logo_new.jpg

กว่าจะเข้าใจจามปา
Understanding Champa


(bunchar.cqm เพื่อแผ่นดินเกิด 20200110_1)

 

      ถามว่า "จามปา" คืออะไร ? ใช่ดอกจำปาไหม ? ที่เมืองนครมีวัดจำปาขอมที่ทุกวันนี้เรียกวัดบุญนารอบตีความกันวาน่าจะมีการปลูกต้นจำปาขอมไว้มากต้นนี้ที่ทุกวันนี้เรียกว่าลีลาวดี หรือลั่นทมนั่นเอง หลายคนถามว่าเกี่ยวอะไรกับลาว ? ขอม ? เขมร ? จามปา ? ... ไม่รู้ และไม่ขอเดาครับ

      อีกแห่ง ตรงท่าเรือเลยหัวถนนเมืองนครลงไปหน่อยหนึ่งมีชุมชนมุสลิมเล็ก ๆ อยู่แห่งหนึ่ง ชื่อ "ท่าจาม" ถามชาวที่นัน บอกกันแต่ว่า "ก็ชื่อนี้มาแต่ไหน ๆ" ไม่ได้ความอะไรอื่นเคยพา อ.ศรีศักร ลงไปเลาะเจอเส้นทางน้ำออกนอกทะเลและเลยเข้าไปในแผ่นดินอาจเป็นอะไรก็ได้ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางทางน้ำไปมาแต่ก่อนและไม่ควรเดาอะไรมากไปกว่านี้ ส่วนที่อื่นบนแผ่นดินไทยนั้น กล่าวกันว่าวัดแก้วที่ไชยา มีความละม้าย "จามปา" หลายประการ แถมที่ท่าชนะ ก็พบ "เอกมุขลึงค์" ที่เป็นที่นิยมและพบมากแถบจามปาโน้นแล้วก็องค์พระธาตุพนมตอนล่างที่เป็นอิฐแกะเต็มไปด้วยลวดลายนั้นหลายท่านก็บอกว่า "อย่างจามปา" 

      อีกร่องรอยหนึ่งที่ผมจำขึ้นใจอยู่ในบันทึกของพระถังซำจั๋งตอนอยู่ในอินเดียท่านระบุว่าทางตะวันออกไกลเลยทะเล ซึ่งน่าหมายถึงอ่าวเบงกอลมีหลายนคร รัฐ ทั้ง โถโหลโปตี และ โมโหโจมโปโดยสรุปกันทั่วไปแล่้วว่า น่าจะคือ ทวารวดี และ มหาจามปา แล้วก็อีกรอยจำติดตาไม่มีวันลืม คือภาพจำหลักที่ระเบียงปราสาทบายนในเมืองพระนครที่เป็นภาพมหายุทธนาวีที่ชัยวรมันที่ ๗ ให้จำหลักไว้เป็นอนุสาวรีย์การรบกันครั้งสำคัญของเขมรและจามปา ซึ่งผลัดกันรุกรบแพ้ชนะ และคราวนั้ คือคราวที่เขมรพิชิตจามปาจนน่าจะราบคาบสิ้นกำลังแล้วชาวเวียดก็เข้ามาแทนที่ ขณะที่ชาวจามก็ถอยร่นลงใต้ตามลำดับ จนทุกวันนี้ กระจายกันอยู่ตามชายฝั่งทะเลจีนใต้ ในเวียดนามภาคใต้ในฐานะชาวเวียดนามส่วนที่กระจายย้ายมาเมืองไทยและตั้งถิ่นอยู่ที่บ้านครัวตรงสะพานหัวช้าง-ราชเทวี-ปทุมวันนั้น มากันคราวไหนจำไม่ได้จำได้แต่ว่าเป็นฐานสำคัญการเกิดอาณาจักรไหมไทยที่ชื่อว่า จิม ทอมป์สัน ที่ลันโลกทุกวันนี้ นี่ก็จากจามครับ

      สำหรับพระนางจามเทวีที่ทางเหนือนั้น ผมก็ไม่ทราบครับ ในที่นี้ ขออนุญาตใช้หนังสือเล่มที่พิพิธภัณฑอารยธรรมเอเซียที่สิงคโปร์ทำไว้เมื่อ ๑๒ ปีก่อนภายใต้ความร่วมมือกับรัฐบาลเวียดนามต่อจากซาหวิ่น ที่หายไปจากตอนกลางของเวียดนามเมื่อราว พศต.ที่ ๗ จามปาก็ค่อย ๆ ปรากฏขึ้นมาแทน เมื่อประมาณปลาย พศต.ที่ ๘ - ๙ โดยมี ดองซอน กับ ฟูนัน เป็นอีก ๒ อารยธรรมเก่าก่อนประวัติศาสตร์อยู่ทางเหนือสุด และใต้สุดถามว่าจามปากินอาณาบริเวณประมาณไหน ? และคลี่คลายอย่างไร ? เอาคร่าว ๆ อย่างนี้ครับ

      ไล่จากเหนือลงใต้ ตามการเคลื่อนย้ายของศูนย์กลางชาวจามจากอินทรปุระ อมราวดี วิชัย เกาฏาระ แล้วก็ ปาณฑุรังคะโดยชื่อเหล่านี้ที่เราคุ้น ๆ ว่าไท้ไทยนั้น อย่างเผลอนะครับเอามาจากอินเดียด้วยกันทั้งนั้นแต่ปากลิ้นคนเวียดนามทุกวันนี้เรียกใหม่จนยากมากสำหรับหูและใจอย่างไทยเราที่ยังติดอินเดียอย่าง วิชัย เขาเรียกว่า เหงีย บิงห์ ปาณฑุรังคะ เขาเรียก ฟาน รัง การไปเวียดนามรอบนี้ ผมและพี่ ๆ แวะเพียง ๔ ที่ คือ ดานัง เว้ ฮอยอัน และ มิเซิน ซึ่งเป็นแดนซ้อนทับ ของซาหวิ่น กับจามปาระยะแรก แล้วก็เมื่อเวียดเข้ามาครองเบ็ดเสร็จที่เว้ก่อนที่จะเสร็จฝรั่งเศส ที่มาเริ่มที่ดานังและฮอยอันส่วนที่ไล่ลงใต้ไปเรื่อย ๆ จนที่ทะลุถึงบ้านครัว หรือไชยา หรือท่าจามเมืองนคร ตลอดจนที่ข้ามเขาและข้ามโขงมาถึงพระธาตุพนมนั้นแม้จะไปมาเกือบทุกที่แล้ว แต่คราวนี้จะทยอยเล่าเท่านี่ไปมารอบนี้นะครับ

๑๐ มค.๖๓ ๐๙๑๒ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.

 

 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//