logo_new.jpg
ธัชชา ... จะว่าเร็วก็เร็ว จะว่าช้าก็ช้า แต่ว่าได้ร่วมปลุกปล้ำกันมาแล้ว
TASSHA ... FastOrSlow, Go On
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20210721_3)
แล้วเมื่อวานนี้ ที่รัฐไทยน่าจะกำลังยุ่งยากมากเรื่อง
เรื่องนี้ที่ถูกตามไปร่วมขับ ก็ผ่านมติ ครม.แล้วครับ
จะว่าช้าก็ช้า จะว่าเร็วก็เร็ว แล้วแต่จะคิด
สำหรับผมนั้น ก็ทำกันต่อไป ในเมื่อถูกตามไปร่วมปลุกปล้ำ
เมื่อต้นปีนี้เองครับ
ด้วยไหน ๆ ก็ทำมาแล้วทั้งชีวิต จะอะไรกันนักกันหนาหนอ ...
ขอเชิญท่านที่สนใจมาก หาความสำราญ
แล้วมาร่วมไม้ร่วมมือกันครับผม
ผมเองนั้น ตกกระใดเป็น ผอ. #สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา
มุ่งทำหน้าที่ผู้ประสานรับใช้วงวิชาการเพื่อการพัฒนานี้
ช่วงระยะแรกนี้สักระยะหนึ่งขอรับผม
๒๑ กค.๖๔ ๐๖๕๐ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 20 กรกฎาคม 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (20 กรกฎาคม 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ ...
21. เรื่อง โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอดังนี้
1. การดำเนินโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ (โครงการฯ) โดยมีวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) หรือธัชชา เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
2. องค์ประกอบของคณะกรรมการระดับนโยบายและระดับบริหารสำหรับโครงการฯ โดยมีคณะกรรมการอำนวยการวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (คณะกรรมการอำนวยการธัชชา) และคณะกรรมการวิชาการในแต่ละด้าน
สาระสำคัญของเรื่อง
อว. รายงานว่า
1. ระบบและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ฯ) และการบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และนวัตกรรมของประเทศ โดยจะนำมาสู่วิธีการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม การสร้างเทคนิค องค์ความรู้ การพัฒนางานวิจัยใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งจะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนการวิจัยและการพัฒนากำลังคนด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ (ด้านสังคมศาสตร์ฯ) ของประเทศ ที่สอดคล้องกับการทำงานและการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติต่อไป สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบายฯ) ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 มีมติเห็นชอบแนวคิดในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ฯ ของ อว. เพื่อสนับสนุนให้ประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศสำหรับการวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ฯ และให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติต่อไป
2. อว. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งธัชชา (ตามคำสั่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ 12/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ สั่ง ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564) และจัดตั้งธัชชา เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสังคมศาสตร์ฯ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจโดยสรุป เช่น สนับสนุนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ฯ ให้เป็นคลังปัญญาระดับชาติ พัฒนา บริหารจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้ที่สำคัญ รวมทั้งบูรณาการองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ฯ ควบคู่กับองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากำลังคน นำผลการศึกษาการวิจัยและพัฒนาไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เป็นต้น โดยให้มีสำนักงานบริหารวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำนักงานบริหารธัชชา) เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่และอำนาจในการบริหารจัดการกิจการทั่วไป บริหารแผนงาน งบประมาณ และบุคลากรของธัชชา แบ่งส่วนงานภายในเป็น 5 สถาบัน ได้แก่ สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา สถาบันโลกคดีศึกษา สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ และสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น (ตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การจัดตั้งวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564) และมอบหมายผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันภายในธัชชา (ตามคำสั่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มอบหมายผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันภายในวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย สั่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) เพื่อให้การปฏิบัติราชการและขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวข้างต้นเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
3. สาระสำคัญของโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ รายละเอียดโครงการ
วัตถุประสงค์ (1) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศสำหรับการวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ฯ และการบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
(2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและวิชาการ และบุคลากรทางด้านสังคมศาสตร์ฯ ที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติ ตลอดจนเป็นคลังปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมในปัจจุบัน
(3) เพื่อสร้างความร่วมมือและระดมสมองจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย นักวิชาการ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อการวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ฯ กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
(4) เพื่อพัฒนาและเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ต่อยอดไปสู่นวัตกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม (Social Innovation) ที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายอย่างเป็นรูปธรรม และทำให้งานวิจัยเกิดผลกระทบในวงกว้าง รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และสร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของคนในท้องถิ่น
ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. 2564 - 2568
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
งบประมาณและแหล่งที่มา ในระยะแรกใช้งบประมาณจาก อว. และจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรประจำปี
แผนการดำเนินงาน
อว. ได้กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2568 สรุปได้ ดังนี้
(1) กำหนดประเด็นการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลต่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศไทย ซึ่งในระยะแรกประกอบด้วยสถาบันเฉพาะทาง 5 ด้านหลัก (5 สถาบัน) ได้แก่ สุวรรณภูมิศึกษา โลกคดีศึกษา เศรษฐกิจพอเพียง พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ และช่างศิลป์ท้องถิ่น
(2) กำหนดให้มีคณะกรรมการ 2 ระดับ คือ คณะกรรมการอำนวยการธัชชา และคณะกรรมการวิชาการของสถาบันต่าง ๆ
(3) สถาบันภายในธัชชาทั้ง 5 สถาบัน จัดทำแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิบัติการด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างผลผลิตและผลลัพธ์ใน 4 ด้านหลัก คือ องค์ความรู้ พัฒนาบุคลากร การวิจัย และการนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดผลกระทบสูงต่อประเทศ
(4) สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในรูปแบบ Consortium ด้านสังคมศาสตร์ฯ อย่างบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ตลอดจนภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนทั่วทุกภูมิภาคตามเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น
(5) อว. จะจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้สำหรับสนับสนุนกิจกรรมของสถาบันในแต่ละด้าน
(6) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอทุกปี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (1) พัฒนาองค์ความรู้และกระบวนทัศน์ใหม่ในด้านสังคมศาสตร์ฯ ที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม และสามารถต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(2) เกิดภาคีเครือข่ายด้านสังคมศาสตร์ฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การพัฒนาบุคลากรของประเทศ และให้เกิดความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อประเทศไทยอย่างถูกต้อง
(3) สร้างนักวิชาการ/นักวิจัยในภาคีเครือข่าย เพื่อโอกาสในการพัฒนา และใช้ประโยชน์จากกิจกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ฯ
(4) รวบรวมฐานข้อมูลองค์ความรู้ที่สำคัญและภูมิปัญญาด้านสังคมศาสตร์ฯ
 
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//