logo_new.jpg
ต่อจากการเผาไล่ปรอทที่ทาไว้ทั่วองค์พระจนเหลืองรอบและเย็นแล้ว
คือการขัด ล้าง ฟอก และ ปัดผิวทองให้สะอาดและวาวทอง
ช่าง
เณรอ๊อด วัดจันทาราม
กับคณะ ก็เชิญองค์พระลงน้ำในโคม (กาละมัง)
แล้วลงมือล้างขัดด้วยแปลงทองเหลืองตลอดองค์โดยเฉพาะที่คราบดำ
จากนั้นจึงนำ #น้ำมะคำดีควาย ซึ่งขยี้ตีแตกฟองหน่อย ๆ มาขัดฟอก
" ... ไซ๋ไม่ใช่สบู่หรือผงซักฝอกสมัยใหม่ ... "
" ... นั่นเป็นด่าง เกิดคราบ แต่นี้เป็นกรดอ่อน ๆ สะอาดหวา ของใช้กันมาแต่ไหน ๆ ใช้ดี ... " คือคำตอบ
" ... แล้วลูกปัดพวงนั้น ? ... "
... เอามาปัดผิวทองให้เรียบและเป็นมันวาว ... "
" ... อ้าว !!! นี้ม่ายที่เป็นที่มาของชื่อเรียกคนไทยว่า #ลูกปัด
เพราะเอามาปัดขัดผิวโลหะโดยเฉพาะทอง ??? ... " ผมฉงน
" ... ไม่รู้ด้วย แต่ว่าวงการทำถมที่นคร ใช้ลูกปัดกันมาแต่ไหน ๆ
ใคร ๆ ก็ปักกันพันนี้เพแหละ ... "
ก็ไม่รู้ได้แน่ ว่าใช่นี้ไหม ที่เป็นที่มาของการเรียกเม็ดพวกนี้ว่าลูกปัด
ชวนให้ผมคิดต่อถึงที่คนอู่ทองก็เรียกเจ้าเม็ดพวกนี้ว่า "#ลูกกำปัด"
อย่างไม่รู้ว่าทำไมถึงเรียกอย่างนั้น
แต่พอดูให้ดี และลอง "กำ(แล้ว)ปัด" ผิวทองพระ " ... อ๊ะ ๆ ใช่เลย ... "
นี้น่าจะคือที่มาแน่แล้ว
ส่วนที่เคยสงสัยและยกเป็นอีกข้อสันนิษฐานนั้น น่าจะไม่ใช่เสียแล้ว
คือที่ว่า แหล่งวัตถุดิบและผลิตใหญ่ดั้งเดิมของอินเดีย
ตลอดกว่าพันปีมาจนถึงทุกวันนี้นั้นอยู่ที่ #เมืองกำปัด #Khampat ไม่น่าจะเข้าเค้าเท่านี้
นี้ กำปัด ชัด ๆ เลยครับ
ชาวลูกปัดว่าไง ?
เชน ชุมพร
สุรัตน์ รัตนวิไล
Somboon Patimaarak
เนาวรัตน์ สิบพลาง
ขวัญทิพย์ ชะเอม
Prakas Chareonrasadara
วรสิทธิ์ พิมพ์บุญมา
Gob Siwapat
เอกณัฏฐ์ รุ่งสินอัญยาพร
ฯลฯ
๑๓ พย.๖๓ ๐๘๑๒ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//