logo_new.jpg

มนต์โรมัน...ต้นตอการ "บ้าจี้" ที่เมืองไทย
The Power of Roman Image...in Thailand 
(bunchar.com รอยลูกปัด 20170220_9_2)

เมื่อตอนลงไปงาน ๑๒ ปี สึนามิ ที่ฝั่งอันดามันแล้วมีจังหวะไปเยี่ยมเยือนเพื่อพ้องน้องพี่ที่แถวนั้น ผมได้ข่าวว่ามีการพบจี้ห้อยรูปเหรียญโรมันทองคำอีก ๑ ชิ้น บอกกันว่าพบที่ชายทะเลชายหาดปากน้ำบางกล้วย ไม่ไกลจากที่พบส่วนประกอบของแผงไม้ที่น่าจะเป็นบางส่วนของเรือไม้สมัยเก่าที่ยังไม่รู้ว่าจะอย่างไรกันต่อ โดยผมได้ขอให้พาลงไปดูจนถึงที่ ส่วนเหรีญที่ว่านั้นไม่ได้เห็น เพราะผู้พบไม่อยู่

ไม่กี่วันนี้ ผมเพิ่งได้รับมาเก็บไว้ในคลังของมูลนิธิแล้ว ดร.บริจิตต์ ที่เวียนศึกษาเรื่องนี้เธอดูรูปแล้วบอกว่าอย่างนี้

"These are interesting news. The coin from BKN with the two holes seems to be a genuine Roman gold coin of Domitian (81-96 CE), although very worn. The weight would be intersting. The alternative would be a very good copy, as they are known from India. The two holes are also a characteristic for Roman gold coins found in India (and their Indian imitiations) to be worn as a pendant. However, above the two holes there is something to be seen, which looks to me like a bit of gold wire, possibly from a spiral type of suspension loop as on other pendants from Khlong Thom. Anyway, it would be the first find of a genuine Roman gold coin in Thailand."

จากการทบทวนเปรยบเทียบกับอันอื่นที่พบในไทยและเอเชียอาคเนย์ที่ ดร.บริจิตต์ ศึกษาและรายงานไว้ในอีก ๒ บทความซึ่งจะอยู่ในหนังสือเล่มใหม่ "รอยโรมันฯ" ที่กำลังจะเข้าโรงพิมพ์ สรุปว่าทั้งนั้นเป็นจี้ที่ทำจำลองจากเหรียญโรมันซึ่งมีลักษณะเฉพาะในเอเชียอาคเนย์จนเชื่อว่าน่าจะทำที่นี่ มีทั้งทำด้วยทองคำกับดีบุก แถมเจอเบ้าหินสำหรับทำกับคล้ายที่ทำค้างไว้ไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วย โดยเหรียญแท้นั้น มีแต่ทองแดงที่พบที่อู่ทองเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้น ชิ้นนี้อาจเป็นเหรียญทองคำแท้เหรียญแรกและเดียวที่พบแล้วก็เป็นได้

ในขณะที่ในอินเดียนั้น พบเหรียญทองคำจำนวนมาก และลักษณะการเจาะทำที่ห้อยแขวนก็เป็นเป็น ๒ รูอย่างนี้ ในบทนำหนังสือว่าด้วยเหรียญทองคำโรมันของพิพิธภัณฑ์ที่เมืองไฮเดอราบัดที่ผมกำลังจะไปไม่กี่วันนี้ เขาสรุปไว้ว่า

๑) การพบเหรียญทองคำโรมันครั้งแรกมนอินเดียนั้นพบที่เมือง Nellore ใกล้มัทราสที่ทุกวันนี้เรียกว่าเชนไน เมื่อปี คศ.๑๗๘๗ เป็นเหรียญจักรพรรดิฮาเดรียน พระนางฟอสตินา และ จักรพรรดิแอนโตนินุส ไพอุส จากนั้นก็พบเรื่อยมา ที่มากสุดคือพบทีเดียว ๑,๕๐๐ เหรียญที่ Nalgonda และในการขุดค้นทางโบราณคดีที่นาคารชุนโกณฑะซึ่งพบเหรียญของจักรพรรดิฮาเดรียน ออกัสตัส จักรพรรดิทะเบอรุส และพระนางฟอสตินา แล้วก็มีพบต่อมาเรื่อย ๆ โดยรวมแล้วมีพบเหรียญของ ๒๕ จักรพรรดิ-พระนาง คาบตั้งแต่ ๒๗ ปี ก่อน ค.ศ.จนถึง ค.ศ.๕๑๘ แต่ที่เขารายงานในเล่มนี้ เป็น ๕๙ เหรียญที่พบพร้อมกันในกรุที่ Penuganchiprolu มีรูปและผลการศึกษาว่าเป็นของจักรพรรดิพระองค์ไหนจำนวนเท่าไร แทบทั้งน้ันมีพบทำจี้ที่พบในประเทศไทย รวมทั้งจี้อันใหม่นี้ซึ่ง ดร.บริจิตต์บอกว่าอาจจะเป็นเกรียญแท้ของจักรพรรดิ Domitian ครองราชย์ ค.ศ.๘๑ - ๙๖ แต่ดูรูปแล้วยังไม่ค่อยแน่ใจ

เอาไว้เธอมาเมืองไทยเดือนมีนาคมนี้ น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนกว่านี้ครับ.

แต่ที่ยิ่งกว่านั้น น่าจะสรุปได้ว่าคนบนผืนแผ่นดินไทยเรานี้ "บ้าจี้" กันมาแต่ไหน ๆ อย่างน้อยก็ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ถึงวันนี้ถึงได้นิยมสร้างพระพิมพ์ตลอดจนรูปเคารพขายกันเต็มไปหมด.

๒๐ กพ.๖๐

 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//