logo_new.jpg

JanDeeNagara @ ChangKlang NST (2) 
นครจันดีที่ช้างกลาง 
ระหว่างทางจากคลองท่อมถึงนคร :

แต่ก่อนมากันอย่างไร ?

ในบทความ จากตะวันตกสู่ตะวันออก, ตามเส้นทางชาวบ้าน...ฝั่งทะเลกระบี่ โดย อาจารย์กลิ่น คงเหมือนเพชร ตีพิมพ์ในนิตยสารเมืองโบราณ ฉบับเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๓๑ ระบุถึงความสำคัญของควนลูกปัดที่คลองท่อมว่า

“ประการแรกบริเวณปากอ่าวคลองท่อมมีเกาะแก่งสามารถกำบังลมได้ดีที่สุด เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะศรีบอยา เกาะฮั่ง คุณเยี่ยมยงค์ สังขยุทธ์ สุรกิจบรรหาร ให้ความเห็นว่าสมัยที่พวกทมิฬอินเดียใต้ยกกองทัพมารุกรานแหลมไทย ระหว่าง พ.ศ.๑๕๖๐-๑๖๐๒ นั้น พระเจ้าราเชนทรโจฬะ ได้ใช้เกาะศรีบอยาเป็นฐานทัพเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งควบคุมและบัญชาการบหัวเมืองต่าง ๆ ทางฝั่งนี้ ในช่วงยามปกติ เรือทุกลำในยุคนั้นต่างก็มุ่งสู่คลองท่อม แหล่งแลกเปลี่ยนสินค้าและเดินทางข้ามแหลมไปฝั่งตะวันออก ย่านทะเลที่จะเข้าสู่คลองท่อมนั้นมีผู้พบเครื่องปั้นดินเผาและวัตถุอื่น ๆ อยู่บ่อย ๆ โดยอาจมาจากเรือที่อับปางลงกลางทะเลใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่บริเวณที่เรียกกันว่า “ช่องเภา” (ช่องสำเภา) ลงไปจนถึงแหลมกรวดและปากคลองท่อม แม้แต่ในลำคลองท่อมเองก็เคยพบซากเรือ สมอเรือและสิ่งของอื่น ๆ แสดงว่าลำคลองท่อมสมัยก่อนลึกเข้าไปในแผ่นดินมาก

“ประการที่สอง จากการขุดพบลูกปัดและวัตถุโบราณอื่น ๆ ที่ควนลูกปัด ซึ่งนักโบราณคดีคะเนอายุไปถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ นั้น มีร่องรอยการผลิตลูกปัดที่นี่อยู่ด้วยส่วนหนึ่ง หลักฐานที่พบ เช่นก้อนหินแก้วสีต่าง ๆ เศษลูกปัดชำรุดที่เททิ้งกระจัดกระจายทั่วไป บางก้อนลูกปัดแข็งตัวติดกันอยู่ ก็มีข้อที่ควรพิจารณาสำหรับย่านที่จะเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้า”

ส่วนการเดินทางสู่ตะวันออก ระบุว่า “สามารถที่จะเดินทางออกอ่าวบ้านดอนโดยใช้คลองสินปุน หรือเดินบกโดยเท้าหรือช้างเข้าท่ายาง(ทุ่งใหญ่)ออกไปทุ่งสงต่อไปนครศรีธรรมราช” ทั้งนี้ ในบทความนี้ท่านกล่าวถึงแต่เส้นทางเดินเท้าของชาวบ้านในสมับหักร้างถางพงสร้างบ้านแปงเมืองจนเกิดเป็นจังหวัดกระบี่ก่อนที่จะเกิดถนนหนทางอย่างทุกวันนี้ โดยไม่กล่าวถึงเส้นทางของมนุษย์ดึกดำบรรพ์หรือเส้นทางโบราณด้วยมีนักโบราณคดีศึกษาและนำเสนอกันมากแล้วนั้นว่า นอกจากเส้นทางจากอ่าวลึก กระบี่ สู่อ่าวบ้านดอนและเมืองนครซึ่งมีหลายเส้นทาง
อ.กลิ่น ระบุเส้นทางจากคลองท่อมสู่เมืองนครไว้ ๓ เส้นทาง คือสายบนสุด คลองท่อม-ลำทับ-สินปุน-ท่ายาง(ทุ่งใหญ่)-ถ้ำพรรณรา-ฉวาง-เขาธง-ลานสกา-เมืองนคร สายรองลงมา คลองท่อม-ลำทับ-สินปุน-ท่ายาง(ทุ่งใหญ่)-หนองดี-ทุ่งสง-ร่อนพิบูลย์-เมืองนคร กับสายล่าง คลองท่อม-พรุดินนา-กุแหระ-ห้วยนาง-กะปาง-ทุ่งสง-ร่อนพิบูลย์-เมืองนคร โดยบริเวณแก้วแสน-นาบอนนั้นอยู่ในเส้นทางสายกลาง ช่วงท่ายาง(ทุ่งใหญ่)-หนองดี-ทุ่งสง แต่ผมยังหาประจักษ์พยานเพื่อสนับสนุนเบาะแสที่ “เล่ากัน” ไม่พบ จนมาทราบข่าวจาก “ศราวุธ ศรีทิพย์” ที่ส่งข่าวมาเป็นระยะ ๆ ว่า “พบลูกปัด แหล่งนครศรีธรรมราช ที่ช้างกลาง” ซึ่งหากไล่ตามลายแทงของอาจารย์กลิ่น ก็อยู่ที่เส้นทางสายบนสุด ช่วง “ฉวาง-เขาธง” ก่อนจะเข้าสู่ลานสกาและเมืองนคร ซึ่งไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมาไกลและสูงมาถึงระดับนี้

เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ซึ่งผมเพิ่งเจอหนังสือเล่มนี้ขายแบกะดินริมทางที่จตุจักรแล้วหยิบติดมือขึ้นเครื่องไปถึงเมืองนครแล้วลองถามไปว่าจะไปหาได้ไหม ? เขาตอบว่าว่างพอดี ก็เลยไปกันทันที โดยเขาเล่าอย่างนี้
๑) ที่นี่ เคยมีการพบกระปุกเครื่องถ้วยโบราณเรื่อย ๆ เจ้าหน้าที่กรมศิลป์ฯ ก็เคยมาดูแล้วบอกว่าไม่น่ามีอะไร แต่ได้เอากระปุกมีหูเคลือบสีหลืองเขียวของแม่ไปใบหนึ่ง บอกว่าขอยืมไปศึกษา หลายสิบปีแล้วไม่เห็นส่งข่าวอะไร
๒) เมื่อน้ำท่วมใหญ่ปี ๓๑ พวกเราพบแนวกำแพงก่ออิฐที่ริมฝั่งคลองจันดีเป็นแนวยาว ถามไถ่ใครก็ไม่ได้ความ แถมในสวนยางริมคลอง ก็มีแนวอิฐอย่างกำแพงบ้าง อย่างกองสิ่งปลูกสร้างบ้าง คุ้ย ๆ ก็เจอกระเบื้องถ้วยมากมายหลายแบบ เชื่อว่าน่าจะมีลูกปัด แต่เมื่อมีคนพบทอง เจ้าของจึงห้ามเข้า ประกอบกับตัวเองก็ทำงานอยู่กรุงเทพ จึงไม่ได้ตั้งใจสำรวจค้นคว้า ที่สำคัญ พบว่ามีแนวเนินดินอย่างกับคันดินคูน้ำหลายชั้นแนว แถมที่ริมคลองยังมีที่หวำเข้ามาเป็นอ่าวหรืออู่เรือด้วย แต่ที่วิเศษสุดคือ พ่อเคยเจอรูปสำริดองค์หนึ่ง ยังไม่รู้ว่ารูปอะไร ?
๓) อาจารย์ชาลี ศิลปรัศมี ปราชญ์ท้องถิ่นที่ช้างกลางเคยเข้ามาที่นี่พร้อมกับคณะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อประมาณ ๑๐ ปีก่อน บอกว่าจะไปศึกษาค้นคว้าต่อ แต่ยังไม่ได้ความคืบหน้าอะไร นอกจากข้อเสนอของอาจารย์ชาลีว่านี้น่าจะคือเมืองพระนางเลือดขาว พี่ของพระนางจันฑี ที่วัดมะนาวหวานมีอุโมงค์ลับมุดเข้าไปไกลออกอีกทีที่ใต้มณฑปพระพุทธบาทจำลองตรงหาดทรายแก้วที่องค์พระบรมธาตุโน่น เมื่อผมโทรถามว่าอาจารย์ใช้หลักฐานอะไร ได้คำตอบแต่ว่า “วิธีศึกษาของผมอิงนิทาน” ให้หมอมาศึกษาทางประวัติศาสตร์โบราณคดีด้วย
๔) ศราวุธ ศรีทิพย์ บอกผมว่า พอดีตอนนี้มาทำงานประจำอยู่ที่บ้านจึงมีเวลา และราคายางก็ตก ญาติที่เป็นเจ้าของสวนจึงไม่ว่าอะไรหากจะสำรวจ เพราะกำลังรอการประกาศขายทั้งแปลง เท่าที่ได้ลองขุดคุ้ยนอกจากร่องและแนวดินกับมีอิฐเป็นบางแนวแล้ว ยังพบเศษกระเบื้องถ้วยมากมายหลายประเภทและยุคสมัย ที่ตำแหน่งหนึ่งน่าจะเป็นกรุอะไร มีก่ออิฐเป็น ๔ ช่อง ในนั้น พบฐานรูปทำด้วยสำริด คนละชิ้นกับรูปที่พ่อเจอเมื่อนานมาแล้ว

