logo_new.jpg

คือ #ฐานข้อมูลพุทธทาสศึกษา ก่อนการก่อเกิดเป็น #สวนโมกข์กรุงเทพ ๑๐ ปี

TheBuddhadasaDataBase 10YearsBefore #BIAinBangkok

(20250115_1 การพระศาสนา)

หลังจากบวชเรียนและพบพระพุทธศาสนาแบบที่เอามาใช้ได้มากในชีวิต

ผมก็วนเวียนอยู่กับพระพุทธศาสนารวมทั้ง วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม เสมอ ๆ

จนถูกมอบหมายให้เป็นหมอคนหนึ่ง

ที่ร่วมถวายดูแลรักษาสุขภาพท่านอาจารย์พุทธทาสนหน้าที่เลขานุการของคณะแพทย์

พร้อมกันนั้น ก็ร่วมกันในนามของสวนสร้างสรรค์ #นาครบวรรัตน์

และ #มูลนิธิโกมลคีมทอง ช่วยกันทำงานหนังสือออกมาหลายเล่ม

จึงได้รับโอกาสเข้าไปค้นในกุฏิท่านอาจารย์จนพบงานเหล่านี้

และได้เคยกราบหารือท่านอาจารย์ พร้อมกับยกร่างกรอบความคิดในเรื่องนี้

และได้เคยคุยกันกับหลายคน รวมทั้งท่าน Santikaro Upasaka และ พี่ ประชา หุตานุวัตร ด้วย

จนท่านอาจารย์ละสังขาร แล้ว #ท่านอาจารย์โพธิ์ ให้ชาว #สวนโมกข์ ช่วยกันรวบรวมรักษากันไว้

ในปี ๒๕๓๘ - ๓๙ โดยประมาณ

พวกเราก็เลยชวนกันที่เมืองนคร ด้วยทุนวิจัยของ Walailak University มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สมทบกับทุนที่ต้องเพิ่มเติมอีกมาก

จากทั้งโกมลคีมทอง ธรรมทานมูลนิธิ สวนโมกขพลาราม และ #นาครบวรรัตน์

เพราะงานที่กะว่าจะทำกัน ๕ เดือน ขยายกลายเป็นทำ ๓๓ เดือนนี้

เสร็จเมื่อปี ๒๕๔๐ และเป็นหนึ่งในชุดงานวิจัยแรก ๆ ของมหาวิทยาลัย

รวมทั้งของผมด้วยครับ

งานนี้มีผู้คนช่วยทำกันมาก รวมทั้งแม่ น้าพา ยุพา บวรรัตนารักษ์

มี อ.หมอประเวศ อ.หมอวิจารณ์ อ.รัญจวน เป็นที่ปรึกษา

ที่ช่วยมาก คือ อ. Pramot Kateboonleang Opas Tantithakura รวมทั้งคุณแม่ชีจุยก็ด้วยครับ

นอกจากพยายามประมวลรวมงานของท่านอาจารย์พุทธทาสจากแทบทุกแหล่งเท่าที่จะตามและทำกันได้แล้ว

ยังได้ทบทวน ๓ กรณีศึกษาในโลกนี้เท่าที่จะพอศึกษาได้ออนไลน์ในขณะนั้น

คือของ #ไอน์สไตน์ ของ #ประธานาธิบปีรูสเวลต์ และ #เคนเนดี้

จนออกมาเป็นบทสรุปชี้แนะและแนวทางตั้งแต่ครั้งกระโน้น

ว่าควรจะทำออกมาแบบผสมผสาน

การจดหมายเหตุ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สถานศึกษาค้นคว้าเรียนรู้และปฏิบัติธรรม

ณ สวนโมกขพลาราม

โดยเคารพและตามแนวปฏิบัติของพุทธทาสภิกขุ

คือมุ่งเพื่อการศึกษา ปฏิบัติ และเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้า

เพื่อมนุษยชาติและสันติภาพของโลก

โดยสวนโมกขพลารามและธรรมทานมูลนิธิเป็นหลักดำเนินการ

พร้อมแนวปฏิบัติเบื้องต้น กับภาคผนวกที่รวบรวมไว้ในคราวนั้นเกือบ ๑,๐๐๐ หน้า

กลับมาอ่านวันนี้ ...

๑) กลายเป็นว่าพวกเราเองนี้ที่ทำกันจนเกิดเป็น หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์กรุงเทพ ในวันนี้

๒) แม้ที่กรุงเทพ แต่ก็ยังทำตามที่สวนโมกข์และธรรมทานมูลนิธิมอบหมาย

๓) แถมทำออกมาตามแนวทางที่ทำวิจัยและสรุปเสนอไว้แทบทุกประการ เหมือนกับว่าจะได้มากกว่านั้นด้วย

๔) อาจนับเป็นอีกงานการวิจัยน้อย ๆ เมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว ที่อาจนับได้ว่าเกิดผลมากงานหนึ่งก็ได้ หากจะนับ ไม่ทราบว่าทาง Walailak University มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะรับรู้ไหม ?

ท่านที่สนใจลองไล่อ่านดูเฉพาะฉบับนำนี้นะครับ

ส่วนที่ครบ ๑,๐๐๐ หน้า กรุณาไปขอดูที่ #สวนโมกข์กรุงเทพ

หรือที่ #วลัยลักษณ์ ดูได้ครับผม

ส่วนที่กำลังปล้ำทำของเมืองนครตอนนี้ แล้วเพิ่งถูกน้ำท่ามาท่วมไปส่วนหนึ่งนั้น

อ่านงานนี้แล้ว ชวนคิดเอาไปขบและขับเคลื่อนกันที่ #บวรนคร ต่อไปครับ

โดยเฉพาะกรณีศึกษาของประธานาธิบดีรูสเวลต์ น่าสนใจมากครับ

@ไฮไลท์

๑๕ มกรา ๖๘ ๐๗๓๐ น.

บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1713004359594679&set=pcb.1713016306260151

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//