logo_new.jpg
นี้ครับ ... งานไทยที่เจาะลูกปัดบ้านเชียงมาก
TheThaiWorksOnBanChiangBeads
(bunchar.com รอยลูกปัด 20210107_1)
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ พี่
Sudara Suchaxaya
เมืองโบราณคงไม่ว่า
ถือเป็นการ ปชส.ให้คนตามอ่านฉบับจริงที่กำลังจะออกนะครับพี่
มีคนถามว่าไม่มีงานคนไทยวิจัยว่าด้วย #ลูกปัดบ้านเชียง เลยหรือ ...
ผมเจอนี้ครับ ...
ในงานว่าด้วย #เครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำด้วยแก้ว_ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (๒๕๔๙ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร) ณัฏฐภัทร จันทวิช กล่าวถึงลูกปัดแก้วและลูกปัดที่พบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะ ที่บ้านเชียง อุดรธานี บ้านดอนตาเพชร กาญจนบุรี แล้วเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ตั้งแต่ฟูนัน ที่อู่ทอง จันเสน ศรีเทพ ก่อนเข้าสู่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ตามพรลิงค์ พร้อมกับการนำเสนอถึงลูกปัดในแหล่งต่าง ๆ ทั้งที่ทำจากเปลือกหอย หิน แก้ว จากทุกภาคทั่วทั้งประเทศ โดยก่อนหน้านั้น ในงานว่าด้วย #ถนิมพิมพาภรณ์ (๒๕๓๕ : กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร) ระบุว่า “ ... การศึกษาเครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยนั้น มักจะพบว่ามนุษย์เริ่มใช้เครื่องประดับกันตั้งแต่สมัยหินใหม่เป็นต้นมาจนเข้าสมัยโลหะ ... ซึ่งมีความเป็นอยู่เมื่อราว ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว ... ” พร้อมกับระบุถึงการพบลูกปัดทำจากกระดูกสัตว์ เปลือกหอยในหลายพื้นที่ จากกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ จนถึงขอนแก่น จนเข้าสู่สมัยโลหะ ที่พบกลุ่มลูกปัดหินและลูกปัดแก้วหลายรูปแบบ “ ... ที่เชื่อได้ว่านำมาจากแถบอินเดียและทะเลเมดิเตอเรเนียนทางแถบเปอร์เชียและจากจักรวรรดิโรมัน ... ” โดยระบุแหล่งโบราณคดีสำคัญที่บ้านดอนตาเพชร กาญจนบุรี ศูนย์กลางทหารปืนใหญ่ที่เขาพระงาม ลพบุรี บ้านปราสาท นครราชสีมา บ้านนาดี ขอนแก่น และ บ้านเชียง อุดรธานี
เฉพาะที่บ้านเชียง ณัฏฐภัทร จันทวิช กล่าวถึงเครื่องประดับที่มีหลายประเภทและทำจากวัสดุหลายชนิด ในยุคแรก ๆ คือ กำไลดินเผา กำไลกระดูก กำไลหินและลูกปัดหิน ในสมัยต่อมาจึงมีเครื่องประดับทำด้วยสำริด โดยเฉพาะกำไลสำริดมีทั้งชนิดที่มีลวดลายและไม่มีลวดลาย ทั้งแบบมีกระพรวนและไม่มีกระพรวน ฯลฯ พร้อมกับกล่าวถึงลูกปัดแก้วที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในระยะแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ – ๑๕ และปี ๒๕๑๗ – ๑๘ ว่าพบลูกปัดแก้วมีสีมากมายหลายสี ได้แก่ สีน้ำเงินแก่ สีเขียว สีน้ำเงิน สีดำ สีม่วง สีฟ้า สีน้ำตาล สีหมากสุก สีแดงอิฐ สีเหลือง ทั้งรูปทรงถังเบียร์ และทรงกระบอกกลมที่พบมากถึง ๒๐๐ เม็ด จัดอยู่ในสมัยปลายของบ้านเชียงเพราะพบร่วมกับโบราณวัตถุประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก ต่อมาในการขุดค้นครั้งหลัง พ.ศ.๒๕๔๖ พบลูกปัดแก้วอีก ๒๑๑ เม็ด เป็นรูปทรงกระบอกมากที่สุด ๒๐๑ เม็ด กับทรงกระบอกยาว ๒ เม็ด กลมคล้ายผลส้ม ๑ เม็ด ทรงถังเบียร์ ๒ เม็ด มีสีเขียวอ่อน สีเขียว สีฟ้า สีน้ำเงินอมเขียว สีน้ำเงินเข้ม โดยมีสีเหลืองอมส้มมากที่สุด ๑๙๙ เม็ด พร้อมกับระบุว่าวิธีการผลิตลูกปัดแก้วที่พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนี้มี ๒ วิธี คือการยืดหรือดึงกลุ่มลูกปัดทรงกระบอกและกระบอกยาว และวิธีกดแม่พิมพ์สำหรับลูกปัดแก้วทรงกลม ทรงถังเบียร์ พร้อมกับยกข้อสันนิษฐานของพรชัย สุจิตต์ ที่ว่าลูกปัดแก้วสีน้ำเงินอมฟ้าและเขียวรูปทรงถังเบียร์ (Truncated Bicone) อาจเป็นลูกปัดแก้วที่ผลิตขึ้นในชุมชนเองเพราะไม่พบในที่อื่น ขณะที่บางรูปแบบแสดงถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่น เช่นลูกปัดแก้วแท่งยาวมีลักษณะคล้ายกับลูกปัดหินที่พบในถ้ำที่เขาสามเหลี่ยมและแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า กาญจนบุรี และลูกปัดแก้วสีน้ำเงินและสีเขียว ที่มีลักษณะคล้ายที่พบในอินเดีย นอกจากนั้น ยังยกหลักฐานการพบลูกปัดแก้วจากการขุดค้นทางโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกหลายแห่ง ในจังหวัดอุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ จนถึงอุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ...
มากกว่านี้ รออ่านในวารสารแล้วกันนะครับ เดี๋ยวหมดเรื่อง
๗ มค.๖๓ ๐๖๑๖ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
 
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ในภาพอาจจะมี ข้อความพูดว่า "ลูกปัดแก้วสีน้ำเงิน และสีเขียว รูปทรงต่างๆ พบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี"
ในภาพอาจจะมี ข้อความพูดว่า "ถูกปัดแก้วสีน้ำเงิน ลูกปัดเคลือบสีส้ม และดูกปัดแก้วสีเขียว พบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี"
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//