logo_new.jpg
เมื่อแรกเข้าไปถึงงานคราฟท์บางกอกเมื่อตอนสาย
ก็เจอร้านจันทร์โสมาจากสุรินทร์
ที่เป็นที่รู้จักเลื่องชื่อมานาน ผ่านท่านอาจารย์วีรธรรมและคณะ
โดยผมได้รับปันทั้งผ้านุ่งและผ้าคลุมไหล่มาให้แม่กับน้าพาคนละผืน
ตอนนี้ก็ได้ใช้เป็นผ้าห่มพระลากกันครับ
ตอนก่อนจะออกจากงาน เดินผ่านร้านหนึ่ง ที่เอะใจในลายผ้าผืนนั้น
นึกถึงหลายผ้าของ #ผู้ไทอาหมที่อัสสัม ทั้งเนื้อ ทั้งสีและลีลาลวดลาย
จึงแวะถามว่านี้ผ้าของเผ่าไหน ?
หนุ่มน้อยคนนั้น บอกว่าเป็นคนทอเอง ฟังว่าหลายร้อยตะกอ
เรียนรู้จากยายที่บ้าน กับไปตามแกะลายผ้าสารพัดเก่า ๆ
ในย่านศรีสะเกษและสุรินทร์ ในถิ่นของพี่น้องชาวกูย
โดยเฉพาะบ้านของสายสกุลทายาทเจ้าเมืองเก่าก่อนยังมีกันอยู่
ด้วยที่บ้านของหยุ่มนี้เป็นสายกูยตำหูก ทอผ้าส่งราชสำนักสยาม
มิได้เป็นกูยล่าช้างอย่างที่ตากลางสุรินทร์
แม้ทุกวันนี้จะกลายมาเป็นลาวเป็นไทยกันหมดแล้ว
แต่ก็ลองค้นคว้าและฟื้นฟูกลับมา นี้เป็นผืนแรกที่ตำสำเร็จ
ซึ่งผมนั้นจากเพียงแค่ข้องใจ
ก็สงสัยไปอีกว่าหรือนี้เป็นเรื่องของชาติพันธุ์หรืออะไรไหม ?
แม้ไทยอาหมที่อัสสัมจะเป็นไท-ลาว
แต่ใกล้ ๆ กันที่เมฆาลัยก็มีมอญ-แขมร์อยู่ไม่น้อย
โดยที่กูยบ้านเรานี้ก็มอญ-ขแมร์เหมือนกัน
แต่นั่นแหละ มันปน ๆ กันได้ทั้งนั้น
ถามต่อว่านี้ผ้าผู้ชายหรือผู้หญิง
น้องเขาบอกว่า ผู้หญิงใช้ลายเรียบ ๆ ผู้ชายใช้ลายใหญ่ ๆ อย่างผืนนี้
จะนิยมนุ่งออกงานหรือรับแขกบ้านแขกเมือง
นับเป็นอีกข้อเรียนรู้และค้างไว้ค้นต่อ
วันนี้ขอแปะไว้อย่างนี้ก่อนครับ
๓๐ กรกฎา ๖๖ ๑๙๓๙ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.
 
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//