logo_new.jpg

นี้...ที่ไปตอบแทนคุณถึงอินเดีย
This The Return to India's Benevolence 
(bunchar.com การพระศาสนา 20170304_7)

เมื่อไม่กี่วันก่อน ทางอินเดียส่งยูทู๊ปนี้มาบอกว่าที่ผมไปเสนอที่ไฮเดอราบัด 
https://www.youtube.com/watch?v=WMMdoOhDqw0&sns=em

ผมก็เลยขอส่งมาเพื่อชาวเราทั้งหลายได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขอบขอบคุณน้องทั้ง ๔ ที่ไปด้วยและได้ช่วยหลายประการ รวมทั้งนายเฮ้าที่ทำ ppt อันสวยงามนี้

เนื่องด้วยเป็นคนสุดท้ายของเวทีที่ล่วงเลยเวลามาเกือบ ๒ ชม.

(๑) ผมจึงเริ่มด้วยการขอแก้ตัวว่ามิได้เป็น Venerable ที่แปลว่าพระคุณเจ้า เป็นแต่เพียง servant ของ The Most Venerable Buddhadasa และที่มานี้ก็เพื่อตอบแทนคุณอินเดียตามท่านอาจารย์ ตามที่สถานทูตอินเดียขอให้มา โดยงดอีกงานหนึ่งที่เมืองไทย ซึ่งในครั้งนี้จะเน้นความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาของอินเดียกับเอเชียอาคเนย์ เน้น อมราวดี-ทวารวดี และ ท่านอาจารย์พุทธทาส

 

(๒) จากนั้นก็รวบรัดผ่านงานที่เคยศึกษาเส้นทางพระพุทธศาสนาสู่ไทย ที่มี ๖ ระยะ จาก ๖ ศูนย์ (I-VI) ผ่าน ๕ แหล่ง (A-D) ตามเส้นทางต่าง ๆ ตั้งแต่เลียบชายฝั่งแล้วข้ามทะเล รวมทั้งผ่านแผ่นดิน โดยในที่นี้ขอเน้นจาก ศูนย์ I ในลุ่มแม่น้ำคงคา และ II ในลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวารี ซึ่งคือแดนอมราวดีนี้ สู่ คอคอดกระประเทศไทย และ ชายแดนตะวันตกของไทยที่อู่ทองซึ่งเป็นแหล่งรับและพัฒนาเป็นทวารวดี

 

(๓) ที่ภาคตะวันตกของไทยในลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีนที่ศึกษาไว้ หลังสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการต่าง ๆ มาก่อนนั้น ถึงสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์ร่วมพุทธกาล มีการพบลูกปัดจำนวนมากที่คล้ายกับที่พบในอินเดีย ก่อนที่จะพบหลักฐานทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นมากมาย

(๔) โดยพระพระพุทธรูป และ ธรรมจักร ซึ่งมีความละม้ายคล้ายกับในอินเดีย โดยเฉพาะในแดนอมราวดีมาก

 

(๕) ในขณะเดียวกัน ทางภาคใต้ของไทยตอนล่างจากคอคอดกระ นอกจากพบลูกปัดจำนวนมากแล้ว ยังพบพระพุทธรูปในศิลปะอมราวดีหลายองค์ ทั้งนี้ พระพุทธรูปแบบอมราวดีนี้มีพบในอีกหลายพื้นที่ ทั้งพม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ เวียตนาม ในแผนภูมินี้ องค์ที่มุมล่างขวา พบที่สุไหงโกลก องค์ตรงกลาง พบที่สิชล นครศรีธรรมราช

 

(๖) ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปอมราวดีที่พบในเตลางคะนะ

 

(๗) พระพุทธรูปศิลปอมราวดีที่พบในประเทศไทย องค์ศิลาพบในภาคใต้ของไทย องค์สำริดพบที่นครราชสีมา

 

(๘) ผอบทรงสถูปทำด้วยเงิน มีพระพุทธรูปศิลปอมราวดี พบที่พม่า

 

(๙) ประติมากรรมอิฐรูปพระภิกษุ ๓ องค์ห่มจีวรอุ้มบาตรพบที่อู่ทอง ลักษณะคล้ายศิลปอมราวดี

 

(๑๐) แผ่นศิลาศิลปอมราวดีในอินเดีย สลักเป็นพระพุทธรูปประทับอาสนะขัดสมาธิหลวม ๆ

 

