เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 22 July 2016
- Hits: 1955
JanDeeNagara @ ChangKlang NST (3)
จันดีนครที่ช้างกลาง : พบอะไรและบอกอะไรบ้าง ?
เท่าที่ผมได้พบเห็น
นอกจากพื้นที่กว้างและราบเรียบริมคลองจันดีหลายสิบไร่ ระบุว่าข้ามฝั่งไปทั้งสองฟากคลอง
มีแนวเนินดินยาวกับคูตื้น ๆ สองสามชั้น แนวหนึ่ง
ที่ริมคลองเป็นแนวอิฐยาวตลอด
โดยเฉพาะที่ริมตลิ่ง มีอิฐเรียงซ้อนกันลงไปด้วย
ในบริเวณที่ดิน ทั้งที่เป็นสวนยาง และ ป่าละเมาะรก
มีเนินอิฐอยู่ ๓ เนินใหญ่ พบร่องรอยขุดสำรวจร่อนเล็ก ๆ น้อย ๆ เนินหนึ่งเป็นบริเวณที่พบรูปสำริด อีกหลุมหนึ่งพบเหรียญเงินตีตราดอกจันอย่างศรีวิชัย เศษเครื่องถ้วยพบเต็มไปหมด ทั้งดินเผาและเครื่องเคลือบจากหลายถิ่นวัฒนธรรม
เริ่มจาก ฐานรูปเคารพชิ้นหนึ่ง พบในกรุก่ออิฐ เป็นฐานปัทม์หงายงดงาม แต่ปลายเท้าทั้งสองหักเสียแล้ว จึงไม่รู้ว่ารูปอะไร
ส่วนขาสำริด มีวงคล้ายกับที่รองอะไร ไม่รู้ว่าอะไร
เช่นกันกับก้อนหินกลมมนมีรูกลาง อย่างที่พบของมนุษย์โบราณลึกถึงสมัยหิน
เครื่องดินเผามีทั้งเนื้อหยาบและละเอียด มีรอยเขม่าเผาดำ กับที่เป็นขาแหลม ที่เคลือบเขียวไข่กา และขาว อย่างสมัยถังและซ้องมีมากมายหลายรูปแบบและลักษณะ เคลือบฟ้าอย่างบัสราที่เปอร์เซียก็มีนิดนึง มีอักขระและลายต่าง ๆ ก็พบด้วย
เครื่องโลหะ มีทั้งสำริดและเหล็ก ดูเหมือนจะมีชิ้นส่วนกลองมโหระทึกกับก้อนตะกรันเหล็กด้วย
ที่แปลกกว่าที่ไหน ๆ คือ พบดินสอหิน จำนวนหนึ่ง แสดงว่าคนที่นี่นิยมเขียนหนังสือกันในสมัยนั้น
แต่ที่พิเศษเข้าไปใหญ่คือ พบเศษกระเบื้องแก้วอย่างที่ว่ากันว่ามาจากแดนเมดิเตอเรเนียนตะวันออก แถบซีเรียทุกวันนี้ จำนวนไม่น้อย
ส่วนลูกปัด เท่าที่เห็น มีหินคาร์เนเลียน กับ หินแก้วผลึก (rock crystal) ไม่เห็นอะเกต จากนั้นก็แก้วอินโดแปซิฟิคหลายสีและเป็นหลอด มีอำพันเงิน (silver sandwich) รวมทั้งเศษลูกปัดโมเสกหน่อยหนึ่ง
ส่วนที่วางบนก้นถ้วยคว่ำ บอกว่าพบที่อีกจุด เป็นแก้วม้วนพัน มิใช่หลอดดึงอย่างอินโดแปซิฟิค
ท้ายสุด มีก้อนโลหะและเม็ดข้าวสารจำนวนมากด้วย
ผมประมวลเบื้องต้นเท่าที่เห็นว่า
๑) มีสิ่งของจากหลากหลายวัฒนธรรม ทั้งของท้องถิ่นและจากจีน ผ่านตังเกี๋ย ลงมาย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปอินเดีย ถึงเปอร์เซีย เมดิเตอเรเนียน เด่นมากคือข้าวของจากจีน อินเดีย และ เมดิเตอเรเนียน
๒) อายุสมัย จากสิ่งของที่พบ น่าจะร่วมสมัยกับที่พุมเรียง - ไชยา และ เกาะคอเขา - ตะกั่วป่า คือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๕ ซึ่งร่วมสมัยราชวงศ์ถัง-ซ้อง หรือ ศรีวิชัยในย่านละแวกนี้ ซึ่งล่ากว่าที่คลองท่อม แต่พ้องกับ "candi-จันทิ" ในชวา-สุมาตรา
ท่านอื่นเห็นเป็นอย่างไรบ้างครับ ?
ยังมีอื่น ๆ อีก
แต่ขอไปเวทีเรียนรู้การจดหมายเหตุกับทีมสวนโมกข์กรุงเทพก่อนนะครับ
๒๒ กค.๕๙