logo_new.jpg

ขึ้นเขาเข้าอารามพระพุทธ ณ สังฆาราม ที่กลายเป็นลึงคบรรพตของคนอินเดีย รายงานการศึกษา ต้นทางพระพุทธศาสนาในอินเดียสู่อู่ทอง (๗) ที่ลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวารี ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอินเดีย สมัยอมราวดี และดินแดนทมิฬนาดู ที่ส่งราชนาวีมาถล่ม (ทวารวดี ? และ) ศรีวิชัยจนล่มสลาย เปลี่ยนแผนเมื่อยังไม่ทันเริ่ม ตามกำหนดการวันนี้ เดิมจะไปถึง ๕ แห่ง แต่เมื่อเย็นวานนี้คุณราณี ที่ปรึกษาของการเดินทางรอบนี้เธอขอเปลี่ยนแบบเราไม่ต้องคิดอะไรเพราะเธอบอกว่าต้องเปลี่ยนก็เปลี่ยน จากเดิมจะไป Vempadu, Veeralametta, Nellipudi และ Vazrakutam ซึ่งหาข้อมูลที่ไหนไม่ได้เลย มาเป็น Sankaram, Kodavali และ Yerravaram ซึ่งน่าจะสำคัญกว่า เพราะมีรายชื่อในบัญชี (ตามแผนที่) อันดับที่ ๕ และ ๘ เฉพาะ Sankaram มีการระบุไว้ในเอกสารหนังสือแทบทุกฉบับแต่ไม่มีในรายการเดิม เรียกว่าเปลี่ยนเป็นดีกว่าเดิม เช่นเดียวกับอีกแห่งคือ Ghantasala ในบัญชีลำดับที่ ๑๑ ซึ่งสำคัญมากแต่ก็ไม่มีในรายการเดิม และคณะไทยเราอดไปแน่นอน ไม่สามารถปรับอะไรได้ด้วยจะเสียเส้นทาง วงหารือที่สนมหน้าบ้านคุณราณีเมื่อเย็นวันที่ ๒๓ กพ. และ แผนที่พุทธสถานสำคัญในอานธรประเทศ รวมแล้วตามกำหนดการเดิมระบุว่าจะแวะรายทาง มี ๑๙ แห่ง คือ ๒๓ กพ.-Thotlakonda, Bovikonda, Pavuralakonda, ๒๔ กพ.-Vempadu, Veeralametta, Nellipudi, Vazrakutam, ๒๕ กพ.-Guntupalli, Kantamanenivarigudem, Pedavegi, ๒๖ กพ.-Jaggayapeta, Gummadidurru, Alluru, Undavilli, และ ๒๗ กพ.-Chebrolu, Mallepadu, Bhattiprolu, Motupalle, Chinaganjam (คณะนานาชาติต่อในวันที่ ๒๘ กพ.- Chandavaram, Dupadu, Chejarla) ในจำนวนนี้มีที่ปรากฏในบัญชี (ตามแผนที่ข้างต้น) เพียง ๖ แห่งเท่านั้น (ตัวหนาและไม่นับอมราวดีกับนาคารชุณโกณฑะ) โดยไม่ทราบว่าต่อจากวันนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกไหม เท่าที่รู้แน่ ๆ คือไม่ได้ไป Ghantasala แน่นอน Sankaram สังฆาราม คือ พุทธอาราม Boudha-arama บนเขาของพระพุทธเจ้า เช้าวันนี้นับเป็นการเดินทางไกลของจริง ด้วยรถ Traveller ๑๑ ที่นั่งซึ่งคณะฝรั่งกับไทยไปด้วยกัน ๘ คน กับคณะของโรเบิร์ตอีกคัน จากประสบการณ์เมื่อวาน วันนี้พวกเราไม่มองหาอะไรนอกจากเนินเขา คุณราณีบอกว่าแต่ก่อนก็น่าจะมีพุทธสถานในที่ราบเช่นกัน เพียงแต่ตามเวลาที่ผ่านมานับพันปี ได้มีคนอินเดียเข้าตั้งถิ่นฐานทับซ้อนตลอดจนน่าจะมีการรื้อเอาวัสดุต่าง ๆ มาใช้ซ้ำจนหาพบได้ยาก ชวนให้นึกถึงที่อู่ทองและอีกหลายสถานที่ในเมืองไทยที่มีสภาพไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่าเมืองไทยคนไม่มากเท่าที่อินเดียจึงยังมีเหลือสภาพไว้มากกว่า ดังเช่นที่อู่ทองซึ่งยังมีทั้งบนเขาและพื้นที่ราบ ส่วนจะพบรอยอะไรเปรียบเทียบกันได้หรือไม่ จะต้องดูกันต่อไป

