รอยลูกปัด
- Details
- Written by Super User
- Category: รอยลูกปัด
- Published: 12 November 2024
- Hits: 8
นี้คชลักษมี หรือ มายาเทวี ? พี่น้องว่าไงครับ ?
ThisTheGajaLaksami Or MayaDevi ?
(20241109_3 รอยลูกปัด)
ตลอดวันนี้ ที่คลัง #สุธีรัตนามูลนิธิ มีแขกจากอเมริกามาขอศึกษา
คือ John Guy ภัณฑารักษ์อาวุโสจาก The MET New York
ที่พวกเราเคยเชิญมาเป็นวิทยากรการสัมมนาว่าด้วยทวารวดี
ให้ อพท. เมื่อหลายปีก่อน Darunee Wiriyaiamphigoon
และผมเคยขอให้เขาช่วยเสนอบทความคราวศึกษา #สุวรรณภูมิ แต่เขาไม่ว่างพอ
John Guy เคยอยู่ที่ V&A Museum ที่ลอนดอน ก่อนจะมาที่ The Met
ได้จัด ๒ อภิมหานิทรรศการระดับโลกเมื่อเร็ว ๆ นี้
เรื่อง The Lost Kingdom ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และเรื่อง Tree & Serpent เน้นของอินเดียโบราณ
โดยคราวหลังนี้ John Guy ขอนำภาพ #วงแหวนโมริยะ กับ #ต่างหูสุงคะ ไปลงด้วย
และเขาอยากมาเรียนรู้เพิ่มเติมถึงนานาความก้าวหน้าที่พวกเราศึกษาค้นคว้าและรวบรวมมาถึงทุกวันนี้
โดยนี้คือหนึ่งในสิ่งที่ชวน John Guy ดูพร้อมกับถามว่าจะเรียกนี้ว่าอะไร ?
พร้อมกับถามทั่ว ๆ ไปว่าใครว่าไง
Mongkonchai Chaichana บอกว่า ... น่าสนใจมากครับ
Songwut Phatkaew ถามว่า ... อันนี้ 2 ชิ้น หรือถ่ายหน้า-หลัง ครับ
... หน้าหลังครับ
นิวัตร์ โฮ้เต้กิ้ม ... #พิธีสถาปนาแม่เมือง
Passakorn Charernsubsakul ... #พระแม่ผู้สร้างโลก หรือเปล่าครับอาจารย์
คุณหมอ ทาง ข้าม ... มนุษย์ต่างดาว ส่วนข้างคือคนบนโลก
เจตส์ ตรังเค ... #แม่โภควดี _ พระอินทร์เนรมิตขึ้น พระอิศวรชุบต่อ พระอภิธรรม แต่งให้งาม (*ดู วรรณกรรมคำกาพย์เรื่องนางโภควดี )
สายลมลอย นะ สวนขี้คร้าน ... งาม
Tain Gree ... ผมมองเป็น #มหามายาเทวี / พระลักษมี ครับ
... คิดเหมือนกันครับผม
@พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ โชติปญฺโญ ... นึกถึง #นางหริตี
... กินเด็ก ... หมันแล้ววว
Opas Tantithakura คุณหมอครับ ChatGPT ให้ข้อมูลดังนี้ครับ -
This image shows a gemstone with intricate engraving in the form of human figures, likely done in a classical style resembling ancient Greek or Roman intaglios or cameos. Here’s a breakdown of what this type of gemstone typically represents, its possible historical context, and where similar designs are often found:
1. Type of Gemstone Art:
Intaglio: This refers to a design carved into the stone, creating an incised effect. It’s often used for seals or stamps because the engraved design creates a raised impression when pressed into wax or clay.
Cameo: This style has a raised, relief-like design carved on the gemstone, where the background is carved away, leaving the figures to appear raised above the surface. Cameos are typically used in jewelry such as brooches, rings, and pendants.
From the image, this appears to resemble an intaglio, as the figures seem to be recessed rather than raised.
2. Possible Themes and Figures:
The design seems to depict a group of figures, possibly engaged in a dance or ritual. This composition is common in ancient Greco-Roman art, where themes often draw from mythology, everyday life, or religious ceremonies.
