เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 31 March 2016
- Hits: 1713
เรื่องลำบากใจและค้ำคอผมที่กุฏิกลิ่นสะตอ ๑๐๐ ปี ที่เมืองนคร (ต่อตอน ๒ ข้อ ๔) ๔) ในระหว่างการบูรณะที่ต้องรื้อย้ายออกมาจากซอกซึ่งทางกรมศิลป์และจังหวัด โดยศึกษาธิการจังหวัดตั้งให้ผมเป็นหนึ่งในกรรมการตรวจการจ้างด้วย แต่ผมก็วางใจเพราะระดับนี้แล้ว ในสำนักสิลปากรที่เมืองนครก็พี่น้องที่รักและนับถือกันทั้งนั้น วันหนึ่งผมแวะไปดูแล้วตกใจ เพราะเสาไม้ต้นที่พ่อท่านกาชาดนั่งประจำสำหรับคนมากราบไหว้สมัยยังมีชีวิต จนสิ้นท่านก็กลายเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์สำหรับการบนบานแก้บนด้วยหนมโคที่ว่ากันว่าศิษย์วัดนี้มีกินกันจนเบื่อ ถูกรื้อถอนและไสถากเอาทองคำเปลวที่ปิดไว้อร่ามออกหมดแบบที่ถามว่าเสาต้นไหน ช่างก็บอกไม่ได้เพราะปนกันทั้งหมดเลยแล้ว เขาบอกว่า Spect ตามสัญญาจ้างระบุไว้อย่างนั้น ทำอย่างอื่นไม่ได้ ผมนั้นได้แต่ทำใจให้ได้ แต่ที่ทำใจไม่ได้คือไม้แกะสลักทั้งหมดที่ประดับบานประตูหน้าต่างอย่างงดงามตามวิสัยพื้นถิ่นเมืองนคร โดยแต่ละบานก็แต่ละลาย แสดงว่าสร้างทำโดยศรัทธาของช่างหลากหลาย ใครชอบลายอะไรก็แกะลายนั้นถวายวัดไว้ ในสัญญาจ้าง ช่างบอกผมว่าจะต้องเอามาไสกบให้ไม้ที่สึกกร่อนตามกาลเวลานั้นเรียบเฉียบมันแล้วแกะใหม่ให้เหมือนลายเดิม โอ !!! พระเจ้าจอร์จจากกรมศิลปากรไหนกันนี่ !!! ผมตามไปถามพี่ ๆ น้อง ๆ ที่หน่วย เขาบอกว่านี้คือบันทัดฐานของการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์ของกรมศิลปากรไทย ดังที่เราก็พบตอนบูรณะพระธาตุแล้วแกะกระเบื้องถ้วยของเก่าออกหมด ทำของใหม่ไม่สวยเท่ามาแปะแทน ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ไม่งั้นช่างก็ผิด ผู้รับเหมาก็ผิด กรรมการตรวจการจ้างรับงานไม่ได้ กรมศิลปากรก็ผิด โอย !!! แต่ผมยังไม่ยอมจำนน ถามว่ามีวิธีไหนไหม ? เขาบอกว่าต้องแก้สัญญา ซึ่งทำไม่ได้ แต่อาจจะได้ หากประชุมคระกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาเรื่องนี้เพื่อมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งมาแนบสัญญา สุดท้ายทุกฝ่ายยินยอมมีมติให้หาไม้ใหม่ในคุณภาพเดิมมาแกะใส่ไว้แทน ส่วนไม้เก่าให้เก็บมอบไว้กับวัดเพื่อจัดทำนิทรรศการประกอบในภายหลัง ยกเว้นเสี่ยวกางกะช่องลมทั้งหลายที่สึกไม่มาก ไม่ต้องไส แต่งนิดหน่อยแล้วใช้ของเก่าได้ ดังนั้นไม้แกะตามบานหน้าต่างทั้งนั้นเป็นของใหม่นะครับ แต่แกะตามของเก่าได้ดีทีเดียว อันนี้ต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ผ่อนปรน แต่ที่ยังค้างค้ำคอคือไม้เก่าที่เก็บไว้นั้น ผมให้จัดถวายไว้ที่วัด วางไว้ที่ชายคารอบกุฏิท่านอาจารย์นานครัน ผมเองก็ไม่มีจังหวะจะทำอะไร กลัวว่าจะเสียหายหรือสูญหาย สุดท้ายท่านอาจารย์บอกให้เอาไปเก็บไว้ที่ไหนก่อน ผมจึงเอาไปเก็บไว้ที่บ้านสวนยวนแหลจนเกือบลืม จะต้องรีบไปเอามาให้คณะนายวันพระจัดการในเร็ว ๆ นี้ เพราะทุกวันนี้ทางวัดก็จัดสภาพภายในได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว ประเดี๋ยวจะต่อตอน ๕ สุดท้ายที่ค้ำคอสุด ๆ ครับ ขออนุญาตเอารูปชุดเดิมมาประกอบนะครับ