เป้าสนใจของ อ.ดร.สฤษดิ์พงษ์ อยู่ที่หม้อดินมีสันของคนอินเดียที่ทุกวันนี้ยังทำใช้กันอยู่ ทำไม ? เป้าหมายอยู่ที่เขาข้างหน้า กับป้ายหน้า Sankaram สำหรับพุทธมหาวิหารที่ Sankaram แห่งนี้ วิกิพีเดีย และ Buddhist India Rediscovered บอกว่าเป็นเนินเขา ๒ ลูก ตั้งอยู่กลางทุ่งข้างหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมลำคลองสายใหญ่ที่อาจเป็นทั้งแหล่งน้ำการเกษตรและเส้นทางสัญจรโบราณ โดยชื่อนี้ที่อ่านได้ตรงตัวว่า สังฆาราม นั้น เขาว่าเพี้ยนมาจาก Boudha-Arama ของชาวพุทธ เช่นเดียวกับชื่อเขาลูกตะวันออกที่เรียกกันว่า Bojjanna-konda หรือ เนินเขาพจน ที่เขาก็ว่าเพี้ยนมาจาก Boudini konda หรือ Hill of the Buddha มีมหาสถูปแกะจากหินทั้งก้อนที่อาจจะใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบแล้วและเคยเห็น พร้อมลานประทักษิณและสถูปบริวาร กับคูหาวิหารน้อยใหญ่ แล้วยังมีมหาวิหารอยู่เคียงข้างบนยอดเนินจนหลายฝ่ายสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นต้นแบบของมหาสถูปที่บรมพุทโธบนเกาะชวาโน่น ส่วนลูกตะวันตกที่เต็มไปด้วยสถูปน้อยใหญ่ที่แกะจากหินจนแขกดูเป็นอย่างอื่นไม่เป็นนอกจาก "ลึงค์เทพ" ของเขา จึงเรียกว่า Lingalakonda หรือถ้าเป็นไทยเราก็อาจจะเรียกว่า ลึงคบรรพต เพียงแต่ทุกวันนี้ที่เรียกกันว่าลึงคบรรพตหรือสวยัมภูบรรพตอย่างที่วัดภูหรือเขาคาเมืองนคร มีการให้ความหมายซ้อนเข้าไปอีกว่าต้องเป็นหินธรรมชาติที่เหมือนลึงค์เท่านั้น หากมนุษย์แกะอย่างนี้ไม่นับ ที่นี้ Alexander Rea มาทำการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๐ พบหลักฐานต่าง ๆ มากมายนอกจากสถูปวิหารถ้ำต่าง ๆ แล้ว ยังมีเหรียญทองแดงราชวงศ์จาลุกยะตะวันออกกว่า ๗๐ อัน ตราและตราประทับ ดินประทับอักขระคาถาธาริณี เหรียญสาตวาหนะ เหรียญทองพระเจ้าสมุทรคุปต์ พระพุทธรูปและพระวัชรสัตว์ วิกิพีเดียว่าพบ numerous monolithic stupas, rock-cut caves, chaityas and monasteries forming one of the most remarkable Buddhist establishments in Andhra Pradesh during the period of 4th to 9th Century CE เรียกว่าต่อพอดีจาก ๓ พุทธมหาวิหารบนเนินเขาริมฝั่งทะเลทั้งสามเมื่อวานนี้ โดยรวม เขาสรุปว่าพระพุทธศาสนามารุ่งเรืองอยู่ที่นี่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗ ถึง ๑๕ หรือ ๑๖ เรียกว่าต่อเนื่องจากทั้ง ๓ มหาวิหารที่แวะไปมาเมื่อวานนี้อีก ๑,๐๐๐ ปี มีทั้งหินยาน มหายาน และ วัชรยาน วิกิพีเดียบอกว่ามีหลักฐานแสดงว่ามีการจัด พิธีวิสาขะปูรณมี กันที่นี่ในสมัยโบราณด้วย ที่สำคัญและถ้าไม่ได้มาจะเสียท่ามากเพราะที่นี่มีทั้งความพิเศษแตกต่างรวมทั้งความใหญ่อย่างไม่เหมือนใครในหลายแง่มุม