logo_new.jpg

ไหว้พระพุทธสิหิงค์ แล้วแวะเรียนรู้บูชาสุดยอดปูชนียวัตถุของบรรพชนคนไทย ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ประเดี๋ยวจะไปร่วมงานธรรมะในสวน ตักบาตรเดือนเกิด มกรา ๕๙ ที่จัดกันมา ๕ - ๖ ปีไม่มีเว้นแม้เดือนเดียว ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างหอฯ (คือจัดกันกลางดินริมสระโดยไม่รอสร้างเสร็จ) จึงขอเชิญชวนได้ร่วมกันบูชาไหว้หนึ่งในพระพุทธรูปสุดสำคัญของเอเซียอาคเนย์ ที่มีประวัติตำนานยืดยาวตั้งแต่ลังกามานครศรีธรรมราชผ่านไปสุโขทัยพักที่กำแพงเพชรเสด็จไปเชียงใหม่แล้วผ่านเชียงรายไปเวียงจันทน์ ก่อนจะกลับมากรุงเทพ ต่อเนื่องในระยะร่วม ๘๐๐ ปี ตั้งแต่พ่อขุนรามขอให้พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชไปอัญเชิญมาจากลังกา เพื่อการประดิษฐานพระพุทธศาสนาจนมั่นคงมาถึงทุกวันนี้ ถึงทุกวันนี้มีพระพุทธสิหิงค์ ๓ องค์สุดสำคัญในระดับชาติ หนึ่งคือองค์นี้ ศิลปะอย่างอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ประดิษฐานบนบุษบกกลางพระที่นั่งพุทไธสวรรย์แห่งวังหน้าเดิม อีกองค์อยู่ที่พอพระในวัดพระสิงค์กลางเวียงเชียงใหม่ ศิลปะอย่างเชียงแสน-ล้านนา องค์ที่สามอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์ในจวนเจ้าเมืองเดิมที่ทุกวันนี้เป็นศาลากลางจังหวัด ศิลปะอย่างขนมต้ม-เมืองนครศรีธรรมราช ในขณะที่แทบทุกท้องถิ่น โดยเฉพาะในภาคใต้และล้านนา ต่างมีพระสิหิงค์ประจำเมือง ชุมชนและวัดอยู่มากมาย โดยผมเองนั้นถือว่า "แท้ทั้งนั้น" บ้านเมืองไหน ก็สร้างของตนเองขึ้นตามที่ผูกพันด้วยศิลปะของตน แล้วแต่งเรื่องว่าของตนแท้ด้วยการไปอัญเชิญมาจากบ้านเมืองเขาด้วยหลายสารพัดวิธีการที่จะแต่งเล่า คนได้ไปก็แต่งว่าได้ไป คนถูกเอาไปก็บอกว่าซ่อนองค์แท้ไว้ ให้องค์จำลองไป ก่อนที่จะเชิญองค์แท้ออกมาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่แท้แล้ว องค์พระแท้นั้น "อยู่ที่ในใจ" ต่างหาก ทั้งนั้นที่เห็นเป็น "องค์สมมุติว่าแท้" ทั้งนั้น ว่ากันว่า ถือเป็นพระพุทธนิมิต ที่แสดงให้เห็น "รูปของพระพุทธองค์ที่งดงามตระการ" แก่พุทธบริษัทที่ศรัทธา เชื่อกันว่าบ้านเมืองใดมีพระปฏิมานี้ จะมีความสงบร่มเย็นและรุ่งเรืองในพระบวรพุทธศาสนา เพียงได้เห็น กราบนมัสการ บูชา ก็จะปีติปลาบปลื้ม เป็นมงคลแก่ชีวิต จึงเป็นที่ปรารถนาหมายปองไว้ประจำชาติและบ้านเมือง ดังที่มีการตีความชื่อในหลายกระแส บ้างว่างามอย่างสิงห์ บ้างว่าสฮิงสแฮทางล้านนาก็แปลว่าง๊ามงาม องค์นี้ที่กรุงเทพมหานครฯ ท่านประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ มีภาพผนังงดงามสมกับเป็นแดนสวรรค์ที่อาจนำสู่ชั้น "พุทธะ" ได้ หากทำใจให้สงบ เย็น เจริญจิตภาวนาตามลำดับ ผ่านพ้นภาพชั้นล่างเป็นเรื่องราวสู่เทพชุมนุมแต่ละชั้นจนพ้นทั้งรูปและอรุปสมมุติ สู่ใจกลาง ณ พระมณฑปแห่งองค์พระปฏิมา ที่มีดวงดาราบนฝ้าเพดานระยับยิบอยู่อย่างอร่ามใจ ภาพนี้ผมพาน้ากับเพื่อนไปเมื่อปลายปีที่แล้วครับ หากว่างขอแนะให้แวะไปพักภาวนาดูนะครับ ส่วนที่แสดงผ้า ทราบว่ายังไม่รื้อ ส่วนสุดยอดปูชนีย์วัตถุของไทย บ่ายนี้จะเล่าอีกรอบนะครับ

 

 
รูปที่1
 
รูปที่2
 
รูปที่3
 
รูปที่4
 
รูปที่5
 
รูปที่6
 
รูปที่7
 
รูปที่8
 
รูปที่9
 
รูปที่10
 
รูปที่11
 
รูปที่12
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//