังกัสสะ กับ ไวสาลี ซึ่งล้วนเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา โดยสรุป การพบนี้ชี้ชัดว่าเมื่อ ๓ - ๒ ศตวรรษก่อนคริสตศักราช คือประมาณ พ.ศ.๒-๓๐๐ มีคนอินเดียพกพานำสิ่งนี้มาตกหล่นอยู่ที่นี่แล้ว
๓) กล่าวกันว่าสิ่งนี้นั้น แม้จะเล็กนิด แต่มีคุณค่าความหมายเทียบเท่ากับ เสาอโศก ต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากคือบนนั้นมีสัญญลักษณ์ตรีรัตนะที่นิยมมากในพระพุทธศาสนาด้วย
๔) เป็นการพบโดยบังเอิญจากการดูดทรายแม่น้ำ ซึ่งพบสิ่งอื่นด้วย เช่น ขันสำริด ที่ยิ่งกว่านั้น อาณาบริเวณที่พบคือเขาสามแก้ว มีการพบสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งการขุดค้นศึกษาอย่างเป็นระบบ ท่ามกลางการขุดหาของชาวบ้าน แต่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ โดยไม่สูญและเสียหายไป
๕) ถึงทุกวันนี้ ที่ยังไม่มีข้อสรุปเป็นที่ยุติว่า วงแหวนนี้สมัยนั้นใช้ทำอะไร แต่จากรูปลักษณะ แน่นอนว่าเป็นของจากอินเดียโบราณ ที่อาจจะรับอิทธิพลมาจากกรีก-เปอร์เซีย และการพบแผ่นทองคำบางดุนเป็นลานคล้ายกันที่เขาสามแก้วด้วย สนับสนุนมากขึ้นว่าวงแหวน-แป้นหินกลมเช่นนี้ น่าจะเป็นเป้าสำหรับดุนทำแผ่นทอง ซึ่งก็ยังไม่ทราบเช่นกันว่าใช้สำหรับทำอะไร แต่ด้วยลวดลายอันวิจิตรและใช้ทอง ต้องเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย
๖) การพบแผ่นทองเช่นนี้นั้น นับเป็นการพบครั้งแรกในโลก เพราะปกติแล้วแผ่นทองเช่นนี้จะถูกถือเป็นเศษเอาไปหลอมใช้ซ้ำ แต่ยังสามารถรักษาไว้ได้ พร้อมกับอีกเศษซึ่งเมื่อค้นคว้า ก็พบมีรายงานการพบในอินเดีย ๑ ชิ้น รวมทั้งการพบเบ้าหินอีก ๑ ครึ่ง
๗) ยังมีกีหลายส่งที่ยังต้องศึกษาค้นคว้าต่อ เช่น รอยขีดที่ด้านหลังซึ่งน่าจะเป็นจารึก แต่ยังไม่มีใครอ่านได้ นอกจากนี้ การพบแป้นศิลาคล้ายกันที่ฝั่งทะเลตะวันตกตรงคอคอดกระตรงข้ามกับเขาสามแก้ว ก็กำลังจะบอกบางอย่าง ซึ่งต้องรอการศึกษาต่อ
สำหรับผมนั้น
คล้าย ๆ พบร่องรอยสุวรรณภูมิเข้าให้แล้วเลยครับ
ไล่ดูกันเอาเองนะครับ
หากต้องการดูของจริง ๓๐ - ๓๑ สค.นี้
จะจัดแสดงที่สวนโมกข์กรุงเทพครับ
แต่ถ้าต้องการฟังอีก
ดร.แอนนาจะเสนอเยอะกว่านี้ ตอนบ่ายวันที่ ๓๑
แต่ถ้าต้องการเรียนรู้ทั้งหมดจนถึงทวารวดี
ที่เป็นต้นเค้าอารยวัฒนธรรมไทยพุทธ
ก็ต้องร่วมตลอดรายการนะครับ
http://www.definingdvaravati.com/
๒๕ สค.๖๐