โดยเฉพาะสถูปแกะจากหินทั้งก้อนที่มีมากมายหลายขนาด องค์หนึ่งนั้นอาจจัดว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยรู้เห็นมา บางเอกสารระบุว่าอาจจะเป็นต้นแบบของบรมพุทโธที่เกาะชวาด้วย แถมยังมีคูหาวิหารแกะเข้าไปในเขาอีกหลายคูหา คูหาหนึ่งมีสถูปหินอยู่ข้างในพร้อมกับฉัตรหินด้วย ตอนนี้ องค์กรชื่อ The Indian National Trust for Arts and Cultural Heritage (INTACH) ของอินเดียกำลังดำเนินการเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับอีก ๓ แห่งบนยอดเขาริมทะเลที่ไปมาเมื่อวานนี้ คูหาวิหารประดิษฐานสถูปศิลา เขาพระพุทธเจ้าลูกตะวันออก เห็นโขดหินและรอยแกะสลักตะปุ่มตะป่ำเป็นถ้าและสถูป ขึ้นบันไดไปถึงถ้ำชั้นแรก มีซุ้มประตูพระพุทธเจ้าและทวารบาล มีถ้ำอีกชั้นอยู่ด้านบน คูหาวิหารในถ้ำชั้นแรก มีเสารอบและสถูปศิลาบนฐานสี่เหลี่ยม เหนือสถูปมีฉัตรหินติดอยู่บนเพดานถ้ำ ที่โคนของสองเสาหน้า มีรูปสลัก ยักษ์ เทวดา ทวารบาล หรือ โพธิสัตว์ ? ฐานสถูปเป็นชั้น ๆ รอบเรือนธาตุมีฐานยกอีกชั้น กั้นเป็นช่อง ๆ ด้านบนมีบัลลังค์สีเหลี่ยม และช่องว่างก่อนถึงฉัตรร่มบนเพดาน องค์สถูปศิลาในคูหาวิหารด้านทิศใต้ พระพุทธองค์ทรงรอเราอยู่ในวิหารคูหาชั้นบน ซุ้มพระพุทธรูปบนหน้าบันประตูถ้ำชั้นบน ที่เป็นปูนสีแดงอมชมพูนั้นคือรอยบูรณะปั้นใหม่โดยแขกอินเดีย ไม่ค่อยถูกต้องตามแบบแผนพุทธโบราณ ภาพสลักในโถงหน้าถ้ำชั้นบน ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องอะไร ? โถงหน้าถ้ำชั้นบน ภาพด้านในสุด คล้าย ๆตอนมหาปาฏิหาริย์ พระพุทธองค์ประทับอยู่บนดอกบัวชูก้านขึ้นมา ? ในคูหาวิหารชั้นบนลึกเข้าไปอีกชั้น บนลานประทักษิณ (ชั้นรอง) อ.เอียน ถนนทางเข้าและลึงคบรรพต จากยอดเขาพระ Boud-konda เห็นแนวแม่น้ำเป็นแถบต้นไม้ใหญ่ไหลมาจากเขาใหญ่ลูกไกลออกไป สถูปหินตามไหล่รอบลูกเขาอย่างนี้มีเต็มไปหมด ยังไม่พบรายงานการนับจำนวน เห็นลิงคบรรพตและเขาใหญ่ ในรูปมีโรเบิร์ตกับอทิตยา คนนำทางยืนอยู่ข้างผม บนลานประทักษิณ ฐานสถูปหินองค์ใหญ่สุดเท่าที่เหลือ (ด้านทิศใต้) มีแนวก่ออิฐอีกชั้น ล้อมรอบด้วยแถวสถูปหินและอิฐอย่างนี้ ที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นต้นแบบของมหาสถูปบรมพุทโธที่เกาะชวา ลานประทักษิณทิศตะวันตกเต็มไปด้วยสถูปหินที่สกัดเขาทั้งลูก มีความแคบและชันมาก ศิลาหลักใหญ่นี้น่าจะเป็นจารึก แต่ลบเลือนจนไม่เห็นอักขระอะไร ฐานประทักษิณทิศเหนือ มีแท่นอิฐก่ออยู่เป็นระยะ ๆ มหาสถูปหินที่ (น่าจะ) ใหญ่ที่สุด ทุ่งกว้างอย่างนี้ ไม่ต่างจากที่ราบภาคกลางประเทศไทยอย่างที่เห็นจากยอดเขาพระที่อู่ทอง องค์สถูปหินหากยังสมบูรณ์อยู่จะยิ่งใหญ่อย่างยิ่ง ประมาณไม่ได้ว่าสกัดหินออกไปเท่าไหร่

