logo_new.jpg

"มาช่วยกัน สารพา มาแสดง"
"ให้แจ่มแจ้ง ทุกทิศทาง สว่างไสว"
"อมฤต จะสถิต อยู่ในใจ"
"โลกส่วนใหญ่ สงบเย็น เห็นทันตา"
Let's Join the Master's Mission
(bunchar.com การพระศาสนา 20170612_3)

"แม้สิ่งนี้ มีท่า ว่าทำยาก" 
"จะบั่นบาก ทำไป ให้จนได้"
"แม้จะต้อง เหนื่อยหนัก หรือจักตาย" 
"จักขวนขวาย ทำไป ไม่ยอมแพ้"
"ธรรมคือ มหรสพ ทางวิญญาณ" 
 "โลกต้องการ อย่างยิ่ง เป็นสิ่งแน่"
"รสธรรมะ เลิศกว่ารส ทั้งปวงแท้"
"สามารถแก้ โลกวิกฤต หมดพิษภัย"
"มาช่วยกัน สารพา มาแสดง"
"ให้แจ่มแจ้ง ทุกทิศทาง สว่างไสว"
"อมฤต จะสถิต อยู่ในใจ"
"โลกส่วนใหญ่ สงบเย็น เห็นทันตา"

นี้คือบรรยากาศก่อนแยกย้ายเมื่อวานนี้
ที่พวกเราไปร่วมกันระดมสมอง
เพื่อกำหนดกรอบยุทธศาสตร์งาระยะต่อไปของสวนโมกข์กรุงเทพ ที่ผมถูกกำหนดให้จบงานอย่างนี้

...เริ่มจากผมได้ไปบวชเรียนรู้ที่สวนโมกข์
จนพบว่าพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และสอนไว้นั้นสุดยอด แถมที่ท่านอาจารย์พุทธทาสสานไว้ก็ไม่ธรรมดา
...เมื่อ ๘๐ ปีท่านอาจารย์ ปี ๒๕๒๙ ได้มีโอกาสค้นคลังงานของท่านอาจารย์เพื่อทำหนังสือ จึงได้กราบเรียนท่านว่าอย่างนี้ต้องทำเป็นจดหมายเหตุ
...เราก็คิดว่าอย่างนั้น แต่ไม่รู้เหมืนอกันว่าใครจะทำ เอาไว้ให้เขาคิดทำกันก็แล้วกัน...ท่านอาจารย์บอกผมในทำนองนี้
...จนท่าน อ.สิ้น แล้วท่าน อ.โพธิ์ ให้รวบรวมของทุกอย่างไว้ได้อย่างนี้ แล้วบอกให้ผมมาทำงานนี้ โดยผมเองก็ได้ทบทวนศึกษาการจดหมายเหตุบุคคลสำคัญของโลกไว้จำนวนหนึ่งว่าเขาทำกันอย่างไรไว้ในโลกนี้ ก่อนที่จะค่อย ๆ เริ่มกันมา

...มีท่าน อ.หมอประเวศ สมัครไว้ว่า "...หากบัญชาจะทำอะไรในเรื่องนี้ ผมขอทำด้วยนะ..." จนพี่บรรยงลงไปดูแล้วแนะว่า "...หากให้สมค่า ควรพิจารณามาทำที่กรุงเทพ..." ซึ่ง ท่าน อ.โพธิ์ และ คุณเมตตา เห็นด้วย แล้ววันหนึ่ง ผมไปกราบขอข้าวท่าน อ.เกษมกินที่บ้านท่าน แล้วเล่าเรื่องนี้ "...เต้ย...ผมขอทำด้วยนะ..." แล้วโทรชวนนักจดหมายเหตุมือดีมาเป็นที่ปรึกษาให้ในทันที จากนั้น
มีท่าน อ.ดร.เสนาะ บอกว่า "คุณพ่อผมนับถือท่าน อ.มาก ๆ ตอนเด็ก ๆ ผมก็ได้กราบท่านเสมอ เพราะพ่อพามาพักที่บ้านด้วย...ขอผมร่วมด้วยคนนะครับ..." จึงหารือ อ.หมอวิจารณ์ ในฐานะ "พานิช" อาวุโส นัดเข้าพบคุณหญิงชฎาให้ช่วยด้วย "...จะเอาพี่มาทำอะไร หาเงินหรือ...ยินดีด้วยค่ะ..."

พอพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตฯ ให้สร้างได้ที่สวนรถไฟฯ หอจดหมายเหตุฯ ที่ว่าก็ขยับใหญ่จนกลายออกมาใหญ่มากอย่างที่เห็น แถมท่าน อ.โพธิ์ สำทับเสมอว่า "...การนำเงินสาธารณะมาทำอะไรต้อง สำเร็จ ไม่เสียของ แล้วก็ขอให้ยั่งยืน..." คือ ทำให้เสร็จดี เสร็จแล้วต้องให้มีคนมาใช้สมค่า ไม่เช่นนั้นถือเป็นบาป จากนั้นพยายามทำให้อยู่ยั้งยั่งยืน

ตอนแรกก็ไม่ได้มีแผนยุทธศาสตร์อะไรมาก
...หาเงินมาสร้างให้เสร็จ
...เสร็จแล้วอย่าให้ร้าง ขอให้มีคนเข้ามาใช้ไว้ก่อน
...พวกเรานั้นถนัดบ้านนอก แถมอยากเข้าวัดเพื่อความสงบ
...นี้มาอยู่ถึงกลางกรุงที่ไม่ค่อยคุ้น แถมไม่รู้เลยว่าอะไรเป็นอะไร
...ก็ลุย ๆ กันมาประมาณนี้

ขอบพระคุณทุกท่านที่มาช่วยให้เราได้มีกรอบยุทธศาสตร์เสียที

อ่านกลอนบทนี้ของท่านอาจารย์ 
ที่เหมือนมาบอกบางอย่างอีกครั้งก็แล้วกันนะครับ

"แม้สิ่งนี้ มีท่า ว่าทำยาก" 
"จะบั่นบาก ทำไป ให้จนได้"
"แม้จะต้อง เหนื่อยหนัก หรือจักตาย" 
"จักขวนขวาย ทำไป ไม่ยอมแพ้"
"ธรรมคือ มหรสพ ทางวิญญาณ" 
 "โลกต้องการ อย่างยิ่ง เป็นสิ่งแน่"
"รสธรรมะ เลิศกว่ารส ทั้งปวงแท้"
"สามารถแก้ โลกวิกฤต หมดพิษภัย"
"มาช่วยกัน สารพา มาแสดง"
"ให้แจ่มแจ้ง ทุกทิศทาง สว่างไสว"
"อมฤต จะสถิต อยู่ในใจ"
"โลกส่วนใหญ่ สงบเย็น เห็นทันตา"

ขอบคุณบุ๋มนะครับ ที่ส่งกลอนนี้มาได้จังหวะพอดี.

๑๒ มิย.๖๐

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//