logo_new.jpg

การค้นพบใหม่ที่ท่าฉาง
โบราณคดีชาวบ้าน ลำดับที่ ๗
The ThaCharng Discoveries : Folk Archaeology no 7
(bunchar.com รอยลูกปัด 20170808_7)

Gob Siwapat นายโพธิพันธ์ พานิช Rin Chan Sru ทวีศักดิ์ สุขรัตน์ จิตรหรรษ์ โล เหมะกุล

งานนี้ที่จัดที่ท่าฉาง ผมจึงแจ้งความจำนงว่าขอนอนที่ท่าฉาง
ด้วยข้องอยู่ในใจมานานแล้วว่า 
ในเมื่อพบลูกปัดทั้งที่ท่าชนะ ไชยา เขาศรีวิชัย ควนพุนพิน
แล้วทำไมจะไม่มีพบที่ท่าฉางบ้างหรือ ?

ท่านอาจารย์พุทธทาสเขียนในโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอนว่า

"...ที่รอบอ่าวบ้านดอนนี้...ก็มีนิยายพื้นเมืองซึ่งเล่าได้ คนแก่ ๆ เล่าให้ข้าพเจ้าฟังถึงเรื่องพระยายุมบาซึ่งมีเรือมากเป็นกองทัพเรือ เขาถ่านที่อยู่ติดกับอ่าวบ้านดอนในเขตอำเภอท่าฉางนั้นคือที่ผลิตถ่านเป็นการใหญ่ของพระยายุมบา เขาสายสมอนั้นก็คือที่รวมทำสายสมอของพระยายุมบา อะไร ๆ ในแถบนี้เกี่ยวกับพระยายุมบาทั้งนั้น และเล่ากันมาไม่รู้ตั้งแต่ครั้งไหน..."

"...เมื่อพิเคราะห์ดูคำว่ายุมบาในที่นี้จะเห็นเค้าเงื่อนว่าน่าสนใจอยู่ อักษร ช ในบาลีหรือสันสกฤตย่อมออกเสียงเป็น ย ในภาษาไทยเสมอ ฉะนั้น ยุม ของพื้นบ้านก็คือ ชุม และตามที่ชาวปักษ์ใต้ย่อมทราบกันทั่วไปว่ารอบอ่าวบ้านดอนออกเสียงเป็นการเติมสระอุให้แก่คำที่ไม่มีสระอุ เช่น คน ว่าคุน ลม ว่าลุม ฉะนั้นชุมก็คือ ชม หรือ ชัม ในบาลีนั่นเอง ชุมบาก็คือชัมบา และชัมบาก็คือชาบาหรือชบานั่นเอง..."

โดยก่อนหน้านั้น ท่านอธิบายว่าด้วยซาบาก ว่า

"ในจดหมายเหตุอาหรับทั้งสิ้น มีชื่อมหาราชแห่งซาบาก วงโบราณคดีเป็นพ้องกันทั้งสองค่ายว่าได้แก่พระเจ้ากรุงศรีวิชัยหรือราชาไศเลนทร หรือราชาแห่งชวากะ แล้วแต่จะพวกไหนเรียก...พ่อค้าอาหรับชื่อสุไลมานได้ท่องเที่ยวมาในอาณาจักรซาบากเมื่อปี พ.ศ.๑๓๙๔ ได้บันทึกข้อความทั้งหมดตามที่ตัวได้พบไว้ มีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งได้รับสมอ้างเข้ากับข้อความที่ว่าไศเลนทรปราบเจนละน้ำ(คือเขมรตอนใต้) เรื่องราวสนุกดี ดังต่อไปนี้ ..." (โปรดหาอ่านในโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอนฯ หน้า ๕๙ - ๖๐)

ซึ่งสรุปคือจดหมายเหตุอาหรับเรื่องนี้พ้องกับนิทานพื้นบ้านที่ท่าฉางเรื่องพระยายุมบา โดยท่านอาจารย์ยังเขียนอีกว่า

"...ที่น่าขบขันกว่านั้นอีกก็คือ คนแก่บางคนที่ยังมีชีวิตอยู่เวลานี้ เล่าว่าเขาเคยเห็นกองสายสมอเหล็กที่เขาสายสมอ แต่จับเข้าเป็นของร่วนเป็นสนิมเหล็กผงไปทั้งนั้น พวกที่ไปเที่ยวเขาสายสมอในวันสงกรานต์ลองเหลือบตาดูให้ทั่ว ๆ บางทีจะเป็นโชคดีที่จะได้มีโอกาสเป็นสายสมอของพระยายุมบาที่ทำเป็นการใหญ่ถึงกับตั้งโรงถ่านนั้นด้วย"

โดยในบันทึกของชาวอาหรับ "...ยังมีต่อไปว่าพระราชาแห่งซาบากนั้นร่ำรวยมากกว่าพระราชาใด ๆ ในแถบที่เขาผ่านมา เก็บภาษีเป็นทองคำจนถึงกับส่วนหนึ่งหลอมเป็นแท่งอิฐแท่งหนึ่งแล้วทิ้งลงไปในสระข้างตำหนักประทับร้อนทุกวันเป็นประจำ...รายได้ส่วนใหญ่ของพระราชาได้มาจากภาษีการชนไก่ พอไก่ตัวใดชนะ ไก่ตัวนั้นตกเป็นของพระราชา เจ้าของต้องถ่ายเอาไปด้วยทองคำครึ่งหนึ่งของทองคำที่ชนะไก่ตัวนั้นได้มาในวันนั้น..."

ปรากฎว่าในหมู่ผู้ที่มาร่วมงานวันนั้น มีสามสหายที่มากันแต่เช้า อ.ยอร์ช กับ นายโล ๒ หลานท่านอาจารย์พุทธทาสที่ตามผมมาจากสวนโมกข์ แล้วก็คุณอรรณพ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ชาวท่าฉาง แล้วตามผมเล่าอย่างตั้งใจ ระหว่างบรรยายก็บันทึกไว้เป็นวิดีโอ แถมยังเอารอยลูกปัดที่เก็บไว้นานแล้วมาให้ลงนาม พร้อมกับบอกว่าเป็นลูกพี่ลูกน้องกับเฮียอัมรินทร์

พอผมถามว่าแล้วที่คอนั้นลูกปัดที่ไหนครับ ?

ของท่าฉางนี้แหละครับ พบในสวนปาล์มของเอง มีแต่สีแดงอิฐเม็ดใหญ่ กับ เสา เท่านั้น ผมกลัวเอาไม่อยู่ ก็เลยสั่งหินดินทราบมาลงถมทับไว้เสียเลยครับ กลัวสวนจะพัง ยั้งไม่อยู่

ก็ฝากศึกษาค้นคว้ากันต่อก็แล้วกันนะครับ 
ส่วนว่าจะเจอแท่งทองของพระยายุมบา
หรือว่าโซ่สายสมอสนิมกินกันไหม

บอกกันบ้างนะครับผม.

๘ สค.๖๐

ปล.ฝากใครส่งต่อให้คุณอรรณพด้วยนะครับ
แล้วก็ได้ข่าวแว่ว ๆ ว่า ที่ท่าทองกาญจนดิษฐ์ มีคนพบและกำลังซุ่มอยู่ ใครรู้บอกบ้าง
ขอแค่ดูตัวอย่างครับ

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//