logo_new.jpg
เพิ่งเจอนี้ ที่หมอ รังสิต ทองสมัคร์ เอาไปขายครับ
JustSawThis, TheCovidInfectedDoctorPost
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20210730_2)
ลองตามงานคุณหมอ รังสิต ทองสมัคร์ เพื่อหาเรื่องคุยคนติดโควิด
เจอนี้ ในชุด นคร(มี)วัด #๗๙ ที่คุณหมออกเวียนถ่ายรูปวัดเมืองนคร
แล้วทยอยโพสต์เรื่องประกอบ
แม้กระทั่งวันที่รู้ตัวว่าติดโควิด ก็กำลังนั่งรถจะไปถ่ายรูปวัด !!!
ที่วัดแม่เจ้าอยู่หัวนี้
คุณหมอเอาที่เราเคยเขียนให้ศิลปวัฒนธรรมเมื่อจะ ๒๐ ปีก่อนมาแนบให้อ่าน
คุณหมอ Amorn Rodklai แซวว่า
... อ่านแล้วทึ่ง พี่บัญชา นับเป็นปราชญ์คนสำคัญคนหนึ่งของนคร
ไม่รู้พี่บัญชาเรียบประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชแบบนี้ไว้บ้างหรือเปล่า
เขียนไว้เยอะ ท่านรวบรวมไว้ดีมากครับ
ตะกี่หมอนี่ Bunchar Pongpanich ก็เลยตลบตามว่า
อย่าทึ่งมากครับ แต่ว่าเขียนไว้เยอะเกินอย่าง รังสิต ทองสมัคร์ ว่าแหละ
ไม่มีอะไรทำครับ นี้ ๒๐ กว่าปีก่อนโน้น
ลองอ่านกันเองนะครับ ในศิลปวัฒนธรรม ที่เขาเพิ่งเอามาโพสต์
ผมสรุปตอนท้ายที่สำคัญไว้ ๒ ประเด็น
จากเค้าเรื่องนางเลือดขาวทั้งสามที่ยกมาข้างต้น แม้จะยังมีตำนานนางเลือดขาวอีกหลายสำนวน หลายท้องถิ่น โดยสำนวนเมืองพัทลุงนับเป็นสำนวนหลักที่แพร่หลายกว้างขวางมานาน พอจะเปรียบเทียบแง่มุมระหว่างสามสำนวนเพื่อหาบทสรุปและความเข้าใจได้ว่า นางเลือดขาวคือแบบอย่างของผู้หญิงดีและมีบุญแห่งเมืองใต้ ในละแวกเครือข่ายความสัมพันธ์ทางภูมินิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ปากพนัง ตรัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่พัทลุง สงขลา ตรัง และนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ปรากฏหลักฐานโบราณสถาน วัตถุ และชื่อบ้านนามเมืองสอดคล้องต่อเนื่องเป็นเรื่องราวต่างๆ มากมาย ในลักษณะตำนานปรัมปราประจำแต่ละท้องถิ่น ผูกให้เชื่อว่าน่าจะเก่าแก่สัมพันธ์ถึงยุคสร้างบ้านสร้างเมืองในบริเวณนี้ มีเรื่องราวที่สรุปไม่ได้ชัดว่าเป็นของดั้งเดิมหรือเติมแต่งถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับลังกาและสุโขทัย แต่สอดประสานยุคสมัยได้อย่างดี โดยเฉพาะที่เกาะลังกาวีนั้นน่าจะมีอิทธิพลจากเรื่องนางเลือดขาวในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตรัง ปากพนัง ไปสร้างเรื่องใหม่ตามเงื่อนไขของสังคมวัฒนธรรมประเพณี ดังตารางเปรียบเทียบท้ายนี้