จากการสำรวจเร็ว ๆ ในพื้นที่และที่เขาเก็บรักษาไว้ ๒ คน เมื่อวันนั้น ผมเห็นในลักษณะเดียวกันว่า อาจเป็นศาสนสถาน หรือสถานีพัก และอาจจะเป็นนครน้อย ๆ ตั้งอยู่ริมคลองจันดี ณ บ้านจันดี ไม่ไกลจากมะนาวหวาน และ เชิงเขาเหมน หรือพระสุเมรุแห่งเมืองนคร ล่างลงมาจากน้ำตกท่าแพและบ้านนา ไม่ไกลจากปลายคลองที่ไหลลงมาจากสันปันน้ำที่เขาธง ซึ่งกั้นระหว่างนอกเขา (ฉวาง-ช้างกลาง-นาบอน-ถ้ำพรรณรา-ทุ่งใหญ่-ทุ่งสง) กับ เหนือ (ลานสกา-พรหมคีรี-นบพิตำ)

เส้นทางนี้ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางศักดิ์สิทธิ์แห่งทักษิณ เพราะพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ ท่านนำทำการบุกเบิกแผ้วถางสร้างทางจนเป็นหนึ่งในสายหลวงสายเอเซียอย่างเช่นทุกวันนี้ ที่บนยอดสันเขาใกล้ ๆ กับป้ายอากาศดีที่สุดในประเทศไทย มีหอพ่อท่านกับสำนักสงฆ์สงบงามตั้งอยู่

หารือกับศราวุธและครอบครัวกับคณะว่า 
ตั้งใจจะอย่างไร ?

คำตอบคือ อยากพยายามอนุรักษ์ไว้ แล้วค่อยพัฒนา ในขั้นนี้อยากศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ เพื่อจะได้ค่อย ๆ ขบคิดขับเคลื่อน ทั้งนี้ ไม่มีใครเข้ามาทำอะไรในพื้นที่นี้ได้แน่นอน เว้นแต่ญาติของเขาจะขายได้แล้วเท่านั้น

ผมบอกว่า จะไปหารือผู้รู้ทั้งหลายเท่าที่จะพอมี เบื้องต้นฝากหารือกับผู้คนรายรอบและในท้องที่ ตลอดจนผู้ใหญ่ กำนัน อบต. และอื่น ๆ รวมทั้งคุณชินวรณ์ บุณยเกียรติ ที่มีดีกรีระดับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีบ้านและโรงยางพาราติดต่อแดนกันด้วย

ณ ขณะนี้ ผมขอเรียกแผ่นดินนี้ว่า “จันดีนคร/JanDee Nagara” ที่อิงชื่อ “บ้านจันดี” และ “คลองจันดี” ที่คลี่คลายกลายเป็น “ชุมชน-ย่านตลาด-สถานีรถไฟ-เทศบาลคลองจันดี” ซึ่งไม่มีใครรู้ที่มาของชื่อ “จันดี” อาจารย์ชาลีบอกว่าคือชื่อของพระนางจัณฑี แต่ผมสันนิษฐานว่าอาจจะมาจาก “จันทิ-Candi” ที่พบเป็นกู่หรือบัวอย่างที่พวกเราคนนครนิยมเรียกกัน แต่ที่อินโดนีเซียทั้งเกาะชวา-สุมาตรา ต่างเรียกว่า “Candi-จันทิ” กันทั้งนั้น และดูเหมือนจะเรียกต่อกันมาแสนนาน ไม่รู้ตั้งแต่สมัยไหน อาจจะเกี่ยวกับ “จันดี” ของเราก็ได้ โดยเฉพาะเทวรูปสำริดที่พบนี้ หลายผู้สันทัดกรณีบอกว่า อย่างนี้ เป็นศิลปะชวาโบราณที่ไม่เคยพบในแผ่นดินประเทศไทยมาก่อน ส่วนเป็นรูปอะไรนั้น ยังไม่เป็นที่ยุติ ส่วนใหญ่ว่านึกถึงเหวัชระ แต่ลักษณะไม่ตรงตามตำราที่ว่ามี ๘ เศียร ๓ เนตร ๑๖ กร ๔ เพลา

ตอนนี้ เท่านี้ก่อนนะครับ
๒๐ กค.๕๙

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//