logo_new.jpg

This, The Nibbana 
ระยะนี้ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน
(bunchar.com การพระศาสนา 20160819_1)

มรรค เปรียบเหมือนการตัดพันสายรึงรัด ตัดได้มากน้อยตามขั้นของมรรค ผลคือการเป็นอิสสระตามส่วนที่หลุดมาได้ก่อน และผลสุดท้ายคือการหลุดหมดไม่มีการรึงรัดอีกต่อไป

ความเป็นอิสสระต่อจากผลครั้งสุดท้าย เป็นของคงที่ยั่งยืน เป็นอิสสระที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศานติ ปราศจากความชั่วเก่าเพราะกรรมเก่าสิ้นไป กรรมใหม่ก็ไม่มีทั้งฝ่ายบาปและบุญ

พระอรหันต์ไม่มีเจตนาทำกรรมทั้งบาปและบุญ สิ่งที่ทำลงไปจึงเป็นเพียง "กิริยา" เฉย ๆ ไม่เป็นกรรมที่จะเกิดวิบาก นี้เรียกว่า กรรมใหม่ก็ไม่เกิดอีกต่อไป จนเป็นผู้อยู่เหนือกรรม เหนือกฎแห่งกรรม บุญและบาปไม่แตะต้องท่านอีกต่อไป เรียกว่าหมดอาสวะเครื่องดองสันดาน จิตลอยสูงบริสุทธิ์ปราศจากความยึดมั่นหรือถูกยึดมั่น เรียกว่าผู้ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ไม่มีสิ่งก่อให้เกิดทุกข์ หรือ สุข ชนิดที่ประกอบด้วยเหตุปัจจัยที่เป็นไปกับด้วยอาสวะ มีสุขในสวรรค์ เป็นต้น

จิตสงบเงียบเพราะปราศจากเครื่องรบกวน จิตมีสุขชนิดชนิดปราศจากเหยื่อ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยอดสุข เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เพียงสักว่ารูปขันธ์อันเป็นที่เคยอยู่อาศัยของความทุกข์ คงยังเหลืออยู่ แต่ทุกข์นั้นหามีไม่ ขันธ์อื่น ๆ ยังคงเหลือสักว่าขันธ์ ไม่มีอุปาทานขันธ์อีกต่อไป เพราะท่านวางมันได้แล้ว ตัดรากหรือพืชที่จะงอกงามต่อไปได้ขาดแล้ว ยังคงรอแต่เวลาที่มันจะแตกดับตามธรรมชาติของมันเองเท่านั้น ระยะนี้ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน = ความดับกิเลสที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ ได้หมดจด ยังมีแต่เบ็ญจขันธ์เหลือ เรียกกันสั้น ๆ ว่า นิพพาน.

ที่มา การปฏิบัติธรรม โดย พุทธทาส ภิกขุ หน้า ๔๘


ภาพ ธรรมนิทรรศการ หลวงพ่อเทียนสอนหลวงพ่อคำเขียน ที่สวนโมกข์กรุงเทพ

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//