logo_new.jpg

อีกก้าวของงานภาพชุดวิเศษจากสวนโมกข์
Another Step on Photo of Buddhadasa
(bunchar.com การพระศาสนา 20170220_7)

เพิ่งเสร็จการร่วมกันดูภาพชุดที่เพิ่งได้มาจากไชยากับพี่ถวิล มนัสน้อม สื่อมวลชนอาวุโส กับ คุณมานิต ศรีวาริชภูมิ แห่งกัฐมัณฑุแกลเลอรี่ เพื่อทำความเข้าใจและประเมินค่าเบื้องต้นว่าคืออะไรและควรจะอย่างไรต่อไป เก็บรักษาอนุรักษ์ในลักษณะไหน ควรจะทำอะไรบ้างในขณะนี้ ฯลฯ

๑) โดยสรุป เป็นภาพที่ใส่กรอบอยู่ที่ชั้นบนโรงมหรสพทางวิญญาณที่สวนโมกข์ ไชยา ๔ ชุดด้วยกัน คือ ชุดไปอินเดียเมื่อ ๒๔๙๘ ชุดโบราณสถานในพระพุทธศาสนาของไทย ถ่ายเมื่อปี ๒๔๙๖ โดย ร.บุนนาค สองชุดนี้อย่างละกว่า ๑๕๐ ภาพ กับภาพชุดโบราณสถานในพระพุทธศาสนา และ อื่น ๆ โดยตากล้องนิรนาม

๒) ชุดไปอินเดีย น่าจะถ่ายโดยท่านอาจารย์พุทธทาส และเจ้าชื่น สิโรรส แห่งสวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ มีคำอธิบายใต้ภาพตัวบรรจงใต้ภาพ จากที่ท่านอาจารย์เขียนให้ในด้านหลังของภาพ เคยจัดแสดงบนแผงชั้นบนโรงหนังฯ นำมาเพื่ออนุรักษ์และสแกนไว้เพราะภาพเริ่มซีดลงมากแล้ว โดยจะจัดทำสำเนาเหมือนจริงกลับไปติดตั้งดังเดิม

๓) ชุดโบราณสถานฯ โดย ร.บุนนาค ทั้งหมดเป็นภาพถ่ายคุณภาพสูง สวยงามมาก มีสภาพสมบูรณ์เนื่องจากจัดวางอย่างเป็นระเบียบอยู่ในช่องชั้นที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้สนใจพลิกดูได้ เป็นชุดสุโขทัย ศรีสัชชนาลัย และ เครือสุโขทัย พร้อมคำอธิบายของหลวงบริบาลฯ และ กริสโกว์ และยังเคยมีการจัดพิมพ์เป็นหนังสือสวยชื่อ สุโขทัย ศรีสัชชนาลัย กำแพงเพชร - Three Old Cities of Siam เมื่อปี ๒๕๑๔ โดยมูลนิธิไทยวัฒนาพานิช มอบให้ธรรมทานมูลนิธิบรรณาการแก่ผู็สนับสนุนกิจการของมูลนิธิและสวนโมกข์ มีคำอนุโมทนาของท่าน อ.กับคำนำของ มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล มี่แปลและขยายความของกริสโกว์ตามคำของของ อ.ส.ศิวรักษ์ด้วย ทั้งนี้เนื้อความระบุว่าเป็นภาพที่ถ่ายไว้เมื่อปี ๒๔๙๖ และมอบไว้กับสวนโมกข์ ก่อนที่จะทำหนังสือ ซึ่งพบว่าภาพมีมากกว่าทั้งจำนวนและพื้นที่ จากที่พิมพ์หนังสือ น่าจะเป็นงานที่ อ.พุทธทาส กับ ร.บุนนาค ช่วยกันทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประกอบการสื่อธรรมถึงความรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาของสังคมไทยในอดีต

๓ และ ๔) ชุดโบราณสถานฯ และอื่น ๆ โดยท่านอื่น ๆ ที่มิได้ระบุนาม มีภาพพระธาตุอื่น ๆ นอกจากในชุด ๒ ในอีกคุณภาพหนึ่ง

ในเบื้องต้น นอกจากการทำทะเบียนรับ และทำความสะอาดเบื้องต้น ก่อนที่จะทำอะไรต่อไป การประเมินคุณค่า ณ ขณะนี้ เป็นของในครอบครองของท่าน อ.และเป็นงานที่ท่าน อ.มีส่วนร่วมด้วยตั้งแต่ทำเองจนถึงได้ใช้ประโยชน์ด้วย โดยเฉพาะในการสื่อสารธรรมเพื่อเพิ่มศรัทธาและการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา มิหำซ้ำยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกไม่น้อย อาทิเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี การถ่ายภาพ ฯลฯ แต่ท่สำคัญคือกระบวนการเรียนรู้และทำงานของท่านอาจารย์ฯ

นอกจากคุณมานิตแจ้งว่าจะขอนำไปจัดแสดงเล็ก ๆ สักครั้งหนึ่งก่อนในเดือน กค.นี้ เพื่อให้คนไทยได้รู้จักผลงานของอีก "Thai Master" และส่งเสริมงานการอนุรักษ์โบราณสถาปัตยกรรมของไทย แล้ว ทั้งสองท่านกับพวกเราทุกคนก็ตกลงว่านอกจากการเก็บไว้ให้ดีที่สุดแล้ว การจัดแสดง การจัดพิมพ์หนังสือ ตลอดจนการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและขยายผลต่าง ๆ ก็อยู่ในข่ายที่ควรพิจารณา แต่อาจต้องทำเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญกว่าก่อน ทั้งนี้จะได้หารือกันต่อไป.

ใครใคร่ดู รีบแวะไปดูก่อนที่จะเก็บเข้าห้องนะครับ.

๒๐ กพ.๖๐

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//