Three Figures in Art: Often, three figures represent the Three Graces (Charites) in Greek mythology, associated with beauty, charm, and creativity, or the three Fates (Moirai), who control destiny.
Dionysian Themes: Another possibility is that this represents a Dionysian scene, where followers of Dionysus (the god of wine, revelry, and ecstasy) are shown in dance or celebration. Dionysian scenes are common in ancient gems and often include female followers, known as Maenads.
3. Historical Context:
Greek and Roman Jewelry: Engraved gemstones like this were popular in ancient Greece and Rome, typically crafted from semi-precious stones like agate, onyx, sardonyx, or chalcedony. The designs served not only as decorative art but also as symbols of status, personal belief, or protective amulets.
Mythological Motifs: Mythological and symbolic imagery, like dancing figures or gods, was believed to offer protection, bring good fortune, or show devotion to certain deities.
4. Materials and Craftsmanship:
Engraving such intricate designs on gemstones requires skilled craftsmanship, often done using small chisels or drills. In ancient times, artisans would use abrasive powders to achieve fine details, which made these pieces highly valued.
Common Stones: Quartz, chalcedony, and jasper are popular materials for intaglios due to their hardness and clarity, which preserve detail well. The stone here has a translucent quality, suggesting it could be aquamarine, amethyst, or quartz.
5. Similar Artifacts:
Museum Collections: Many museums with classical collections, like the British Museum or the Metropolitan Museum of Art, have examples of Greco-Roman engraved gemstones, often depicting similar mythological or symbolic themes.
Modern Reproductions: Due to their historical appeal, engraved gemstones are still popular today, both as reproductions in jewelry and as collectibles. Antique-style intaglios are often crafted to resemble their ancient counterparts.
Conclusion
If the gemstone in your image is an antique, it could be an original artifact from the classical period (Greek, Hellenistic, or Roman). Alternatively, it might be a modern reproduction inspired by classical themes. Either way, it is a striking example of the intricate artistry associated with ancient intaglios and cameos. Identifying its exact origin or value would require closer examination by an expert, possibly in antique jewelry or classical archaeology.
... เดี๋ยวเล่าครับ
Prakas Chareonrasadara ... #พระนางสิริมหามายา กระมังครับ
Siriluck Thanatit ... นึกถึง #พระนางสิริมหามายากำลังคลอดพระพุทธเจ้า (ขออนุญาตพูดภาษาธรรมดาค่ะ)
... คิดตรงกันครับ
โดย John Guy บอกว่า ถ้าตามบริบทเดิมก็เรียกกันว่า #คชลักษมี
เพราะมีพบในหลายที่เป็นรูปสตรีมีช้างรดสรงสองฝั่ง
พบทั้งในบริบทฮินดูและพุทธ
โดยชิ้นนี้ เป็นหินแก้วผลึก Rock Crystal เมื่อใสแจ๋ว
แกะเป็นแผ่นบางแบนหลังเต่านูนเล็กน้อย ขนาดประมาณหัวแม่มือ
ด้านเรียบแกะบาง ๆ เป็นรูปที่เห็นได้ชัดทางด้านนูน
เห็นเป็นรูปสตรีสมบูรณ์ไม่นุ่งห่มอะไร
นั่งห้อยขาขวา พับขาซ้ายยกมือซ้ายคล้ายถืออะไรไว้
หากดูดี ๆ เหมือนมีก้านอะไรขึ้นมารองก้นสตรีท่านนี้
กับอีก ๒ ก้านแยกออกสองข้าง
แล้วเหมือนมีอะไรเชื่อมต่อไปบานรองสองบุรุษที่ยืนอยู่สองข้าง
กำลังยกสองแขนชูขึ้นคล้ายถืออะไรกำลังรดเทลงบนศรีษะสตรีอยู่
โดยบุรุษทั้งสอง นอกจากเหมือนนุ่งผ้าแล้วยังเหมือนว่าสรวมหมวกทรงแหลมด้วย
John Guy ดูว่าหากหมวกทรงนี้ ชวนนึกถึงคนจากแดนตะวันออกกลาง
และที่สามก้านชูขึ้นมานั้น น่าจะเป็นก้านชูดอกบัวขึ้นมารองไหม ?