ภายใต้ความเข้มแข็งโดดเด่นด้านกระบวนการที่มิได้เน้นความถูกถ้วนทางประวัติศาสตร์ดังที่โครงการระบุไว้ชัด ด้วยทิศทางที่กำลังก่อและขยายตัวของ “แม่เจ้าอยู่หัวนางเลือดขาวเมืองนครฯ” นี้ ควรที่จะได้รับการสานต่อเสริมสิ่งที่ชุมชนชาวแม่เจ้าอยู่หัวได้เริ่มแล้วเพื่อความถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น ดังที่ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้ให้ข้อสังเกตว่า “พึงระวังการทำประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นตำนาน แต่ควรทำตำนานให้เป็นเสมือนประวัติศาสตร์” ซึ่งงานของชาวแม่เจ้าอยู่หัวนี้ยังขาดการรวบรวม ประมวล ตรวจสอบ สังเคราะห์อีกหลายประเด็น มีลักษณะค้นหาเชิงเชิดชูศรัทธาเข้าหาศูนย์กลาง มากกว่าการเชื่อมโยงยอมรับนับถือเป็นเครือข่าย ที่อาจจะสร้างความคลาดเคลื่อนขยายเป็นความขัดแย้งเชิงลึกระหว่างต่างชุมชนในสายศรัทธานางเลือดขาว หรือยิ่งทำให้กลายเป็นเรื่องปรัมปรากร่อนคุณค่าและความหมายไปอย่างน่าเสียดาย
ทั้งนี้ผมมีสมมุติฐานว่านางเลือดขาวหลักนั้นยังน่าจะเป็นตามตำนานทางพัทลุงที่เคยเดินทางผ่านมาสร้างวัดแม่เจ้าอยู่หัว (ที่ตำบลแม่เจ้าอยู่หัวปัจจุบัน) เมื่อคราวกลับจากสุโขทัย โดยงานนี้ได้นำเรื่องราวฉบับคุณกำพล จรุงวาส (ที่ไม่ทราบที่มาและต่างจากตำนานอื่นๆ-ผู้เขียน) มาประกอบตอนต้น ประมวลกับชื่อบ้านนามเมืองเรื่องเล่าในชุมชนท้องถิ่น และลำดับกษัตริย์กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราช (ที่ไม่ทราบที่มา-ผู้เขียน) มาแต่งต่อเติมด้วยความพยายามที่จะทำเรื่องราวและประวัติศาสตร์ให้ชัด ทั้งๆ ที่ออกตัวไว้แต่ต้นแล้วว่าไม่ได้หวังให้ได้ชัด
บทความนี้เขียนขึ้นด้วยความชื่นชมเชื่อมั่นในชุมชนชาวบ้าน ในกระบวนการของชาวบ้าน ด้วยการเข้าไปร่วมและสานต่อสิ่งที่ชุมชนชาวบ้านได้ริเริ่มทำให้เห็นเป็นต้นเค้าตัวอย่างแล้ว ควรจะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมพัฒนาให้สมบูรณ์เป็นประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้นต่อไป ตามกำลังซึ่งผมมีสติปัญญาเพียงเท่านี้ ใคร่ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายช่วยกันเสริมเติมติติง โดยเฉพาะข้อสังเกตต่างๆ ของผมที่น่าจะไม่เข้าท่าอยู่ไม่น้อย
ท่านที่สนใจตามไปเองนะครับ
หรือจะตาม นคร(มี)วัด ของหมอรังสิตจนครบ ก็ขอเชิญครับผม
บ่ายวันอาทิตย์ที่ ๑ สค.นี้ เจอ ๒ หมอนี่ กับอีกหมอ และ ๒ พระ
ที่เพจสวนโมกข์กรุงเทพครับผม
๓๐ กค.๖๔ ๐๗๐๐ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
 
อาจเป็นรูปภาพของ กลางแจ้ง, อนุสาวรีย์, วัด และข้อความพูดว่า "นคร(มี)วัด นคร วัดแม่เจ้าอยู่หัว แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ SA"
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//