logo_new.jpg
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20210201_1)
วานนี้ ที่ The Library of Congress ผมพบหนังสือ ๒ เล่มนี้
เล่มแรก #วิเชียรรำลึก พิมพ์ปี ๒๕๔๙
จะจัดเข้าหมวดเรื่องราวชีวิตหรืออัตตชีวประวัติบุคคล
ส่วนเล่มหลัง #วิชชา พิมพ์ปี ๒๕๑๙ อีก ๓๐ ต่อมา
น่าจะเข้าหมวด ประวัติศาสร์ ศิลปวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช
โดยหยิบมาอ่านอีกรอบทั้ง ๒ เล่ม
เฉพาะเล่มแรกที่พิมพ์ระลึก #ท่านอาจารย์วิเชียร_ณ_นคร
ที่จู่ ๆ ก็เจอมะเร็งลุกลามแบบผลุนผลันแล้วจบเกมส์กันในไม่ทันตั้งตัวนั้น
อ่านที่ ท่าน อ.สุธิวงศ์ / อ.ฉัตรทิพย์ / อ.ฉัตรชัย / อ.ปรีชา
กับ ๓ สมุน อุทัย-อำนวย-ชัยณรงค์
ผู้สนองงานท่านอาจารย์ตลอดมาแล้วได้ข้อคิดเพิ่มอีกมากมาย
ดังเช่นที่เฉพาะ #ท่านอาจารย์สุธิวงศ์ เขียนคำระลึกไว้ว่า ...
... จึงเปิดพื้นที่ท้องถิ่นให้เป็นตลาดของการเรียนรู้
... โดยปราศจากนัยการกดกัน หวงข้อมูล
หรือระแวงระวัง เพื่อให้แห้งตายคามือเหือนที่บางคนกระทำ ...
... เป็นผู้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ...
ร่วมจัดทำประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวบรวมและเรียบเรียงคติชนวิทยา
ร่วมจัดทำพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ ร่วมจัดทำสารานุกรมวฒนธรรมภาคใต้
ร่วมจัดประชุมสัมมา ร่วมสาธิตและปฏิบัติส่งเสริมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
อย่างจริงจังและบริสุทธิ์ใจ
... เหล่านี้ล้วนเป็นการสนับสนุนและชี้นำทางวิชาการ ...
เพื่อเสริมสร้างพื้นที่ใหม่ในพื้นที่เก่าของชุมชนและสังคม อันเป็นเนื้อนาบุญ ... "
ส่วนของท่านอื่น ๆ ได้ถ่ายกำกับมาบ้างแล้วครับ
ที่เดินทางมาเยี่ยมและสนทนาในวันที่อาจารย์วิเชียรละโลกพอดี
โดยได้ทบทวนงานของอาจารย์วิเชียร
๑) รักถิ่นฐานและท้องถิ่น
๒) มีความผูกพันกันในเครือญาติ มิตรสหาย ชุมชนหมู่บ้านและเครือข่ายหมู่บ้านสูงมาก
๓) รักความเป็นอิสระ พยายามพึ่งตัวเองก่อน รักศักดิ์ศรี หวงแหนและหยิ่งในเกียรติ ใจนักเลง สู้คน ไม่ชอบเป็นคนใช้
๔) เป็นคนมีเหตุมีผล ชอบหเหตุผลหรืออธิบายความ อาจนำเอาคติจากศาสนามาประยุกต์ในการดำเนินชีวิต ทำให้มีหลักประกอบในการพูดจา ช่างคิด
๕) ค่อนข้างจะปฏิเสธอำนาจรัจากส่วนกลาง ขณะเดียวกับที่รัฐท้องถิ่นใกล้ชิดกับชาวบ้าน
เราท่านอ่านแล้วกลับมาทบทวนตัวเองกับเพื่อนพ้องน้องพี่ในนครวันนี้
ว่ายังอย่างนี้ไหม ? เปลี่ยนกันไปเพียงไหนแล้ว
โดยผมเองนั้น ก็ยังจะเป็นเพียง #ลูกขวานอาจารย์เชียร
ที่อาจารย์บอกให้ "ไปคิดไปทำเอาเอง ที่เริ่มนี้ดีแล้ว"
กับ "#หนังสือเรียนรู้บูชา_พระบรมธาตุเมืองนคร ที่ทำนั้นดีมีคนถามหามาก
ไปกรุงเทพทุกที ก็ได้ใช้ติดมือเอาพระธาตุไปฝากเขาทุกที"
พร้อมกับที่ที่หารือกับอาจารย์ไว้ว่า
" ... น่าจะทำอีกสักเล่มเรื่องพระธาตุ ให้เป็นเล่มใหญ่สวยสมบูรณ์สำหรับคนนครได้เรียนรู้บูชาพระบรมธาตุอย่างลึกซึ่งยิ่งขึ้น ... "
ซึ่งตอนนี้ ผมก็ยังไม่ละความพยาามครับ
หารือกับท่านพระครู Siridhammapirat Yodkhun โสพิทร์ แซ่ภู่
และ นาย Surachet Keawsakun ยศไกร กาญชนะชัย เรื่อยมา
ส่วนเรื่องหนังสือบุดที่ท่านอาจารย์เป็นหัวหอกในการรวบรวมเอาไว้ได้นั้น
ปีที่แล้วเกิดเหตุร้ายมาก พวกเราก็ได้เพียรพยายาม ขอรับคืนได้ไม่น้อย
ผ่าน ศูนย์รับบิณฑบาตคืนหนังสือบุดสมุดข่อยเมืองนคร
ซึ่งตอนนี้ ก็กำลังพยายามช่วยราชภัฏนครในการฟื้นคืนคุณค่ากันอยู่ครับผม
หนังสือนี้ จะอยู่ที่นี้ตลอดไป จนกว่าคนรุ่นหน้าเขาเลิกเห็นค่า
ตามเหตุตามปัจจัยครับผม
๑ กพ.๖๔ ๐๘๒๒ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
 
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และหนังสือ
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน, กำลังยืน และข้อความพูดว่า "วิเชียร ณ นคร ป.ม. ป.ช. ชาตะ ២๙ สิงหาคม ๒๔៧៧ มรณะ มรณะ๑ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ อายุ ๗២ ปี ២ เดือน วัน"
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
อาจเป็นรูปภาพของ หนังสือ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//