John Guy คิดว่านึกถึง #คชลักษมี มากที่สุด
ส่วนผมนั้นคิดต่างจากคชลักษมีที่ใคร ๆ ชอบมอง
สอดคล้องกับที่ท่าน อ. Tain Gree หมอ Prakas Chareonrasadara
และคุณ Siriluck Thanatit เสนอไว้
และใกล้กันกับที่ อ. นิวัตร์ โฮ้เต้กิ้ม คุณ Passakorn Charernsubsakul เสนอ
ส่วนที่ อ. เจตส์ ตรังเค เสนอนั้น น่าจะไปกันไม่ถึง
คือผมมองว่าคือ รูป #มายาเทวี
โดยเรื่องนี้ท่าน อ.พุทธทาส เคยศึกษาค้นคว้าและเสนอไว้
ว่าจากการเปรียบเทียบภาพสลักพุทธประวัติที่สาญจี ภารหุต อมราวดี
ที่ยังไม่มีการสร้างทำรูปแทนพระพุทธองค์นั้น
พบว่า ณ ตำแหน่งปางประสูติ ก่อนตรัสรู้ ปฐมเทศนา และ ปรินิพพาน
มักเห็นเป็นภาพสตรีนั่งมีช้างคู่ชูนำรดสรง
สอดคล้องกับพุทธตำนาน ที่กล่าวว่าหลังมีพระประสูติกาลแล้ว
มีการรดสรงอภิเษกพระกุมาร ซึ่งอาจปรากฏเป็นช้างคู่ หรือบุรุษคู่ก็ได้
และท่านอาจารย์พุทธทาส เสนอว่านี้ในบริบทพุทธสมัยก่อนโน้นคือรูปมายาเทวีปางประสูติ
ซึ่ง ท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ก็เห็นเป็นเช่นเดียวกันนี้
โดยผมเองเคยแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการทางอินเดียหลายท่าน
ต่างก็บอกว่าการเกิดรูปที่เรียกกันว่าคชลักษมีในบริบทพราหมณ์นั้น
เกิดหลังจากสมัยสาญจี ภารหุต อมราวดี ซึ่งอาจรับไปจากทางพุทธก็ได้
แต่เมื่อมาพบเห็นกันในภายหลังจึงเรียกกันว่าคชลักษมีไปเสียทั้งหมด
ทั้ง ๆ ที่จริง ต้องพิจารณาถึงช่วงเวลาและบริบทที่เกี่ยวข้องด้วย
ส่วนที่ท่าน อ. Opas Tantithakura ถาม ChatGPT มานั้น
AI เขาเก่งพอสมควรที่ดูรู้ว่าเป็น Intaglio
ซึ่งเขาน่าจะมีฐานข้อมูลความรู้แต่ฝ่ายโลกกรีก-โรมัน เท่านั้น
จึงตอบมาได้แต่แนวนั้น ไม่ข้ามฟากมาทางโลกตะวันออกและพระพุทธศาสนาได้เลย
ที่ยิ่งกว่านั้น นี้ก็ยังไม่รู้ว่านี้เป็นของทำในอินเดีย
หรือว่ามาทำกันที่ที่เป็นแผ่นดินไทยในทุกวันนี้
โดยพื้นที่ที่พบวัตถุชิ้นนี้นั้น พบที่เขาชาย ในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง
ซึ่งอาจจะประมาณช่วงพุทธศตวรรษต้น ๆ
จึงอาจจะเป็บบริบทพุทธ ยุคก่อนการสร้างรูปเคารพ มากกว่าพราหมณ์ฮินดู
ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่าน่าจะเป็นรูป #มายาเทวี มากกว่า #คชลักษมี ด้วยประการฉะนี้
โดยที่เหนือขึ้นไปจากเขาชาย ในเขตเกาะสองก็พบรูปลักษณะคล้าย ๆ นี้
สลักบนหินเช่นกัน
ขอตอบตามนี้เป็นเบื้องต้นครับ ท่านใดเห็นเป็นอย่างไร
หรือมีข้อมูลความรู้แลกเปลี่ยนอย่างไร กรุณาบอกด้วยครับผม
๙ พฤศจิกา ๖๗ ๒๐๒๐ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1667412604153855&set=pcb.1667472977481151