(๑๑) พระพุทธรูปศิลาพบที่เมืองมโหสถ ปราจีนบุรี สมัยทวารวดี ลักษณะอาสนะขัดสมาธิหลวม ๆ เช่นเดียวกับศิลปะอมราวดี

 

(๑๒-๑๓) แผ่นศิลาประดับพระสถูปศิลปอมราวดี แสดงการประดิษฐานเสาธรรมจักร

 

(๑๔-๑๕) ธรรมจักรและเสาที่พบในอู่ทองและนครปฐม ศิลปะทวารวดี

 

(๑๖) ลูกปัดที่พบในพระสถูปที่นาคารชุณโกณฑะ

 

(๑๗-๑๘) ลูกปัดที่พบในภาคใต้ประเทศไทย มีสัญญลักษณ์ที่ใช้ในพระพุทธศาสนา อาทิ สวัสดิกะ ตรีรัตนะ มกร อักษรพราหมี ฯลฯ

(๑๙) ตราประทับอักษรพราหมีที่พบในภาคใต้ของประเทศไทย รวมทั้งรูปแกะต่าง ๆ อย่างอินเดีย

 

(๒๐) ตราประทับทองคำ อักษรพราหมี "นาวิกชื่อพฤหัสบดี" หนึ่งในไม่กี่จารึกว่าด้วยนายเรือที่พบแล้วในโลกนี้

 

(๒๑-๒๒) สวนโมกข์ไชยา ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสนำแบบอาคารมหาโพธิในอินเดียมาเป็นต้นแบบสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ พร้อมกับนำต้นแบบหินสลักสมัยยังไม่มีรูปพระพุทธเจ้า จากสาญจี ภารหุตและอมราวดี มาปั้นหล่อทำปูนปั้นภาพพุทธประวัติชุดแรกของโลกที่มีอย่างสมบูรณ์ที่สุดในโลก

 

(๒๓) ซุ้มประตูทางเข้าสวนโมกขพลาราม ไชยาที่นำเค้าเสาไอยกะ ๕ ต้น กับ เสาธรรมจักรคู่ จากต้นแบบของอมราวดี

 

(๒๔) แผ่นศิลาจำหลัก จำลองสถูปสมัยอมราวดี มีเสาไอยกะ ๕ ต้น กับ เสาธรรมจักรคู่ ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสนำมาเป็นแบบซุ้มประตูทางเข้าสวนโมกขพลารามที่ไชยา

 

(๒๕-๒๗) หอจดหมายเหตุพุทธทาส ที่กรุงเทพมหานคร ที่ใช้ต้นแบบจากสวนโมกขพลาราม ไชยา ซึ่งมีต้นแบบมาจากอินเดีย โดยเฉพาะศิลปสมัยอมราวดี ทั้งตัวอาคาร ภาพพุทธประวัติ เสาไอยกะ

 

(๒๘) งานของท่านอาจารย์พุทธทาส ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาเตลูกู ของชาวเตลางคะนะ-อานธรประเทศ โดยนายจันทรเสกขะ ชาวอานธรประเทศ ผู้ใช้นามปากกาว่าสังฆมิตรธรรมทูต

 

(๒๙) โดยตอนจบ ผมได้ขอบพระคุณอินเดียและเรายินดีร่วมมือด้วยเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โดยเฉพาะผ่านงานแปลของคุณจันทรเสกขซึ่งถือเป็นภาคีความร่วมมือสำคัญซึ่งจะเชิญเข้าร่วมการประชุมในวาระ ๑๑๑ ปี ท่านอาจารย์ที่ประเทศไทย ในหัวข้อ ธรรม กับสังคม หากท่านใดสนใจ ขอเชิญส่งบทความเ้าร่วมได้

 

ด้วยเวลาที่กระชับและการนำเสนอง่าย ๆ น้อง ๆ บอกว่าที่ประชุมตั้งใจฟังกันทั้งห้อง ตอนท้ายผู้ดำเนินรายการถึงกับเอ่ยนามท่านอาจารย์พุทธทาสหลายคำรบ มีสื่อจากมุมไบเข้ามาหา พร้อมกับศิษย์ท่านอัมเบ็ดก้าที่เข้ามาขอให้ไปร่วมประชุมที่พุทธคยา กับอื่น ๆ อีกมากมายฯ

ขอรายงานเท่านี้นะครับ.

๔ มีค.๖๐

 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//