จากมหาวิหารทางทิศตะวันออก มหาวิหารทิศตะวันออก เป็นวิหารฐานก่อด้วยอิฐ ภายในมีวิหารน้อยรูปเกือกม้าองค์หนึ่ง รอบฐานด้านล่างลงไป เป็นคูหาวิหารแถวสำหรับพระภิกษุอยู่พำนัก ๓ ด้าน พุทธอาราม มหาวิหาร ถ่ายจากลานประทักษิณชั้นชนของมหาสถูป ฐานมหาสถูปหินบนลานประทักษิณชั้นบน โรเบิร์ตที่บันไดมหาวิหาร แผนผังมหาสถูปและวิหารแห่งสังฆาราม แอนนากับ อ.เอียน เก็บใบสะเดาเอาไปป้องกันแมงกินหนังสือและผ้าตามแบบโบราณ จากลานประทักษิณชั้นบนด้านตะวันตก ฐานและลานประทักษิณมหาสถูปหินทั้ง ๒ ชั้น ตามดูถ้ำพระพิฆเนศวร์ด้านหลังเขาพระ ล้วนการแกะสลักในพุทธศาสนามาแต่ก่อน ศศิลปะคล้าย ๆ สมัยคุปตะ ส่วนรูปแกะพระพิฆเนศวร์ที่หน้าถ้ำ สันนิษฐานว่าเพิ่งแกะในยุคหลังเมื่อฮินดูเข้ามาแทนที่ในบริเวณนี้ พระพุทธรูปในถ้ำพระพิฆเนศวร์ เสาหินน่าจะบอกยุคสมัย บันไดทางขึ้นมีแยกเป็นสามทาง เส้นกลางเข้าถ้ำสถูป เส้นขวาขึ้นมหาสถูปวิหาร เส้นซ้ายอ้อมไปหลังเขา บางรูปพระตามเพิงผาที่แกะสลักทำสถูปหินด้านหลังเขาพระ พุทธอาราม ขอจบสังฆาราม เฉพาะ Bojjanakonda ในฐานะ เขาพระ หรือ Bouda Arama ของที่นี่เพียงเท่านี้ก่อน ส่วนลึงคบรรพต หรือ Lingalakonda ค่อยต่ออีกตอน เห็นได้ชัดว่าหากไม่ได้มาจะเสียดายมาก ยังไม่เข้าใจเหมือนกันทำไมคุณราณีจึงไม่จัดให้มาที่นี่ตั้งแต่แรก และก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรทำให้เธอเปลี่ยนกระทันหันจนได้มา บัญชา พงษ์พานิช ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ กรุงเทพมหานคร

 

 
รูปที่1
 
รูปที่2
 
รูปที่3
 
รูปที่4
 
รูปที่5
 
รูปที่6
 
รูปที่7
 
รูปที่8
 
รูปที่9
 
รูปที่10
 
รูปที่11
 
รูปที่12
 
รูปที่13
 
รูปที่14
 
รูปที่15
 
รูปที่16
 
รูปที่17
 
รูปที่18
 
รูปที่19
 
รูปที่20
 
รูปที่21
 
รูปที่22
 
รูปที่23
 
รูปที่24
 
รูปที่25
 
รูปที่26
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//